ทางออกวิฤตสยามด้วยยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง


พลังความรู้ พลังเครือข่าย พลังนโยบาย คือทางออกของ ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง

จะมีการประชุมงานวิชาการ ซึ่งจัดร่วมกันหลายหน่วย  มีแม่งานคือ  สสส. ซึ่งได้ใช้กรอบคิด  พลังความรู้  พลังเครือข่าย  พลังนโยบาย  โดยมุ่งเป้าไปที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  

จุึงนำมาสื่อสารต่อ  หากสนใจ.... วันที่  ๒๔-๒๕  มีค.  กรุงเทพฯ

โครงการประชุมวิชาการ

เรื่อง  "ทางออกวิกฤตสยามด้วยยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง"

 

ที่มา

  • 1. ชุมชนท้องถิ่นเป็นรากฐานของสังคม ความเข้มแข็งของรากฐานของสังคมจึงส่งต่อผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดขึ้นจากการลงทุนพัฒนาในทุกเรื่อง ทุกพื้นที่ ทุกองค์กร มิว่าจะเป็นการลงทุนของภาคส่วนใดก็ตาม การที่มีสถาบันที่เรียกว่า "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" เป็น "กลไก" ที่มีกฎหมายรับรอง มีภารกิจที่ชัดเจน และมีงบประมาณ จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสของสังคมไทยในการพัฒนาไปสู่สังคมที่มีความสุข สิ่งแวดล้อมดี อยู่กันอย่างมีน้ำหนึ่งใจเดียว มีสุขภาพอนามัยเข้มแข็ง มีสติปัญญาและมีเหตุมีผล
  • 2. อย่างไรก็ดี ภารกิจของ อปท. ในหลายๆ เรื่อง มีความจำเป็นที่ต้องมีการกระตุ้น จุดประกาย สนับสนุน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนให้เกิดตัวอย่างของการดำเนินงานและมีการเรียนรู้ร่วมกันจนทุกแห่งสามารถนำไปดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบตนเองได้และเกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมถึงการพัฒนาวิธีการทำงานของ อปท. ร่วมกับพันธมิตรในพื้นที่ เช่น องค์กรชุมชน การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองด้วย
  • 3. นอกเหนือจากเรื่องที่ อปท. สามารถจัดการด้วยตนเองได้แล้ว ยังคงมีกฎหมายที่มีความสำคัญต่อการบริหารภารกิจของ อปท. ให้เกิดผล ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความจริงจังในการปรับปรุงให้เป็นไปตาม "เจตนารมณ์ของการกระจายอำนาจและทิศทางการพัฒนาประเทศ" เพื่อให้ประชาชนได้มีอำนาจในการจัดการทรัพยากรทุกประเภทในพื้นที่และชุมชนของตนเองได้ โดยมีภาคราชการเป็นพี่เลี้ยง ภาควิชาการเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการเสริมศักยภาพให้ อปท.โดยการวิจัยและพัฒนาศักยภาพ

 

องค์กรที่ทำงานร่วมกับ อปท. ในหลากหลายมิติ อันประกอบด้วย สสส. คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็ง กระทรวงมหาดไทย ภาคีเสริมสร้างสุขภาวะเฉพาะเรื่อง จึงได้ร่วมมือกันจัดประชุมเชิงวิชาการเรื่อง "ทางออกวิกฤตสยามด้วยยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง" ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป

 

 

วัตถุประสงค์

  • 1. เพื่อผสานและเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการผลักดันให้มีการนำเรื่องดีๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตจากพื้นที่อื่นๆ ไปทดลองปฏิบัติในแต่ละพื้นที่
  • 2. เพื่อผลักดันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการใน 5 เรื่องที่เป็นการสร้างรากฐานของชุมชนในระยะยาว
  • 3. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและขับเคลื่อนนโยบายการกระจายอำนาจในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น

 

ผู้เข้าร่วมประชุม        จำนวน 1,200 คน

  • (1) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 800 คน[1]
  • (2) เครือข่ายองค์กรชุมชน จำนวน 400 คน
  • (3) นักวิชาการ จำนวน 100 คน
  • (4) นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จำนวน 50 คน
  • (5) ผู้จัดการแผนงานและทีมงานที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเจ้าภาพจัดประชุม จำนวน 100 คน

 

วันเวลาสถานที่

          วันที่ 24- 25 มีนาคม 2552 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร

 

องค์กรภาคีผู้จัดประชุม

คณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนแห่งชาติ

กระทรวงมหาดไทย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

มูลนิธิซิเมนต์ไทย

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

 

ขอบเขตเนื้อหา

  • (1) เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบการดำเนินงานด้านต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน (ตำบลสุขภาวะ) อันได้แก่ ระบบอาสาสมัคร ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ (น้ำ ป่า ทะเล)และพลังงานทดแทน ระบบการสื่อสารและข้อมูลชุมชน ระบบสวัสดิการ ระบบเศรษฐกิจชุมชน ระบบการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชน ระบบการศึกษาเพื่อชีวิต ระบบการจัดการบริการสุขภาพ ระบบองค์กรผู้นำชุมชน ระบบอาชีพที่ปลอดภัยต่อสุขภาพระบบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น ได้ถอดบทเรียนและบทสรุปแนวทางการดำเนินงานที่นำไปใช้ปฏิบัติการได้จริง
  • (2) ตัวอย่างดีๆ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนให้องค์กรชุมชนจัดการตนเองใน 5 เรื่องหลัก อันเป็นรากฐานสำคัญของการพึ่งตนเอง ซึ่งประกอบด้วย
  • 1) ระบบการเรียนรู้เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว
  • 2) การดูแลสุขภาพชุมชน
  • 3) การจัดสวัสดิการสังคม
  • 4) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • 5) การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะแบบมีส่วนร่วม
  • (3) นโยบายการกระจายอำนาจโดยรัฐส่วนกลางและภูมิภาค เน้นใน 2 ประเด็น คือ 1) ประเด็นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 283 กำหนดให้มีกฎหมายรายได้ท้องถิ่นเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่นๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 2) กฎหมายที่จะต้องปรับปรุงเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของ อปท. และสิทธิของชุมชน เช่น การจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท.ในระดับต่างๆ กฎหมายการจัดการป่า น้ำ ทะเล เป็นต้น

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต

  • 1. ผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 800 คน ที่กระจายครอบคลุมพอเพียงต่อการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
  • 2. เอกสารและข้อมูลทางวิชาการเพื่อเครือข่ายได้นำไปใช้ในการขับเคลื่อนโดยอยู่ในหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมายข่าว website หนังสือ CD เป็นต้น

ผลลัพธ์

  • 1. มีการสานเป็น "เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อชุมชนเข้มแข็ง"
  • 2. องค์กรหลักในพื้นที่มีการทำงานร่วมกันอย่างน้อยใน 5 เรื่องสำคัญอย่างต่อเนื่องและมีจุดเรียนรู้ในพื้นที่กระจายครอบคลุมพอเพียงต่อการศึกษาดูงานและเรียนรู้
  • 3. มีกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินงานเพื่อการกระจายอำนาจเพื่อชุมชนเข้มแข็ง

 


[1] ในเบื้องต้นประกอบด้วย ตำบลสุขภาวะต้นแบบและตำบลเรียนรู้ ตำบลต้นแบบด้านการดำเนินงานเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ตำบลปลอดภัย ตำบลต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตำบลร่วมพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #social chumphon
หมายเลขบันทึก: 247016เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2009 01:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นการสัมมนาที่น่าสนใจมาก แต่ว่า สัมมนาแล้วจะนำมาปฏิบัติในพื้นที่

แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดินขึ้นเป็น หัวข้อน่าสนใจไม่น้อยที่ทีเดียว

ชุมชนเข้มแข้ง ช่วยให้ไทยผ่าวิกฤติได้ และอย่าทะเลาะกันเพื่อ...อะไรก็ไม่รู้

สรุปงานเสวนา ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ ที่ผ่านมาครับ

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/307280

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท