ดิฉันต่อยอดความรู้ในบันทึกของอาจารย์มาลินี เรื่อง ประกาย KM คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มน. ที่ท่านได้เล่าไว้ว่า
" ถ้าเราฟังแบบ Deep Listening โดยไม่ต้องตัดสิน ไม่วิเคราะห์ ไม่โต้ตอบ แล้วเรื่องนั้นๆ จะได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร?
เป็นคำถามที่ดีจริงๆ เท่าที่จำได้ ดิฉันตอบไปว่า " ต้องขอโทษด้วย ที่ดิฉันลืมเน้นไปว่า ในการฟังแบบ Deep listening ขณะมีผู้กำลัง Story telling เราพึงระลึกเสมอว่า เรื่องที่เล่า ไม่ควรเป็นเรื่องที่เป็นปัญหา แต่ให้เล่าเรื่องความสำเร็จ ดังนั้นเราต้องตั้งใจฟังว่า ความสำเร็จนั้นเกิดได้ด้วยเหตุใด วิธีใด เพื่อนำประเด็นความสำเร็จนั้น ลองกลับไปปฏิบัติด้วยตนเอง การปฏิบัติด้วยตนเอง การปรับใช้ความรู้นั้นให้เหมาะกับบริบทของตนเอง จะเป็นหนทางในการแก้ไขปัญหาได้ในที่สุด " นอกจากนี้ ท่านอาจารย์วิบูลย์ ยังได้ช่วยเสริม ช่วยขยายความในประเด็นนี้ให้ชัดเจนขึ้นอีก ถ้าอาจารย์ยังจำได้ หรือท่านที่ฟังในวันนั้นยังจำได้ ดิฉันขอความกรุณาเพิ่มเติมในข้อคิดเห็นด้วยนะคะ "
ดิฉันเสริมอาจารย์มาลินีไปว่า
" เป็นบันทึกแห่งความสำเร็จของคุณเอื้อ มน. คะ :)
ดิฉันชอบที่อาจารย์ตอบผู้ฟังเรื่อง deep listening มากคะ เพราะส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนมักจะฟังไปและคิดไปในแง่มุมมองของตนเอง ไม่มองเข้าไปในใจของผู้พูด แล้วบ่อยครั้งก็จะโต้แย้งและนำเสนอในมุมของตนเอง ซึ่งนี่ไม่ใช่ deep listening
พูดๆ ไปแล้ว deep listening นี่ก็เหมือนกับการที่แฟนเราพูดกับเรา เราก็มักจะพยายามตั้งใจฟังด้วยใจปิติ และยิ่งถ้าเป็นแฟนกันใหม่ๆ ก็จะถาม เช่น ทำไมถึงชอบฉันละ ชอบฉันตั้งแต่เมื่อไร อะไรทำนองนี้ :) ดิฉันว่า deep listening นี่คงใช้ในการทำ couple therapy แน่ๆ เลยคะ :)
ดิฉันเจอ link เกี่ยวกับ deep listening ดีๆ คะ เลยนำมา share ให้คะ http://www.refresher.com/!deeplistening.html "
อ่านบทความจาก link ที่อาจารย์ให้แล้วชอบโดยเฉพาะตอนที่เขียนว่า "...No one feels she's hearing anything but the clock ticking while she waits to speak again. ..." เหมือนที่บางคนฟัง (หรือเพียงแค่ได้ยิน) อย่างตั้งใจ เพื่อที่จะหาช่องว่างให้ตนเอง ได้มีโอกาสเพื่อที่จะได้พูดสักที
ขอบคุณ คุณ Handy และ คุณหมอสุขคะ :)
ดิฉันอ่านแล้วก็โดนใจประโยคดังกล่าวเหมือนกันคะ
นำมาลิ้งค์ใส่ไว้ค่ะ เพื่อมีคนอยากเข้ามาอ่านเพิ่มเติมค่ะ http://www.health.umd.edu/fsap/communication.html