3 วิธีปรับโรงเรียนให้เด็กๆ เรียนดีขึ้น


...

ภาพเด็กๆ นักเรียนเดินทางไปโรงเรียนผ่านเขตกรุงกบิลพัสดุ์ เนปาล (มีนาคม 2550)

  • ชาวเนปาลมีนิสัยใจคอคล้ายคนไทยทั้งๆ ที่อยู่ไกลแสนไกล เช่น ค่อนข้างยิ้มแย้มแจ่มใส รักสงบ (ขณะเดียวกันก็เป็นชาตินักรบ ดังปรากฏชื่อเสียงทหารกูรข่าที่รับจ้างเป็นแนวหน้าในแทบทุกสมรภูมิ) ฯลฯ
  • ถ้าการเมืองของเนปาล "นิ่ง" เมื่อไหร่... ธุรกิจการท่องเที่ยวเนปาลจะก้าวไปอีกไกล โดยเฉพาะทัวร์ "เดินชายขอบเอเวอเรสท์ (trekking)" เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก

...

พวกเราอาจจะคิดว่า การปรับเปลี่ยนโรงเรียนให้เด็กเรียนดีต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือไฮเทค หรือต้องลงทุนอะไรต่อมิอะไรมากมาย 

ทว่า... การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า เด็กๆ จะเรียนดีขึ้นได้ด้วยมาตรการง่ายๆ ดังต่อไปนี้

...

(1). มีช่วงพักระหว่างคาบเรียน

  • ท่านรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงโรมินา เอ็ม. บาร์รอส และคณะ แห่งวิทยาลัยแพทย์อัลเบิร์ท ไอน์สไตน์ สหรัฐฯ ทำการศึกษาในเด็กอายุ 8-9 ขวบ 11,000 คน
  • ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่มีช่วงพัก (Recess time) 15 นาทีต่อวันมีพฤติกรรมดีกว่านักเรียนที่ไม่มีช่วงพัก หรือมีช่วงพักน้อยกว่า 15 นาที

(2). ทำให้เด็กแข็งแรงขึ้น

  • คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นกลาง 1,800 คน
  • ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่ฟิต (physical fitness = สมรรถภาพทางกายดี ไม่ใช่เล่นกีฬาเก่ง) กว่ามีแนวโน้มจะทำคะแนนได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ฟิต โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ออกกำลังในช่วงพัก หรือออกกำลังในโรงยิม (คนเราแข็งแรงจากการออกแรง-ออกกำลัง ไม่ใช่จากอาหารบำรุง)

(3). เดินหรือเล่นใน "พื้นที่สีเขียว"

  • การศึกษากลุ่มตัวอย่างเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder / ADHD) พบว่า การให้เด็กๆ มีโอกาสเดินในสวนหรือป่าช่วยให้อาการดีขึ้น
  • การศึกษาอื่นๆ พบว่า เด็กที่ไม่เป็นโรคสมาธิสั้นก็ได้รับประโยชน์จาก "พื้นที่สีเขียว" เช่น สนามหญ้า ฯลฯ ในโรงเรียนหรือละแวกบ้านจะมีสมาธิในการเล่าเรียนดีขึ้นเช่นกัน

...

 > [ FreeFoto ]  

การศึกษาทำในหนูทดลองพบว่า หนูที่ไม่ยอมเล่นกับเพื่อนๆ ในวัยเด็กจะโตไปเป็น "หนูเข้าสังคมไม่เป็น" โดยจะปรับตัวเข้ากับการจัดลำดับชั้น (ใครใหญ่กว่าเล็กกว่า - rat heirarchy) หรือ "ศักดินา" ในสังคมน้องหนูไม่ค่อยได้ ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ จะโตขึ้นเป็นหนูที่ไร้คู่ หาแฟนไม่ค่อยได้ และไม่มีโอกาสพบรัก

การส่งเสริมให้เด็กๆ มีเวลาพักระหว่างคาบ ได้เล่นอะไรๆ กัน เรียนรู้อะไรๆ ซึ่งกันและกันเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้คนไทยรุ่นใหม่แข็งแกร่งพอที่จะแข่งกับนานาชาติได้ต่อไป

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                       

หัวข้อเรื่องต้นฉบับวันนี้คือ 'The 3 R's? A Fourth is crucial too: Recess' แปลว่า "3 อาร์(R)? อาร์ตัวที่ 4 ก็สำคัญมาก (crucial = very import) เช่นกัน: รีเซสส์ (Recess = ช่วงพัก)?" 

อาจารย์หมอบาร์รอสให้ความเห็นในเรื่องว่า 'Recess should be part of the curriculum.' แปลว่า "ช่วงพักควรเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร(ได้รับความสำคัญ)"

  • 'recess' > [ รี้ - เสส - ส(s) ] > [ Click ] , [ Click ] , [ Click ]
  • 'recess' > noun = break = ช่วงหยุดพัก ส่วน(บริเวณ)ที่จัดไว้สำหรับการพักผ่อน

...

  • ตัวอย่าง > We say 'break' in British English and say 'recess' in American English.
  • แปลว่า > เราพูดคำ "เบรค" ในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ และพูดคำ "รีเซสส์" ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

...

[ FreeFoto ]

...

ขอให้ย้ำเสียงหนัก (accent) ตรงเสียงตัวอักษรหนา (ขีดเส้นใต้) เสียงอื่นๆ พูดให้เบาลง ส่วนตัวเสียงที่ใช้อักษรเอียงให้พูดเบาๆ คล้ายเสียงกระซิบ

พยายามอย่าพูดภาษาอังกฤษโดยไม่ย้ำเสียง (ไม่มี accent) เพราะฝรั่งฟังแล้วไม่ค่อยเข้าใจ

...

 

ที่มา                                                       

  • Thank nytimes > Tara Parker-Pope. The 3 R's? A Fourth is crucial too: Recess > [ Click ] > 23 February 2009. / Source > J Pediatrics. Feb. 2009. School Health. Jan. 2009. J Attention Disorders. Aug.2008.
  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • ข้อมูลในบล็อกมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค > ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงโรคสูง ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์ > ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปเผยแพร่ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า > 28 กุมภาพันธ์ 2552.
หมายเลขบันทึก: 245552เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2009 19:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านนายแพทย์วัลลภ ที่นับถือ

อ่านเรื่องที่ท่านเขียนแล้วรู้สึกดีมากเลยค่ะ หากเอามาปรับใช้กับโรงเรียนที่ดิฉันได้ลงไปดูที่เกาะปูยู เกาะยาว เกาะตันหยงอุมา จ.สตูล น่าจะดี

สภาพโรงเรียนที่เกาะปัจจุบัน(วันที่ 28 ก.พ.52) การเรียนการสอนเขาเรียนแบบคละชั้น ป.1-ป.3 1 ห้องเรียนรวมกัน ป.4-6 เรียนรวมกัน 1 ห้อง ครูมีน้อย ทำทุกอย่าง เป็นทุกอย่าง เห็นแล้วสงสารเด็กค่ะ เวลาสอบ (ท่านนึกภาพนะคะ) ครูนั่งที่มุมห้องด้านขวา มีนักเรียนโต บอกให้เขียนภาษาไทยตามคำบอก โต๊ะไม่มี นั่งพื้น เรียงกัน (จะส่งรูปมาให้ดูนะคะ) เขาก็พยายามนำหลักสูตรท้องถิ่นมาสอน แต่เด็กที่นั่นเวลาน้ำทะเลแห้งเขาจะไม่มาเรียน เพราะพ่อแม่เขาให้ไปจับกั้ง ปู ปลา ครูก็รอสอน หรือหยุดไปเลย บางคนบอกว่า เขาอยู่ไม่เดือดร้อน เดี๋ยวก็ได้เงิน ไม่ต้องมาเรียนก็ได้ หรือหากจะมาก็ไม่ได้เพราะพ่อแม่ไม่ให้มา .... เขาไม่พูดภาษาไทย ที่บ้าน เป็นอิสลาม 100 เปอร์เซ็นต์ เวลาเรียน ครูสอน เขาต้องแปลเป็นภาษาอิสลามในหัวเขาก่อน เขาจึงจะตอบครูได้ ...

ไม่ทราบว่าท่านเคยลงไปบ้างไหมค่ะ ว่างๆ เรียนเชิญนะคะ

นงลักษณ์

ขอขอบคุณอาจารย์พี่นง + ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ...

  • ขอขอบคุณสำหรับประสบการณ์ตรงครับ
  • ผมมีประสบการณ์ไปฝึกงานที่โรงพยาบาลละงู สตูลด้วย... ตอนนั้นอยู่สบายมากๆ เลย ได้ไปเที่ยวตะรุเตาอีกต่างหาก

อาจารย์คะ โรงเรียนลูกชายมี 3 มาตรการนี้นะคะ

แต่..ท่าทางเขา(แม่)สังเกตุว่าจะเข้าข่ายหนูโดดเดี่ยวนิด ๆ ค่ะ

กำลังคุย+ปรึกษาคุณครู+เฝ้าดูเขา

 

ขออนุญาตแสดงความกังวลแทนการแสดง ความคิดเห็นค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท