สื่อความหมายอย่างมีประสิทธิผล


การกระทำชัดเจนกว่าคำพูด

สวัสดีค่ะ  ห่าง หายไปเสียนาน คิดถึงเพื่อนๆทุกคน ครั้งนี้มีเรื่องของการสื่อความหมายมาฝากค่ะ การสื่อความหมายนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะใครๆ ก็รู้จักการสื่อความหมาย แต่....การสื่อความหมายนั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย โดยเฉพาะการสื่อความหมายทางการบริหาร ดิฉันได้อ่านพบในหนังสือการบริหารงานยุคใหม่ ของ ดร.ชาญชัย อาจินสมาจาร หน้า 118-122 เห็นว่าเป็นเรื่องที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ไม่ยาก จึงขอขอบพระคุณ ดร.ชาญชัย อาจินสมาจาร ที่แนะนำเรื่องดีๆ แก่คนทำงาน office อย่างดิฉันและอีกหลายท่าน จึงขอนุญาตที่จะนำองค์ประกอบของการสื่อความหมายที่ดี มาเผยแพร่สู่เพื่อนๆ ชาว gotoknow ดังนี้ค่ะ

ประการแรก ความจริงใจ  ถ้ามีความจริงใจ การสื่อความหมายไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็เกิดผลแต่หากไม่มีความจริงใจ การสื่อความหมายทางการบริหารก็จะไม่มีประสิทธิผล  ประการที่สอง  ภาษาที่สามารถเข้าใจได้   ภาษา ที่เข้าใจได้ และโน้มน้าวความรู้สึก ข่าวสารจะต้องถูกต้อง ถูกส่งในรูปของการสะท้อนความสนใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ความสำเร็จในการสื่อความหมายขึ้นอยู่กับการได้รับความยอมรับในสิ่งที่พูด ผู้สื่อความหมายจะต้องวางแผน ไม่เพียงแต่สิ่งที่พูด แต่ต้องคำนึงถึงวิธีพูดด้วยว่า เมื่อพูดแล้วจะได้รับความยอมรับอย่างไร และประการที่สาม ความสัมพันธ์ที่ตรงกัน  การสื่อความหมายที่ดีในองค์การ จำเป็นต้องอาศัยความมั่นใจและความนับถือซึ่งกันและกันของสมาชิก จะต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี ถ้าปราศจากความสัมพันธ์ของความเข้าใจและการยอมรับ การสื่อความหมายที่เป็นจริงก็จะไม่เกิดขึ้น การสื่อความหมายควรสะท้อนออกมาในรูปของความเข้าใจ ความสัมพันธ์จะก่อให้เกิดการทำงานเป็นคณะ และในทางกลับกันสิ่งดังกล่าวก็จะช่วยปรับปรุงการสื่อความหมายในองค์การโดย ทั่วๆ ไป

จากสามประการที่กล่าวมา จะเห็นว่า ไม่ยากเลยในการนำมาปฏิบัติ  การสื่อความหมายที่มีประสิทธิผล มีความสำคัญต่อการบริหารในทุกระดับ เป็นองค์ประกอบวิกฤติของการบริหารในระดับต้น ของการนิเทศงาน มีนโยบายที่เป็นแนวทางหรือหลักของการสื่อความหมายที่สามารถช่วยเหลือให้ บรรลุผลสำเร็จในการเข้าใจในการสื่อความหมายนั้น มีอยู่ด้วยกัน 6 ข้อ คือ “1. คิดก่อนพูดหรือกระทำ  2. ก่อให้เกิดความมั่นใจและความเชื่อถือ  3. ให้การกระทำชัดเจนกว่าคำพูด 4. ปรับการสื่อความหมายให้เข้ากับความต้องการของแต่ละบุคคลและกลุ่มที่เกี่ยวข้อง 5. เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจตัวเองและทำตัวเองให้เข้าใจผู้อื่น และ 6. การหลีกเลี่ยงการสื่อความหมายขณะที่โกรธหรือเสียใจ

ดังนั้น ก่อนจะพูดหรือสื่อความหมายด้วยวิธีใดๆ ให้คำนึงถึงหลักการสื่อความหมายสักนิด เพื่อให้ได้ประสิทธิผลตามที่ผู้สื่อความหมายต้องการและที่สำคัญคนฟังก็รู้สึกดีและยอมรับด้วย

คำสำคัญ (Tags): #สื่อความหมาย
หมายเลขบันทึก: 246523เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2009 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท