สถาบันอุดมศึกษา หันหาภูมิปัญญาไทย (ตอนที่ 3) เก็บภาพมาฝาก


ระดับเห็นคุณค่า ฝึกปฏิบัติด้วยความสนใจสมัครใจจนเป็นมืออาชีพ มีความยั่งยืน ยาวนานตลอดไป

สถาบันอุดมศึกษา

เรียกหาภูมิปัญญาไทย

(ตอนที่ 3) เก็บภาพมาฝาก

เมื่อสถาบันเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้

โดยประสบการณ์ตรง สัมผัสกับความจริง

 

            ในตอนที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงการมาเยือนของนักเรียน นิสิต นักศึกษา จากสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ มาจากโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา จากวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชน บางสถาบันมาไกลจากทางภาคอีสานก็มี แต่ถึงอย่างไรก็ตามนับว่า เป็นการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้อีกยุทธวิธีหนึ่ง เพราะเด็ก ๆ เขามาอยู่กับผมเต็มวัน บางกลุ่มมาสืบค้นกันเป็นเวลา 2-5 วัน ก็มี และในบางกลุ่มมาฝึกปฏิบัติกันอย่างจริงจัง จนผมบอกว่าใช้ได้พวกเขาจึงขอลาผมกลับไป อย่างนี้แล้วผมคิดว่าต้องกลับไปแบบมีความรู้เพิ่มขึ้นแน่ อย่างน้อย ๆ ก็ฝังตรึงความรู้สึกให้คนทำงานสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อายุใกล้จะ 60 ปี อย่างผมได้มีลมหายใจที่ยาวนานออกไปอีกโข

         

       (นักศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตสุพรรณบุรี มาฝึกหัดเพลงอีแซวออกทีวี)

 

          ระดับของการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

1.     เรียนให้มีความรู้นำเอาไปอธิบายบอดเล่าให้ผู้อื่นรับทราบได้

2.     เรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติ มีครูหรือผู้ที่เป็นต้นแบบให้ความรู้ฝึกกระทำตามขั้นตอน

3.     ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนมีความรู้ ความสามารถถึงขั้นชำนาญ สามารถแสดงร่วมกับมืออาชีพ และนำไปสู่การแสดงอาชีพได้

 

          ผมได้เก็บรวบรวมภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลที่เข้ามาเรียนรู้เพลงพื้นบ้านกับผมในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไม่นาน ดังต่อไปนี้ ครับ

         

          (เพลงอีแซว ต้อนรับคณะนิสิตปริญญาโท จาก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  21 ส.ค.2549)

         

      (ครูชำเลือง มณีวงษ์,หทัยกาญจน์ เมืองมูล และรัตนา ผัดแสน ให้ข้อมูลแก่นิสิตที่มาสัมภาษณ์)

         

          (เด็ก ๆ นักแสดง จากโรงเรียนเลาขวัญราษฎร์บำรุง จ.กาญจนบุรี มาเยือนห้องฝึกหัดเพลง)

         

          (กลุ่มนักศึกษา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มาเยือนครูเพลง เมื่อ 2 ธันวาคม 2551)

         

         (กลุ่มนักศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ติดตามสัมภาษณ์เรื่องราวการฝึกหัดเพลง)

         

          (การสืบค้นหาครูเพลงในโรงเรียนของนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ ที่ห้องฝึกปฏิบัติเพลงอีแซว)

         

          (นิสิตปริญญาโท ม.ธุรกิจบัณฑิตมาเยือนห้องฝึกหัดเพลงอีแซวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2551)

         

         (นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวรร่วมเรียนรู้เพลงฉ่อย ในวิชาโครงงานศิลปะ 16 ธ.ค.2551)

         

         (นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 12 คน มาเยือนห้องฝึกหัดเพลง 22 ส.ค.2551)

         

         (กลุ่มนักศึกษาจาก ม.สุพรรณภูมิฯ วิชาเอกภาษาอัวกฤษ มาเรียนรู้เพลงพื้นบ้าน 16/2/2552)

         

         

          (คณะนักเรียน จากโรงเรียนชัยบาดาลพิทยาคม มาศึกษาเรื่องราวเพลงอีแซว  7 ก.พ.2552)

 

          ระดับความยั่งยืน ยาวนาน ในการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่

          1. ระดับมีความรู้ บอกเรื่องราว ขั้นตอนได้ อธิบายได้   ความยั่งยืนไม่มี

          2. ระดับมีความสามารถปฏิบัติได้ ทำได้ แสดงได้       ความยั่งยืนไม่แน่นอน

          3. ระดับเห็นคุณค่า ฝึกปฏิบัติด้วยความสนใจสมัครใจจนเป็นมืออาชีพ  มีความยั่งยืน

              ถาวรเห็นได้อย่างชัดเจน

          

         

          

ชำเลือง  มณีวงษ์ ครูผู้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพลงพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี

             - ได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดเพลงอีแซว จังหวัดสุพรรณบุรี 2525

             - ได้รับรางวัลราชมงคลสรรเสริญ พุ่มพนมมาลา ด้านเพลงพื้นบ้าน 2547

             - ได้รับโล่รางวัลความดีคู่แผ่นดิน จากสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 ปี 2549

             - ได้รับหนังสือรับรอง จากโทรทัศน์เท็นทีวี ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ในความเป็นไทย 2551

         

หมายเลขบันทึก: 243744เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2009 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอชื่นชม และขอให้เป็นเสาหลักอีกต้นของวงการเพลงพื้นบ้านสุพรรณ...ครับ

พี่เหลือเวลาในการทำงานราชการน้อยลงไปทุกที คงอีกไม่นานเสียงเพลงพื้นบ้านที่เคยดังก็จะค่อย ๆ จางหายไปตามหน้าที่การงาน แม้ว่าในชีวิตจริงจะยังคงมีเพลงอยู่ในหัวใจตลอดไปก็ตาม

ฝากเพลงพื้นบ้านเอาไว้ในห้วงหัวใจของคนรักเพลงรุ่นน้อง อย่างอาจารย์พิสูจน์ด้วยนะ

เมืองสุพรรณเต็มไปด้วยครูเพลงสำคัญ ๆ หลายคน มีการรักษาเพลงอีแซวไว้ให้ลูกหลานสืบต่อมา เคยไปประเมินโรงเรียนในฝันพบว่าทุกโรงเรียนต่างก็นำเพลงอีแซวมานำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ น่าสนใจมากค่ะ ที่จังหวัดนครปฐมก็มีครูเพลงชื่อครูกุหลาบ แต่ตอนนี้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ยังมีทายาทที่ได้รับการถ่ายทอดไว้ และเชิญร่วม planet ด้วยนะคะที่

URL://gotoknow.org/planet/nptlocalwisdom/

  • เห็นด้วยครับ ที่ว่า เมืองสุพรรณฯ เต็มไปด้วยครูเพลง แต่มาถึงวันนี้เหลือน้อยมากแล้ว สำหรับของแท้ที่สั่งสมความรู้ทางเพลงจากต้นฉบับต่อ ๆ กันมาจริง ๆ
  • ส่วนการฝึกหัดเพลงอีแซวให้กับนักเรียน มีจำนวนมาก นับเป็นร้อยโรงเรียนหรือมากกว่านี้ เสียด้วยซ้ำไป
  • ถ้ามองให้ลึกลงไปเป็นการจัดกิจกรรมการแสดงในเวลาสั้น ๆ 15-20 นาที เพื่อแสดงในงานหรือกิจกรรมของโรงเรียน ส่วนการสืบสานที่แท้จริงเกือบที่จะไม่มีให้เห็น
  • จะเห็นได้จากเวทีการแสดงอาชีพ ยังไม่มีกลุ่มเย่วชนขึ้นไปแสดงบนเวทีในงานใหญ่ ๆ ได้ในระยะยาว 3-4 ชัวโมงต่อเนื่องกัน และที่สำคัญคือ การแสดงที่ดี ที่ถูกต้องจะต้องมีคนดู (ตรึงท่านผู้ชมให้สนใจเฝ้าดูการแสดงได้ตลอด) มีเพียง 1-2 คณะเท่านั้น หรืออาจจะน้อยกว่านี้ด้วยซ้ำที่ทำได้
  • นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก ที่ว่าเพลงพื้นบ้านจะสูญก็เพราะการสืบสานที่ไม่ตรงทาง ไม่ดิ่งลงไปให้ลึกซึ้งว่าจุดยืน จุดขายมีหรือไม่ อยู่ตรงไหน ทำแล้วอยู่รอดหรือหายไปอย่างรวดเร็ว

                  ขอขอบคุณในอีกมุมมองหนึ่งที่ฉายภาพมาให้เห็น

 

สนใจค่ะ ได้แต่ซื้อซีดีมาฟังยังไม่เคยเห็นของจริง คงมีโอกาสซักวัน

ขอบคุณค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ

มีความสุขในการทำงาน นะคะ

ช่วงนี้งานยุ่งๆค่ะ

Take care

แวะมา ชื่นชมและศรัทธาค่ะ อย่างมากๆด้วยค่ะ

สวัสดี Krutoi (ความเห็นที่ 5)

  • ดี ครับ ที่ท่านให้ความสนใจในศิลปะพื้นบ้าน เพลงอีแซว เพลงฉ่อย ลำตัด ฯลฯ
  • ถ้าไปเที่ยวสุพรรณบุรี ที่บ้านควายจะมีโชว์เพลงอีแซววันละรอบ เฉพาะในวันหยุด ครับ แต่ว่าเป็นเด็ก ๆ ที่ฝึกเพลงมาเฉพาะกิจ  มิใช่กลุ่มที่สืบสานจริง ๆ (แต่ก็ยังดี ที่มีเด็ก ๆ ให้ความสนใจ) ขอบคุณ ครับ

คุณ สายธาร(ความเห็นที่ 6)

  • ขอบคุณมาก ครับ ที่แวะมาเยี่ยม
  • ได้รับความสดชื่นเหมือนเช่นเคย งานก็ยุ่ง ๆ เช่นกัน ครับ เดี๋ยวจะแวะไปเยี่ยม

สวัสดี ครับ คุณ Sasinand

  • ขอบคุณในความปรารถนาดี ที่ส่งมาให้อย่างมาก ๆ ด้วยเช่นกัน ครับ
  • ผมยังคงเดินทางไปรับใช้สังคมด้วยการแสดงเพลงพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง ในหลาย ๆ สถานที่ ที่ให้โอกาส

ครูชำเลืองคะ..หาครูผู้สานงานต่อได้หรือยังคะ...เมื่อประมาณ2ปีที่แล้วรู้สึกว่ามีนักศึกษาปริญญาโทของมหาลัยชื่อดังในจังหวัดนครปฐม ทำวิทยานิพนธ์เรื่องเพลงอีแซวนี่แหล่ะค่ะ..เป็นคนสุพรรณด้วยนะ..น้องเป็นผู้หญิง..น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดีนะคะ..เพลงจะได้ไม่จางหายไปกับหน้าที่การงาน..อาจจะยังคงอยู่คู่กับสุพรรณฯผ่านการศึกษาจากในโรงเรียนสู่ชุมชน จากชุมชนสู่โรงเรียนเมื่อนักเรียนเหล่านนี้จบไปแล้วก็ได้นะคะ..

สวัสดี คุณอ้อยเล็ก

  • เรื่องของงานเพลงพื้นบ้าน มีอะไรที่ลึกซึ้งมากว่าที่จะนำเอามาบรรยายให้เข้าใจได้จนหมดสิ้นครับ
  • คนที่จะมาแทนที่ทำงานนี้คงมีต่อไปแน่นอน แต่ว่าจะแตกต่างกันในแนวคิด ค่านิยมจนถึงจิตวิญญาณ ทั้งนี้เพราะผมมาจากการสั่งสมความรู้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพาะบ่มความสามารถจนกระทั่งเป็นที่ยอมรับบนเวทีการแสดงจนถึงมีงานหา จ้าง วานเข้ามา
  • คนที่ทำปริญญานิพนธ์ อาจจะลงลึกในการศึกษาค้นคว้า แต่การแสดงจริงบนเวทีแตกต่างกันมาก ผู้เชี่ยวชาญในตำรา มิอาจที่จะเข้าไปถึงความรู้สึกของท่านผู้ชมได้
  • ต้องขอขอบคุณ คุณอ้อยเล็กที่เล็งเห็นคุณค่าของภูมิปัญญา เฝ้ามองด้วยความห่วงใย และโปรดเชื่อเถิดว่าสิ่งนี้จะยังคงอยู่ในชีวิต จิตวิญญาณของผมตลอดไป

ดีใจจังค่ะครู...ทุกวันนี้ท่องอาขยานเด็กบางที่ยังอาย...ผิดกับการไปรับเอาวัฒนธรรมอื่นๆของต่างชาติมากลับไม่อาย..ตรงข้ามกลับว่ารู้สึกเท่....ขนบธรรมเนียมประเพณี..ก็มีส่วนสำคัญที่ต้องรักษาไว้นะคะครู..เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นทางการเผยแพร่เพลงอีแซวได้ทางหนึ่งเลยนะคะ..

  • เป็นอย่างที่ครูอ้อยเล็กว่ามานั่นแหละครับ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติเข้มแข็งกว่าของเรามาก
  • ผมเดินทางบนถนนศิลปะเกือบทุกแขนง เพื่อสร้งความเข้มแข็งให้กับนักเรียน แต่ก็ทำได้ไม่เต็มที่ งานทัศนศิลป์ งานดนตรีพื้นบ้าน งานวรรณศิลป์ (บทเพลง) งานศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน ฯลฯ แต่เด็ก ๆ ที่จะมาร่วมงานกับเรามีน้อยเต็มที
  • ตลอดเวลาเกือบจะ 42 ปี (อายุราชการ) ผมทำได้เพียงแค่นี้
  • ครูอ้อยเล็กยังมีเวลา สานต่องานศิลปะให้เยาวชนของชาติต่อไปนะครับ ขอบคุณมาก ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท