แจ้งเกิดหน่อยจ้า


ผมนี่เสียววาบเลย หวั่นใจว่าจะแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกศึก

เมื่อตอนที่ผมไปพบมะเฮตีไท้ซานครั้งแรก ก็พบว่าพ่อแม่ไม่มีบัตรแรงงาน ไม่มีเลข 13 หลัก อาศัยในจังหวัดระนองด้วย Border Pass ซึ่งขณะนั้นก็หมดอายุแล้ว ยังไม่ได้ไปต่อการอยู่ชั่วคราว

ในขณะนั้น ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่เทศบาลด้วยวาจาว่าพ่อแม่ที่ไม่มีหลักฐานใด ๆ เลย สามารถแจ้งการเกิดให้แก่ลูกได้หรือไม่ คำตอบก็คือ "ไม่ได้" ด้วยความที่ผมเห็นแตกต่างออกไป ว่าแจ้ง "ได้" แต่ในเมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิเสธอย่างนั้น และผมก็รู้ว่าพ่อแม่ไม่มีบัตรประจำตัว หากไปแจ้งการเกิดเป็นลายลักษณ์อักษรก็เสี่ยงต่อการถูกรวบกลางเทศบาลเมืองระนองแน่นอน

ผมก็เลยต้องกลับไปค้นหาพ.ร.บ.การทะเบียนราษฏร ที่มีอยู่ทั้งหมดในเวบไซค์ราชกิจจานุเบกษา ว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ผลปรากฏว่าตามพ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา 46 อนุญาตให้พ่อแม่สามารถมอบหมายให้ใครไปแจ้งแทนก็ได้ ผมก็เลยใช้ผลของมาตรานี้ทำหนังสือมอบอำนาจขึ้นมาเพื่อไปแจ้งเกิดให้แก่มะเฮตีไท้ซาน

ผมจำได้เลยว่าเจ้าหน้าที่ปฏิเสธ ผมก็เกลี่ยกล่อมไปว่าให้รับคำร้องผมไปแล้วก็ปฏิเสธมา เพื่อผมจะอุทธรณ์คำร้อง และก็บอกต่อไปเลยว่า "พี่ไม่เห็นด้วยกับผม ในเวลาที่ผมอุทธรณ์ พี่ก็ตั้งประเด็นสู้หนังสือมอบอำนาจของผมสิ"

แล้วเจ้าหน้าที่เทศบาลก็ตั้งประเด็นสู้อุทธรณ์ที่ผมเขียนขึ้นไปจริง ๆ ผมนี่เสียววาบเลย หวั่นใจว่าจะแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกศึก (ยังไม่ถึงเนื้อแท้ของการต่อสู้) ก็ตายกลางคัน (แพ้ในชั้นศาลปกครอง) แต่ก็มีอ.แหวว และคณะมาช่วยกั้นศึกเอาไว้ ผมเลยโล่งใจ

แม้ว่าในเวลาที่ผมไปยื่นคำร้องขอออกท.ร.100 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2552 เจ้าหน้าที่จะบอกกับผมว่าในวันที่สามารถออกสูติบัตรได้ให้นำหลักฐานของพ่อแม่มาด้วย ผมยังคิดอยู่ในใจหากพ่อแม่เป็นคนไร้รัฐจะหาเอกสารอะไรมายืนยันความเป็นตัวเขาละ และหากเป็นอย่างนั้นจริงพ่อแม่ที่เป็นคนไร้รัฐก็ไม่สามารถแจ้งการเกิดได้สิ เพราะไม่มีเอกสารใด ๆ และหากถูกบีบให้เอามา สงสัยว่ามะเฮตีไท้ซานรอบ 2 คงต้องเบิกโรงอีกครั้ง สู้ไว้ย !

แต่พอวันที่ 3 มีนาคม 2552 ผมก็ไม่ได้นำไป เพราะผมคิดว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นสมบูรณ์โดยตัวมันอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ก็มิได้โต้แย้งหนังสือมอบอำนาจนั้นอีก แล้วมีความจำเป็นไฉนที่ต้องนำตัวผู้มอบอำนาจและพ่อแม่ไปยืนยัน หากต้องนำพ่อแม่ และลูกไปยืนยันแล้ว ก็เสมือนหนึ่งไม่มีการมอบอำนาจ ดังนั้นมาตรา 46 ที่ผมกล่าวข้างต้นก็เป็นหมันในทางปฏิบัติ

ผมต้องยืนยันว่าต้องออกสูติบัตรให้ผม ตามพ.ร.บ.การทะเบียนราษฏร พ.ศ.2534 มาตรา 46 ให้ผม และผมคิดว่าหากจะโต้แย้งเรื่องหนังสือมอบอำนาจคงต้องใช้ตามประมวบกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องตัวแทน แต่ก็ไม่มีการโต้แย้งอีก ผมจึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้แจ้ง (ผู้ได้รับมอบหมาย)

ส่วนเด็กที่ไม่มีหนังสือรับรองการเกิดยังไม่ได้ทำ รอ...รอก่อนครับผม

หมายเลขบันทึก: 247001เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2009 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ช่วยตอบหน่อยค่ะว่า

  1. พ่อแม่ของมะเฮตีฯ มีชื่อในทะเบียนราษฎรของรัฐพม่าไหมคะ ?
  2. บุคคลทั้งสองนี้มีชาติพันธุ์อะไรคะ ?
  3. เขาทั้งสองมาจากส่วนไหนของประเทศพม่า

 

กำลังจะเขียนเรื่องมะเฮตีฯ ให้เสร็จค่ะ

หวังว่า จะใช้เป็นบทเรียนในการสอนเรื่องมาตรา ๒๐ ค่ะ

เอารูปมะเฮตีฯ ตัวน้อยของเรามาให้มวลมิตรเอ็นดูค่ะ

แวะมาเยี่ยมค่ะ เป็นบทความที่น่าสนใจนะคะ อีกหน่อย คนเหล่านี้เต็มบ้านเมืองเรา แตเขาก็พยายามแต่งงานทั้งกับชายไทย และหญิงไทย เพื่อให้ลูกเขามีสิทธิ์ เป็นพี่ไทย ข้อมูลจริงๆลูกเขาจะเป็นไทยได้หรือไม่ค่ะ

จะติดตามอ่านนะคะ

ขอบคุณค่ะ

อ.แหววครับผมสอบถามอีกครั้งหนึ่งแล้วได้ความว่า

1.พ่อแม่ของมะเฮตีฯ มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรพม่า และได้ทำบัตรประชาชนเรียบร้อยแล้ว

2.ทั้งสองมีชาติพันธุ์พม่าครับ

3.แม่มาจากย่างกุ้ง พ่อมาจากเกาะสองครับผม

ที่น่านก็มีปัญหามีลักษณะนี้โดยเฉพาะชาวเขา ก็ยังเป็นปัญหาของพื้นที่อยู่ค่ะ

ขอบคุณนะที่ช่วนต่อสู้เพื่อเด็กต่างด้าวที่เกิดมา ผลบุญที่ทำคงจะส่งผลให้คุณในไม่ช้า จงเจริญ จงเจริญ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท