สสส. : ดูงานสุขภาวะชุมชนที่เชียงราย (๓)


ตอนที่

วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

ช่วงเย็นเราไปดูงานที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนสันกอง ตำบลแม่ไร่ ภายในดูร่มรื่นมาก ที่นี่มีการผลิตข้าวซ้อมมือ ขนมพื้นบ้าน (ไม่เห็นตอนทำ) มีนวัตกรรมการดูแลสุขภาพพื้นบ้าน

 

ภายในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนสันกอง

เราได้เห็นภาพที่ใช้ในการเดินกะลา Hand grip และเครื่องออกกำลังกายต่างๆ ที่ทำกันขึ้นมาเอง

 

ซ้าย เดินกะลาและสุขภาพบนฝ่าเท้า ขวา hand grip

ช่วงที่เราไปเยี่ยมศูนย์นั้นเย็นแล้ว เราจึงไม่เห็นว่าชาวบ้านเขามารวมกลุ่มทำอะไร อย่างไรกันบ้าง

 

ทีมเราทดลองเล่นเครื่องออกกำลังกาย

ที่ชอบกันมากคือเรื่องการรักษา-ขยายพันธุ์ไม้พื้นเมือง ที่นี่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีส่วนที่จัดให้ผู้สูงอายุมาปลูกต้นไม้และทำกิจกรรมร่วมกัน มีทางเดินให้ศึกษาพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่มีชื่อติดไว้ให้รู้จักด้วย คุณคำเดื่อง ภาษี ได้พันธุ์ไม้ติดมือกลับบ้านไปหลายอย่าง

 

บริเวณที่ให้ผู้สูงอายุมาปลูกต้นไม้ <p style="text-align: center;"> </p><table border="1"><tbody><tr>

</tr></tbody></table> ซ้าย กอไผ่โปก ขนาดใหญ่มากๆ ขวา ทางเดินชมพันธุ์ไม้ <p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;"> </p><table border="1"><tbody><tr>

</tr></tbody></table> คุณคำเดื่องกับคุณยายเจ้าของบ้าน

กลับที่พัก รับประทานอาหารเย็น ร้องเพลงคาราโอเกะพอได้อารมณ์สนุกสนาน นักร้องมีหลายคนอาทิ รองปลัดฯ สมพร ใช้บางยาง (เพลงลูกทุ่ง) “ลุงริน” สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ (มีเทคนิคหาสาวไปร้องคู่) ผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ น้องสาว (คนสวย) จากมูลนิธิซีเมนต์ไทย

ประมาณ ๒๐ น. ก็เข้าสู่กิจกรรมเสวนา “การขับเคลื่อนงานสร้างสุขภาวะชุมชนภาคเหนือตอนบน” แลกเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานกับทีมงานโครงการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งบางส่วนเดินทางมาจากเชียงใหม่

ดิฉันฟังพอจับใจความได้ว่า (อาจไม่ถูกต้องทั้งหมด) โครงการล้านนาจุ้มเย็นเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ต้องการสร้างสุขภาวะ ให้คนภาคเหนืออยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข มีพื้นที่ทำงานในหลายจังหวัด เป้าหมายต้องการสร้างพื้นที่ต้นแบบ (พื้นที่อาจเป็นตำบล พื้นที่ตามเขตการปกครอง พื้นที่เชิงวัฒนธรรม) สร้างคนทำงานให้เป็นนักจัดการความรู้ และเอาไปขยายผล

ในการจัดการความรู้นั้น ทีมทำงานเชื่อว่าพื้นที่มีความรู้อยู่แล้ว แต่ไม่ค่อยได้ถูกยกระดับ เชื่อว่ามีความหลากหลาย เชื่อว่ามีรูปธรรมให้ดู และเชื่อว่ามีคนที่ถ่ายทอดได้ ทีมทำงานกระตุ้นให้เกิดการรวบรวมตัวความรู้ บางอย่างก็ไปสำรวจหา ช่วยกันค้นหา สืบค้น มีการบันทึก พัฒนาตัวสื่อ (ถอดเป็นรูปของสื่อ) บทบาทของฝ่ายจัดการโครงการคือเป็นนักจัดการความรู้......

คุณเดโช ทีมจากเชียงใหม่เล่าถึงการทำงานเรื่องการจัดการทรัพยากร ว่าจะเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานเป็นทำทั้งตำบล สร้างกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ฐานข้อมูล เอา อบต.เข้ามา ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเป็นเครื่องมือในการสำรวจ ให้ราชการเข้ามาร่วม ยกตัวอย่างเรื่องการขุดหน่อไม้ ชาวบ้านมีชุดความรู้อยู่แล้วว่าเก็บหน่อไม้ชุดที่ ๑, ๒ ได้ หน่อชุดสุดท้ายต้องปล่อยไว้ กลายเป็นการใช้เชิงอนุรักษ์

ทีมคณะกรรมการบริหารแผนฯ อาทิ รองปลัดฯ สมพร แนะว่าการทำงานควรเลือกประเด็นที่สำคัญ ที่ชาวบ้านสนใจที่สุด สร้างกระบวนการให้เขาเกิดความเข็มแข้ง (เป็นหัวใจ) แล้วจะยั่งยืน อย่าไปทำทีเดียวหลายประเด็น จะเบลอ “ลุงริน” เสริมว่า “ธงต้องชัด”

คุณนัยนา จากเชียงใหม่เล่าถึงการสานพลังโดยใช้การจัดการความรู้ เอาข้อมูลความรู้มาพัฒนาเพื่อการจัดการตนเอง เชื่อมกับ อบต. มีกิจกรรมเพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือสำคัญคือแผน ศูนย์การเรียนรู้........

ฟังเรื่องการจัดการความรู้ตามที่ทีมโครงการฯ คุยแล้ว ดิฉันรู้สึกว่าเป็นการมุ่งจัดการที่ตัวความรู้ เลยขอเวลาเล่าเรื่องการใช้การจัดการความรู้ในเครือข่ายเบาหวานของเรา ยกตัวอย่างให้เห็นว่าเครือข่ายเบาหวานดำเนินกิจกรรมอะไร อย่างไร มีความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง (เช้าวันรุ่งขึ้นคุณสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง มาคุยด้วย สนใจ VCD ชุดหมอฝอยทอง) ดิฉันอยากเรียนรู้จากทีมโครงการว่าทำอะไร อย่างไร แต่บางทีการพูดด้วยศัพท์แสงบางคำ ฟังดูเหมือนดีแต่นึกภาพไม่ออกว่าคืออะไร

จบการเสวนาก็เลยเวลา ๒๑ น. ไปนานพอควร ทีมโครงการบางคนไม่ได้พักค้าง กลับเชียงใหม่เลยก็มี

วัลลา ตันตโยทัย

 

หมายเลขบันทึก: 244412เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท