ค้นหา Best practice จากโครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ


การจัดเวทีนวัตกรรม Top Star โดยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีตัวอย่างที่ดี ( Best practice) มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้ Story Telling ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องด้วยความภูมิใจและ Positive Thinking

        

         ดิฉันได้รับโอกาสอันดีอีกครั้งที่ได้รับฟังการดำเนินงานโครงการระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ (Health Systems, Health School) ของสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ ภายใต้การนำทีมของนายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ซึ่งโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้กับโรงเรียน โดยใช้การเทียบระดับ (Benchmarking) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในครั้งนี้ทีมของคุณหมอยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ได้เข้าพบและหารือกับ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช และทีมสคส. ในการนำ KM ใช้เป็นเครื่องมือในการต่อยอดโครงการฯ ที่รับผิดชอบ และในขณะเดียวกันคณะทำงานของโครงการจำเป็นต้องค้นหาแนวทางการปฏิบัติที่ดีของการดำเนินงานจัดระบบตามโครงการดังกล่าว เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่าน ICT  ที่ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้จะจัดระบบให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะ  Online ในโอกาสต่อไป
       ซึ่งระบบที่นำเข้าไปสนับสนุนจะมีด้วยกัน 4 ระบบหลักๆ คือ
       1. ระบบการนำองค์กร/ระบบสนับสนุน ซึ่งเป็นระบบที่เข้าไปสนับสนุนให้ระบบอื่นสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกกลุ่มของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู และนักเรียน
        2. ระบบเรียนรู้ คือการใช้ระบบเรียนรู้คู่การส่งเสริมการอ่านเพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของครู และนักเรียน นอกจากนี้ ยังทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น และสนุกสนามกับการเรียนมากยิ่งขึ้น
        3. ระบบดูแลช่วยเหลือ เป็นการใช้วิธีการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล จัดโครงการสามประสาน สานใจ สายใยศิษย์ และการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครองในชั้นเรียนรวมไปถึงการจัดตั้งเครือข่ายนักเรียนตามหมู่บ้าน ซึ่งสามารถทำให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง และมีปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์มีจำนวนลดลงทุกปีการศึกษา
       4. ระบบกิจกรรมนักเรียนเช่น การจัดตั้งกิจกรรมชุมนุมต่างๆ ของนักเรียน อย่างการสร้างแหล่งบ่มเพาะการ์ตูนนิสต์รุ่นเยาว์ของชมรมการ์ตูน
          และในการนี้ทางคณะทำงานโครงการฯ ได้ให้เอกสารการค้นหา Best practice ซึ่งเป็นการรวบรวมแนวปฏิบัติจากการดำเนินการจัดระบบงาน ของโรงเรียนในโครงการที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นแนวการปฏิบัติที่ดี โดยการรวบรวบรวมได้จัดทำเป็น 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางและภาคใต้ (จะนำรายละเอียดที่น่าสนใจมาเล่าครั้งหน้าคะ)
       ซึ่งทีม สคส. เห็นว่าจะมีการจัดเวทีร่วมกันในลักษณะ การจัดเวทีนวัตกรรม Top Star โดยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีตัวอย่างที่ดี ( Best practice)  มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยใช้ Story Telling  ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องด้วยความภูมิใจและ Positive Thinking และรวบรวมเรื่องเล่า ซึ่งเป้าหมายคือเกิด Knowledge Assets และเกิดการรวบตัวเป็นชุมชนและเกิดการขับเคลื่อนชุมชนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 24621เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2006 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท