การป้องกันช่องปากอักเสบ..ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด


แนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การลดช่องปากอักเสบผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

แนวปฏิบัติการพยาบาล เรื่อง การลดช่องปากอักเสบผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Clinical Nursing Practice Guideline to Prevent and Relieve Oral Mucositis in Cancer Patients  Receiving Chemotherapy

ความหมาย          เยื่อบุช่องปากอักเสบ เป็นการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุในช่องปากเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด โดยมีอาการบวมแดง มีแผลในช่องปาก ทำให้มีความเจ็บปวด  แสบร้อน ปากแห้ง การับรสและการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง  มีโอกาสติดเชื้อในช่องปากและทั้งระบบของร่างกาย

 เครื่องมือที่ใช้ :  แบบประเมินช่องปาก ตาม WHO6

 เกรด 0  เยื่อบุช่องปากปกติ

 เกรด 1 เยื่อบุช่องปากเริ่มมีสีแดงบวม  เป็นแผล เริ่มมีอาการเจ็บในช่องปากเล็กน้อย   

เกรด 2 เยื่อบุช่องปากมีสีแดง  มีแผลและปวดแต่รับประทานอาหารธรรมดาหรืออาหารอ่อนได้  

เกรด 3  เยื่อบุช่องปากมีสีแดงบวม  มีแผลและปวดมีแผลรับประทานอาหารเหลวได้

เกรด 4  เยื่อบุช่องปากอักเสบรุนแรง  ไม่สามารถรับประทานอาหารได้  ต้องให้อาหารทางสายยางหรือทางหลอดเลือดดำแทน

 

 

การประเมิน (Assessment)

การปฏิบัติ(Intervention)

ผลลัพธ์(Outcome)

1. ประเมินความรู้ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการดูแลช่องปาก

1. พยาบาลสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและญาติ

2. พยาบาลประเมินความรู้ความเข้าใจ  เกี่ยวกับโรค และการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

2. บันทึกผลการประเมินใน Nurse's note

ผู้ป่วยได้รับการประเมินความรู้ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการดูแลช่องปาก

2. ประเมินช่องปากตาม WHO

1. พยาบาลประเมินช่องปากตาม WHO โดยการสอบถามอาการเจ็บปวดในช่องปาก  การรับประทานอาหาร และตรวจดูแผลในช่องปาก

2. บันทึกผลการประเมินในช่องปาก ในบันทึกทางการพยาบาล

ผู้ป่วยได้รับการประเมินช่องปากอักเสบ

 

การประเมิน (Assessment)

การปฏิบัติ(Intervention)

ผลลัพธ์(Outcome)

3. การดูแลกรณีที่ช่องปากปกติ

 

  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบแก่ผู้ป่วยและญาติ

   1. แนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก

   2. การแปรงฟันอย่างถูกวิธี ใช้แปรงที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ด้วยเทคนิคบาสส์ (Bass technique) แปรงทำมุม 45 องศากับเหงือกและฟัน โดยเริ่มที่โคนฟันก่อน ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์

  3.  บ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำเกลือ หลังแปรงฟัน หลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสม

4.  ถ้ามีฟันปลอม  ควรถอดทำความสะอาดทุกครั้งหลัง

รับประทานอาหาร และถอดฟันปลอมออกทุก 8 ชั่วโมงต่อวัน

5. ทาริมฝีปากด้วยวาสลีน

6. แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนสูง เช่นเนื้อสัตว์ ปลา นม ไข่ ที่อ่อนนุ่ม กลืนสะดวก ไม่เผ็ด

7. ดื่มน้ำมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน

 

ผู้ป่วยไม่มีแผลในช่องปาก

4. การดูแลกรณีที่

ช่องปากอักเสบระดับ 1-2

 

1.   แนะนำให้ดูแลเหมือนการดูแลช่องปากปกติ 

 เพิ่มการปฏิบัติตัว โดย บ้วนปากด้วยน้ำเกลือทุก 2 ชั่วโมง และ รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว

2.  อมน้ำแข็ง เพื่อบรรเทาอาการปวดในช่องปากทุก 2 ชั่วโมง นานครั้งละ 5 นาที

3.  ประเมินช่องปาก วันละ 2 ครั้ง

ผู้ป่วยบรรเทาอาการปวด สามารถรับประทานอาหารได้

5. การดูแลกรณีที่

ช่องปากอักเสบระดับ 3-4

 

1.   แนะนำให้ดูแลเหมือนการดูแลช่องปาก โดยใช้ผ้าสะอาดนุ่มชุบน้ำเกลือพันนิ้วมือเช็ดปากแทนการแปรงฟัน ห้ามใช้ไหมขัดฟัน  บ้วนปากด้วยน้ำเกลือทุก 1-2 ชั่วโมง และทาริมฝีปากด้วยวาสลิน

2.  อมน้ำแข็ง เพื่อบรรเทาอาการปวดในช่องปากทุก 2 ชั่วโมง

3.  ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เช่น 2% Xylocaine viscious  อมกลั้วปากและคอก่อนรับประทานอาหาร  และให้ยาต้านเชื้อราและต้าน    จุลินทรีย์

4.  ประเมินช่องปากวันละ 8 ชั่วโมง

 

ผู้ป่วยบรรเทาอาการปวด สามารถรับประทานอาหารได้

6. ให้ข้อมูลเรื่อง  การดูแลช่องปากเมื่อกลับบ้าน

 

1. ให้คำแนะนำ เรื่องประเมินช่องปากตนเองวันละครั้งและปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการช่องปากอักเสบ

2. แจกคู่มือการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการช่องปากอักเสบ

3. ติดตามผลการปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยมาตามนัด

ผู้ป่วยสามารถดูแลช่องปากได้ถูกต้อง ไม่เกิดแผลในช่องปาก

 

อุบล จ๋วงพานิช

บันทึกวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552

19.32 น.

หมายเลขบันทึก: 245049เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดช่องปากอักเสบเนื่องจากภาวะข้างเคียงของยาเคมีบำบัด

Worthington HV, Clarkson JE, Eden OB.,2007 ดังนั้นการอมน้ำแข็งเป็น EBP mucositis เราได้นำมาใช้ในหอผู้ป่วยเคมีบำบัด

ศึกษาในผู้ป่วย โดยการสุ่มผู้ป่วย 7,523 คน  Interventions for preventing oral mucositis for patients with cancer receiving treatment. Cochrane Database of Systematic Reviews2007(4).

การอมน้ำแข็ง สามารถป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบได้

-  Amifostine มีประโยชน์น้อยในการป้องกันช่องปากอักเสบน้อยถึงปานกลาง

- Chinese medicine  สามารถใช้ กรณีช่องปากอักเสบได้

-  hydrolytic enzymes สามารถลดช่องปากอักเสบระดับปานกลางและระดับรุนแรง (reduced moderate and severe mucositis)

 

 

เดือนนี้เราจะเริ่มนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้และประเมินผล

แบบว่าอยากทราบว่า ยาเคมีอะไรบ้างที่ทำให้เกิด mucositis ได้บ้างค่ะ

ช่วยตอบกลับทาง e - mail : [email protected] หน่อยได้ไหมค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยมและมาเรียนรู้ ครับ

อยากทราบว่าผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หากได้รับการเปลี่ยนไขสันหลังแล้ว ต้องอยู่รพ.กี่วันคะ และถ้าเกิดเป็นแผลจะหายง่ายไหมคะ ผู้ป่วยสามารถดื่มแอลกอฮอร์ได้ไหมคะ รบกวนช่วยตอบให้หน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ

คุณ SIRINUN

ยาที่มีผลทำให้ช่องปากเป็นแผล เช่น 5-fluorouracil, methotrexate, cytarabine   carboplatin, doxurubicin, paclitaxel

 

คุณทาทา

ไม่ควรดื่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จะอยู่ รพ กี่วันขึ้นอยู่กับสภาพผู้ป่วยค่ะ

คุณทาทา

ไม่ควรดื่ม  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

จะอยู่ รพ กี่วันขึ้นอยู่กับสภาพผู้ป่วยค่ะ

สวัสดียามเช้าค่ะพี่ แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช

  • มารับความรู้...เพื่อจะได้ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชนค่ะ
  • พี่แก้วสบายดีนะคะ..
  • ระลึกถึงเสมอ ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

คุณหมวย สีตะวัน

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ

อยากทราบว่าการที่ได้รับเคมีบำบัดทำไมถึงต้องรับน้ำมากๆด้วยค่ะ ขอเหตุผลหน่อยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณปุ้ย

การรับยาเคมีบำบัด ยาจะมีผลต่อไต ถ้าดื่มน้ำมากๆ จะขับของเสียได้ง่าย ทำให้ลดอันตรายจากการติดเชื้อที่ไต

และการดื่มน้ำมากๆจะทำให้ช่องปากชุ่มชื้น ลดการติดเชื้อได้ค่ะ

ตอนนี้รับยาเคมี อยูค่ะ แล้วก็กำลังมีปัญหาเรื่องเยื่อบุช่องปากอักเสบ เหงือกบวม พอดี

ทรมานค่ะทานอาหารลำบาก ทานเผ็ดนิดนึงก็ไม่ได้ แปรงฟันก็เจ็บระบมไปหมด แงๆๆ

ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท