นำสิ่งดีๆโครงการชุมชนอินทรีย์ออกงานเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษา


ผมจับใจความการพูดคุยได้ว่า เขาต้องการจะเปิดพื้นที่การวิจัยให้มันมีมากขึ้น อยากเห็นการวิจัยในระดับชาวบ้าน ซึ่งวิจัยกันตามประสาชาวบ้าน อย่างการลองผิดลองถูก โดยใช้ชีวิตของตนเองเป็นเดิมพันก็เป็นการวิจัย ผิดถูกอย่างไร ไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยอย่างไรไม่รู้แหละ แต่ก็ได้ทำจริงมากับมือ ได้ประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ใช้ในชีวิตจริงใช้ในวิถีชีวิตมาแล้ว ไม่ต้องการวิจัยเพื่อที่จะได้เอกสารแล้วขึ้นหิ้งอย่างที่พูดๆกัน

เศรษฐกิจฐานความรู้กู้วิกฤตชาติ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พอ.พิเศษ นพ.วิเชียร ชูเสมอ สถาบันวิจัยและพัฒนาเครือข่ายวิจัยภาคใต้ตอนบน ซึ่งสำนักงานตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ไปติดต่ออดีตผู้ว่าฯจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่าน วิชม ทองสงค์ ให้ไปปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ชุมชนอินทรีย์ ในงานการประชุมวิชาการของเครือข่ายการวิจัยอุดมศึกษา ปี 2552 เศรษฐกิจฐานความรู้กู้วิกฤตชาติ ซึ่งจะจัดที่โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่าง 2-4 เมษายน 2552

ไม่แต่ พอ.พิเศษ นพ.วิเชียร ชูเสมอ จะขอเชิญท่านไปเป็นวิทยากรปาฐกถาพิเศษเท่านั้น แต่ท่านยังขอให้ท่านอดีตผู้ว่าฯนำสิ่งดีสิ่งเด่นที่จับภาพได้จากโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์นครศรีธรรมราชไปนำเสนอ ซึ่งเมื่อมองในแว่นของการวิจัยแล้ว ก็จะเห็นว่าการจัดการความรู้ที่นครศรีธรรมราชนั้น เป็นการวิจัยในระดับชาวบ้าน ท่านจะจัดพื้นที่พิเศษในวันงานให้เป็นห้องชุมชนอินทรีย์ห้องหนึ่ง นอกจากห้องของผู้วิจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์หรือนักศึกษาในระดับปริญญาโทปริญญาเอกที่ได้รับทุนจากโครงการ

อดีตท่านผู้ว่าฯนครศรีธรรมราช วิชม ทองสงค์ จึงแนะนำพอ.พิเศษ นพ.วิเชียร ชูเสมอ ว่าให้มาประสานกับผมหากต้องการนำเอาสิ่งดีสิ่งเด่นที่จับภาพได้จากโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์นครศรีธรรมราช เพื่อให้เห็นถึงไส้ในหรือกลิ่นอายของการวิจัยแบบชาวบ้านๆ ในการดำเนินการสู่ความเป็นอินทรีย์ในเนื้อหาหรือประเด็นต่างๆ แกะดูสีสันการวิจัยได้จากของจริงทั้งตัวผู้นำและคณะผู้นำ แผนแม่บทชุมชน กระบวนการเรียนรู้หรือการจัดการความรู้ การพึ่งตนเองในระดับครัวเรือน กลุ่ม ชุมชน และการออกแบบกลไกโครงสร้างในการจัดการกับปัญหาต่างๆ

วันนี้ผมได้รับการประสานจาก พอ.นพ.วิเชียร ชูเสมอ ว่าจะคุยกันเรื่องนี้ ผมจึงได้นัดเพื่อนคุณอำนวยเท่าที่พอจะติดได้ในวันหยุด ซึ่งได้แก่ ดร.สมหมาย คชนูด ผศ.สุจารี แก้วคง ว่าที่ รต.เฉลิมพล บุญฉายา อ.กาญจนา ไชยสุวรรณ หมอวิเชียร ไทเจริญ พี่อุส่า ดวงจันทร์ เพื่อมาคุยเรื่องนี้กันที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีหลายท่านเหมือนกันที่มาไม่ได้

ผมจับใจความการพูดคุยได้ว่า เขาต้องการจะเปิดพื้นที่การวิจัยให้มันมีมากขึ้น อยากเห็นการวิจัยในระดับชาวบ้าน ซึ่งวิจัยกันตามประสาชาวบ้าน อย่างการลองผิดลองถูก โดยใช้ชีวิตของตนเองเป็นเดิมพันก็เป็นการวิจัย ผิดถูกอย่างไร ไม่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัยอย่างไรไม่รู้แหละ แต่ก็ได้ทำจริงมากับมือ ได้ประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ ใช้ในชีวิตจริงใช้ในวิถีชีวิตมาแล้ว ไม่ต้องการวิจัยเพื่อที่จะได้เอกสารแล้วขึ้นหิ้งอย่างที่พูดๆกัน

ได้ตกลงกันว่าสำหรับห้องย่อยชุมชนอินทรีย์นี้ พอ.พิเศษ นพ.วิเชียร ชูเสมอ มอบทีมเราออกแบบและดำเนินการ คิดว่าไม่น่าจะลำบากอะไรเท่าไหร่ เพราะทีมเราค่อนข้างจะรู้จักพื้นที่กันดี ทั้งตัวคนทำ กระบวนการและเนื้อหาที่ทำ พื้นที่ที่ทำ เรามีฐานข้อมูลทั้งจากการจับภาพเมื่อปลายปีที่แล้ว ทั้งหมู่บ้านเด่น ตำบลเด่น ห้องเรียนคุณอำนวยเด่น การจับภาพทูตเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อต้นปีนี้ เป็นต้น การบ้านวันนี้คือให้ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละท่านกลับไปหาผู้คนดีคนเก่งเข้าร่วมประชุมวิชาการทั้งที่เป็นชาวบ้าน ผู้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และผู้ที่เอื้อระบบการทำงาน นัดเอารายชื่อมาดูกันในวันเสาร์หน้าวันที่ 7 มี.ค.

สิ่งดีสิ่งเด่นคนดีคนเด่นที่ได้จากการวิจัยแบบชาวบ้านๆ จะเป็นฐานข้อมูลให้กับห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราชได้เป็นอย่างดี วันนี้ถือว่าวางแผนและออกแบบกิจกรรมร่วมกัน

สวัสดีวันหยุดครับ

 


หมายเลขบันทึก: 245575เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

การทำวิจัย คือการเรียนร้จากากรลองผิดลองถูกในแบบวิถีชาวบ้านค่ะ

สวัสดีครับ

  • ถ้าส่งเสริมให้ชาวบ้าน ชุมชน ทำงานวิจัย กันอย่างกว้างขวาง
  • เขาก็จะรู้ตัวเอง เข้าใจปัญหา รู้สาเหตุ รู้แนวทางแก้
  • กู้วิกฤติ ได้แน่ครับ

สวัสดี คุณ berger0123

ครับ การทำวิจัยคือการเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกในแบบวิถีชาวบ้าน ผมเข้าใจว่าส่วนหนึ่งซึ่งเป็นอยู่จริงในวิถีชีวิตชาวบ้านคือการวิจัยตามอัธยาศัยชาวบ้านครับ

น้องชัยพร หนุ่มร้อยเกาะ

ถ้าส่งเสริมวิจัยให้ชาวบ้านได้จริง ส่งเสริมกระบวนการแก้ปัญหาส่งเสริมกระบวนการแก้โจทย์ที่รัดรึงชาวบ้านอยู่เสียได้ มันเป็นทางออกจากวิกฤตชาติได้ทางหนึ่ง

เห็นด้วยพันเปอร์เซ็นต์ครับ

สบายดีนะครับ ไม่ได้โต้ตอบกันนานมากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท