BAR : อนาคตของพระพุทธศาสนา


"อนาคตของพระพุทธศาสนา" เป็นชื่อของหนังสือที่วางอยู่ตรงหน้าผมในขณะที่เขียนบันทึกนี้ เป็นหนังสือเล่มบาง ๆ ที่ผมตั้งใจจะอ่านให้จบภายในคืนนี้ เขียนโดย ซองยาล รินโปเจ

ขณะที่อ่านยังไม่ถึงครึ่งเล่มนี้ ผมพบว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก เพราะหนังสือได้นำเสนอคำถามและตอบคำถามที่ผมเองยังไม่ได้คำตอบ และบางคำตอบตรงกันข้ามกับที่ผมคิดเอาไว้แต่เป็นสิ่งเดียวกัน คล้าย ๆ เหรียญ เช่น

  • ในสังคมสมัยใหม่ สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง เราจะเน้นสอนและถ่ายทอดพุทธธรรมแบบเดิม หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย ?
  • พระพุทธศาสนาจะถูกลดระดับลงเป็นเพียงเครื่องมือที่จะทำให้เรางุนงน กะเกณฑ์และ "ผสาน" สู่สังคมตะวันตก กลายเป็นเพียงจิตวิทยาที่น่าสนใจแขนงหนึ่ง สาขาหนึ่งของยุคใหม่หรือส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวสุขภาพทางเลือก...
  • -------- อ่านจบแล้วจะกลับมาเขียนต่อครับ
  • ขอเปลี่ยนจากอ่านจบแล้วจะกลับมาเขียนต่อ เปลี่ยนเป็น ให้ท่านที่สนใจมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการ Post ความคิดเห็นไว้ แล้วผมจะนำข้อความในตำรามาตอบ (กอดตำราตอบ) จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ตรงประเด็นและหลากหลายกว่าการที่ผมจะเอาตัวตนน้อย ๆ ไปสรุปสิ่งอันยิ่งใหญ่นี้ครับ
หมายเลขบันทึก: 246999เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2009 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ชนินทร์ เลิงนกทา046

จากที่ได้ศึกษาพุทธธรรมของพระอาจารย์สมปอง และ พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี

ทั้งสองท่านเป็นพระนักเทศน์ยุคใหม่ที่ใช้พุทธธรรมที่เข้ากับยุคสมัยใหม่ได้ดี

แต่ทั้สองท่านก็ไม่ได้ทิ้งแนวพุทธธรรมแบบเดิม

ผมเห็นด้วยที่จะต้องใช้การ "ผสมผสาน"ระหว่างแบบดั้งเดิม และแบบใหม่ที่มีสาเหตุมาจากความเจริญทางเทคโนโลยี

สังคมตะวันตก บางส่วนยังสนใจศึกษาพุทธธรรม เพราะเขามีความเชื่อว่า พุทธธรรม

นั้นคือธรรมชาติ ที่เป็นเหตุ เป็นผล ควรที่จะศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง

ผมเป็นคนรู้น้อย อยากให้ท่านภูฟ้ารีบอ่านให้จบแล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง และผมอยากรู้เรื่องของซองยาล รินโปเจบ้าง จะรอความเมตตาจากท่าน

      ผมเองอยู่ในวงการศึกษา  จากประสบการณ์บางส่วนของผมเอง แม้แต่ในวงการศึกษา  (บางส่วน บางคน) มีการนับถือศาสนาแบบผี  แบบพราหมณ์ อยู่ครับ

     การสอนหรือการถ่ายทอดพุทธธรรมแบบเดิม (บางส่วน) ก็มาผิดทางแล้วครับ

 

พุทธธรรมเป็นสรณะอันเกษม แต่ เนื่องจากสภาพทางสังคมของฝรั่งทำให้ เขามองพุทธศาสนาในลักษณะ how to เท่านั้น บางครั้งแย่ถึงขนาดมองพุทธศาสนาเป็นแค่ "ปรัชญา" ทำให้ แง่มุมของพุทธศาสนาที่ถูกนำเสนอจากมุมมองนั้น ฉาบฉวยและไม่ถึงแก่น (และก็คงไม่มีหนังสือพุทธใดถึงแก่น เพราะจะถึงแก่นนั้น ต้องปฏิบัติเพราะ....เป็น..สนฺทิฏฺฐิโก)

สวัสดีครับทุกท่าน

  • ก่อนอื่นต้องขออภัยท่านทั้งหลายว่า เมื่อคืนนี้อ่านยังไม่จบ หลับไปก่อนครับ
  • หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มเล็กที่ไม่ธรรมดาจริง ๆ ผมจึงใช้วิธีการอ่านแบบไม่รีบร้อนคือ "อ่านด้วยใจ" (นิยามไม่ถูกเหมือนกัน) เพราะแต่ละย่อหน้ามีความเชื่อมโยง ลึกซึ้ง และทรงคุณค่ายิ่งครับ
  • กล่าวคือ เมื่ออ่านแล้วก็ค่อยพิจารณาตามไปด้วยใจอย่างใคร่ครวญ อ่านแล้วมีความสุขครับ ลึกซึ้งจริง ๆ ครับ
  • ถึงตอนนี้ยังอ่านและใคร่ครวญตาม...ยังไม่จบครับ

 

สวัสดีครับ อาจารย์

ไม่มีรูป

1. ชนินทร์ เลิงนกทา046

 

จากที่ได้ศึกษาพุทธธรรมของพระอาจารย์สมปอง และ พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี

ทั้งสองท่านเป็นพระนักเทศน์ยุคใหม่ที่ใช้พุทธธรรมที่เข้ากับยุคสมัยใหม่ได้ดี

แต่ทั้สองท่านก็ไม่ได้ทิ้งแนวพุทธธรรมแบบเดิม

ผมเห็นด้วยที่จะต้องใช้การ "ผสมผสาน"ระหว่างแบบดั้งเดิม และแบบใหม่ที่มีสาเหตุมาจากความเจริญทางเทคโนโลยี

สังคมตะวันตก บางส่วนยังสนใจศึกษาพุทธธรรม เพราะเขามีความเชื่อว่า พุทธธรรม

นั้นคือธรรมชาติ ที่เป็นเหตุ เป็นผล ควรที่จะศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง

  • ในหนังสือบางตอนได้กล่าวถึงประเด็นนี้อย่างหน้าสนใจไว้ว่า ...ถึงเวลาแล้วที่จะเสนอหัวใจสำคัญของคำสอน โดยปราศจากเครื่องประกอบทางวัฒนธรรม แต่ไม่ลดแรงแห่งพระธรรม ในขณะเดียวกันก็เสนอสิ่งที่เหมาะสมต่อปัจจัยและจิตใจของผู้คนสมัยใหม่ นี่เป็นการท้าทาย ไม่คงความตายตัวทางศาสนา แต่ดัดแปลงอย่างคงความแท้จริง ไม่เร่งรีบเกินไปและไม่รอนานเกินไปแต่ใช้ทางสายกลาง...
  • ขอบคุณที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

 

สวัสดีครับ ท่านรองฯ

P

 

  • ในหนังสือบางตอนได้กล่าวถึงประเด็นนี้อย่างน่าสนใจไว้ ...ต้องแน่ใจโดยสมบูรณ์ว่าผลลัพธ์จะยังคงเป็นพระธรรมที่แท้ ในทุกทาง เพราะเมื่อเราสร้างรูปแบบขึ้นแล้ว แนวโน้มก็คือ การติดกับรูปแบบ แล้วก็ยากมากที่จะเปลี่ยนแปลง...ในธิเบต เมื่อ ๑,๒๐๐ ปีก่อน ตอนคำสอนของพระพุทธศาสนาจากอินเดียถูกเผยแพร่เข้าไป มีพระอาจารย์เจ้าชาวอินเดียและล่ามชาวธิเบตนำเสนอเพื่อบันดาลใจให้คำสอนผสานอย่างเต็มที่กับธิเบตโดยทำให้สมดุลระหว่างการดำรงและการผสานคำสอนรวมลงสู่วัฒนธรรม และจิตใจธิเบต...
  • ความบางตอน หน้า 7 ... สมมติว่าเราปฏิบัติตามแง่มุมบางอย่างของคำสอนซึ่งดูเหมือนไม่สะดวก และเราคิดว่าเป็นส่วนประกอบทางวัฒนธรรม เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเราไม่ได้ทำผิดอย่างใหญ่หลวงและละสิ่งซึ่งที่จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของคำสอน ... มีหลายแง่ของศาสนาที่ขึ้นกับภูมิประเทศ เวลา และวัฒนธรรม ซึ่งจะเปลี่ยน หากปัจจัยเปลี่ยนไปแต่ก็มีอีกหลายแง่ซึ่งก็ได้แก่ ความกรุณา การแสดงปัญญาอย่างชำนาญตามสัจจจะที่ได้รับมา ดังนั้นเมื่อยิ่งซับซ้อนและยุ่งยาก เราต้องระมัดระวังให้มาก...
  • ขอบพระคุณที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

 

สวัสดีครับ

P

พุทธธรรมเป็นสรณะอันเกษม แต่ เนื่องจากสภาพทางสังคมของฝรั่งทำให้ เขามองพุทธศาสนาในลักษณะ how to เท่านั้น บางครั้งแย่ถึงขนาดมองพุทธศาสนาเป็นแค่ "ปรัชญา" ทำให้ แง่มุมของพุทธศาสนาที่ถูกนำเสนอจากมุมมองนั้น ฉาบฉวยและไม่ถึงแก่น (และก็คงไม่มีหนังสือพุทธใดถึงแก่น เพราะจะถึงแก่นนั้น ต้องปฏิบัติเพราะ....เป็น..สนฺทิฏฺฐิโก)

  • ในหนังสือหลายตอนได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เหมือนกันครับ เช่น

  • ..."ธรรมะไม่ใช่ของผู้หนึ่งผู้ใด แต่เป็นของผู้ที่มีความรู้ที่แท้" ชาวตะวันตกก็ต้องถือตามประเพณีนี้ด้วย แต่นี่ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการได้รับอนุญาต แต่เป็นเรื่องของ การฝึกฝน หรือการศึกษา...

  • ขอบคุณที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

  •  

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท