การลดภาวะเหนื่อยล้า...ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด


Clinical Nursing Practice Guideline for Decreasing Fatigue in Cancer receiving Chemotherapy

แนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การลดภาวะเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Clinical Nursing Practice Guideline for Decreasing Fatigue in Cancer receiving Chemotherapy

ความหมาย  ของภาวะเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็ง 

  • เป็นการรับรู้ของแต่ละบุคคลถึงอาการไม่สุขสบาย ไม่มีความสุข
  • การรับรู้มีหลายระดับ: เหน็ดเหนื่อย - หมดเรี่ยวแรง  อาจเกิดในผู้ที่มีสุขภาพดี หรือ เจ็บป่วย
  • เป็นกลไกป้องกันตนเองเพื่อคงไว้ซึ่งสมดุลของร่างกาย: เตือนให้ลดการทำงาน เลี่ยงภาวะเครียด   ที่มีผลกระทบต่อร่างกาย
  • หากเกิดบ่อยๆ หรือคงอยู่นานจะรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน และส่งผลต่ออารมณ์  ความสามารถในการรับรู้   ความรู้สึกนึกคิด  การตัดสินใจในการแก้ปัญหา และคุณภาพชีวิต

 เครื่องมือที่ใช้ :  แบบประเมินภาวะอ่อนล้า  โดยใช้คำถาม  ในช่วงเวลา 7 วันที่ผ่านมา คุณรู้สึกอ่อนล้ามากน้อยแค่ไหน ถ้าให้คะแนนตั้งแต่ 0-10  ให้ คะแนน 1-10   0  หมายถึง  ไม่รู้สึกอ่อนล้าเลย  10 หมายถึง  รู้สึกอ่อนล้ามากๆ

 แนวปฏิบัติการพยาบาล

1. การประเมินผู้ป่วยที่เสี่ยง อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป ทุโภชนาการ ค่า Hct < 30% ความเครียดค่า VAS สูงกว่า 6

2. ให้ความรู้และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว เกี่ยวกับ แบบแผนของความอ่อนล้าทั้งในขณะที่ได้รับการรักษา และภายหลังการรักษา เน้นให้ทราบว่าความอ่อนล้าที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าอาการของโรคแย่ลง และวิธีประเมินระดับความอ่อนล้า

3. กลวิธีทั่วไปในการจัดการกับความเหนื่อยล้า

            3.1  สงวนพลังงาน  เรียงลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ทำ    อยู่ให้เป็นที่  หาผู้ช่วยทำแทนให้  ทำกิจกรรมอย่างช้าๆและกิจกรรมในช่วงที่รู้สึกว่ามีพลังงานสูงสุด  วางแผนการณ์ในแต่ละวันเพื่อที่จะไม่ให้ยุ่งเกินไปหรือเหนื่อยเกินไป และทำงานทีละอย่าง  ใช้อุปกรณ์ช่วยเพื่อประหยัดแรงงาน    เลี่ยงการงีบหลับกลางวันนานเกินไป  ซึ่งจะทำให้รบกวนการนอนกลางคืน

            3.2  ทำกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบน/ พัก  (distraction) เช่น  เล่นเกมส์  เล่นดนตรี  ฟังเพลง  พูดคุยกับเพื่อน อ่านหนังสือที่สนใจ

4. วิธีการที่ไม่ใช้ยา

  • 4.1 เพิ่มความสามารถของตนให้กระฉับกระเฉง โดยรักษาระดับของความสามารถ เพื่อทำกิจกรรมให้เต็มมากที่สุด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แจ้งแพทย์ถ้าต้องการขอความช่วยเหลือพิเศษ
  • 4.2 ระมัดระวังในการทำกิจกรรม ถ้ามีปัญหามีการกระจายไปที่กระดูก (bone metastasis) เม็ดเลือดขาวต่ำ(leucopenia) เกร็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia) ,หรือมีไข้สูง เป็นต้น
  • 4.3 พยายามทำกิจกรรมที่คืนพลังงาน: การดูนก การนั่งในสวน ปรึกษานักโภชนาการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอาหารที่สามารถลดความเหนื่อยล้าได้ เพิ่มคุณภาพการนอนหลับเข้านอนตรงเวลา เลี่ยงคาเฟอีน เลี่ยงออกกำลังกายในตอนเย็น
  • 4.4 กลวิธีทางจิต การจัดการกับความเครียด (stress management) การเข้ากลุ่มสนับสนุน เพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวล

5. วิธีการที่ใช้ยา ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ช่วยเพิ่มระดับพลังงาน เช่น stimulants ที่อาจช่วย เช่น anti-depressant เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ

......................

      อุบล จ๋วงพานิช

    บันทึก วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552

หมายเลขบันทึก: 245050เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

EBP เพื่อลดภาวะเหนื่อล้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  • ออกกำลังกาย โดยการเดินวันละ 3 ครั้งๆละ 30 นาที ช่วยได้ค่ะ

เป็น CPG ที่ดีค่ะ ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับ CPG ที่สามารถใช้ได้ในรพ.ชุมชน กรุณานำมาเผยแพร่ด้วยค่ะ

การทำ CNPG โดยใช้ Evidence based เราจะได้ best practice ในที่สุดค่ะ

              อุบล จ๋วงพานิช ตอบ

พี้แก้วคะ พอดีมีความสนใจการดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอดที่เคยได้รับเคมีบำบัด และใส่เครื่องช่วยหายใจ ทราบว่าเคมีบำบัดมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก และที่หอผู้ป่วยเองมีผู้ป่วยมะเร้งปอดที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลาที่นานมากบางราย 2-3เดือน

คุณสุนทรียภาพ

น่าสนใจค่ะ แต่ที่ตึกพี่มีผู้ป่วยมะเร็งปอดมากมาย แต่ถ้าใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่วนมากจะขอกลับบ้าน เพื่อ Supportive care 8

มาเยี่ยมยามตามคำเชิญของพี่แก้วครับ

ขอบคุณอาจารย์ JJ ที่มาให้กำลังใจค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์พอดีหนูเป็นพยาบาลที่เพิ่งได้ให้การดูแลผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด  ตอนนี้ก็ยังคลำๆทางอยู่  อยากถามอาจารย์ว่าถ้าหนูจะทำโครงการเรื่องโภชนบำบัดเกี่ยวกับผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัด อยากได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ว่าถ้าเราทำแบบประเมินแล้ว  เราควรจะต้องทำอย่างไรต่อดีคะ  ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท