Wiki


Wiki

MediaWiki ผู้อยู่เบื้องหลังสารานุกรมออนไลน์ระดับโลก

โดย ธีรภัทร มนตรีศาสตร์,RHCE

                        สังคมออนไลน์ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มากมายให้เกิดขึ้น ทำให้เรามีโอกาสได้เข้าถึงสาระบันเทิงหลากหลายรูปแบบได้เพียงปลายนิ้ว ในขณะเดียวกันโลกได้ก้าวเข้าสู่สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจฐานความรู้จึงทำให้การแลกเปลี่ยนแบ่งบันความรู้เป็นวัฒนธรรมใหม่ที่มีความสำคัญยิ่งขึ้น และทำให้เว็บไซต์ทั่วโลกซึ่งเปรียบเสมือนห้องสมุดออนไลน์กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สะดวกต่อการเข้าถึงมากที่สุดในปัจจุบันในยุคเริ่มแรกเว็บไซต์เป็นการนำเสนอข้อมูลทิศทางเดียว โดยใครบางคนที่อยู่เบื้องหลังเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นผู้ทำให้มีเนื้อหาที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมให้ใครต่อใครเข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลได้ตามความต้องการ ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อมูลแบบ read only คือ อ่านได้เพียงอย่างเดียว ผู้ใช้เอกสารเว็บไม่สามารถป้อนข้อมูลเข้า (input) เพื่อปรับปรุงสารสนเทศให้มีความทันสมัยและถูกต้องได้เลย ผู้เขียนมักจะเตือนผู้อื่นอยู่เสมอว่าอย่าเชื่อถือเอกสารจากเว็บไซต์ต่างๆ โดยไม่ตรวจสอบเสียก่อน เนื่องจากอาจจะเป็นข้อมูลที่ขาดการบำรุงรักษามาเป็นเวลานานก็เป็นได้การกำเนิดของฟอร์มการรับข้อมูลของภาษา HTML การทำงานแบบโต้ตอบได้ของภาษาสคริปต์และ CGI นำมาซึ่งการป้อนข้อมูลโดยผู้ใช้เว็บ พัฒนาขึ้นเป็นบริการต่างๆ ที่เอื้อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนออนไลน์ และปรากฏเป็นนวัตกรรมที่สร้างวัฒนธรรมใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นจากฟรีเว็บไซต์ส่วนบุคคลเพื่อการนำเสนอข้อมูลได้โดยอิสระ เช่น บริการของ Geocities พัฒนามาสู่บริการเว็บล๊อกหรือเรียกสั้นๆ ว่า Blog บริการไดอารี่ออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเมื่อไม่มานี้จนกระทั่งวันนี้โลกได้รู้จักบริการใหม่ที่สอดคล้องกับยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เรียกว่า Wiki ซึ่งเปรียบเสมือนแหล่งรวบรวมความรู้จากบุคคลทั่วโลก ( เป็นการต่อยอดขึ้นจาก Blog อีกทีหนึ่ง ซึ่ง Blog เป็นเพียงแหล่งแสดงความคิดเห็นประสบการณ์เฉพาะบุคคลเท่านั้น ) ทั้งนี้ในปัจจุบันหลายวงการเริ่มยอมรับ Wikipedia.org ว่าเป็นแหล่งความรู้ที่เกิดจากการร่วมกันคิดร่วมกันระดมความรู้จากอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลกเพื่อสร้างสารานุกรมเสรีออนไลน์ ( Online Free Encycropedia ) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีเนื้อหาตั้งแต่สิ่งที่เล็กที่สุดในโลกไปจนถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด(ที่มนุษย์โลกรู้จัก) มากกว่าหนึ่งล้านหัวข้อเชื่อมโยงกันด้วยระบบซอฟต์แวร์ที่ชาญฉลาดและเครื่องมือค้นหาที่รวดเร็วที่ช่วยให้การค้นหาเป็นไปได้แทบทุกคำที่คุณอยากรู้Wiki ยังถูกนำไปประยุกต์ในงานอื่นๆ อีกมากมายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรวบรวมความรู้ คำตอบของปัญหา การประสานงานระหว่างองค์กร และงานที่ต้องการการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน ดังนั้นทุกวันนี้เราจะสังเกตเห็นว่าหลายๆ องค์กรจะมีเว็บไซต์ Wiki เป็นของตนเอง ใช้ทดแทนบริการถามตอบ การบริการลูกค้า FAQ ฐานความรู้ และอื่นๆ อีกมากมายMediaWiki โอเพ่นซอร์ส Wiki เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของสารานุกรมเสรีออนไลน์ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ คือ ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่มีคุณภาพสูงมากตัวหนึ่งที่จะนำมาแนะนำในวันนี้คือ MediaWiki ซึ่งมี                      จุดเริ่มต้นจากความต้องการสร้างเว็บไซต์ Wikipedia นั่นเอง โดยดำเนินการพัฒนาภายใต้ GNU General Public License ซอฟต์แวร์ตัวนี้จึงเกิดจากการร่วมแรงของชาวโลกเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชาวโลกจริงๆ นอกจากจะได้ผลเป็นเว็บไซต์ Wikipedia ที่มีประโยชน์ต่อทุกวงการอย่างเอนกอนันต์แล้ว เรายังได้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ที่เป็นชุดโปรแกรม Wiki ชั้นเลิศอีกด้วยแน่นอนครับถ้าเรานำโปรแกรม MediaWiki มาสร้างเว็บไซต์ Wiki เป็นของเราเอง จะทำให้เราได้ Wiki ที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับ Wikipedia.org อย่างไม่ต้องสงสัยเลย

 
                 การติดตั้งโปรแกรม เริ่มต้นโดยเตรียมระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จำเป็นให้พร้อม ผู้เขียนได้ทำการทดสอบกับระบบปฏิบัติการ Fedora Core 5 (Bordeaux) โดยติดตั้งซอฟต์แวร์แพคเกจสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบริการเว็บเซิร์ฟเวอร์และระบบฐานข้อมูล ได้แก่ Apache 2.2 ,PHP 5.1.2 ,gd-2.0.33 ,mysql-5.0.18 และ ImageMagick-6.2.5 ส่วนตัวโปรแกรม MediaWiki สามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.mediawiki.org เป็นไฟล์ Tarball ขนาดประมาณ 2 MB ( บทความนี้ใช้ไฟล์ mediawiki-1.5.8.tar.gz ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุด )จากนั้นทำการคอนฟิกและเปิดบริการทั้ง Apache และ MySQL ให้พร้อมทำงาน โดยเฉพาะ MySQL จะต้องกำหนดรหัสผ่านของ root ไว้ให้เรียบร้อยเสียก่อนเพราะในขั้นตอนติดตั้งโปรแกรม MediaWiki จะต้องป้อนรหัสผ่านนี้เพื่อสร้างฐานข้อมูลและตารางฐานข้อมูลขึ้น นอกจากนี้โปรแกรม PHP จะต้องกำหนดค่าตัวแปร memory_limit ให้มากกว่าค่าปรกติ (8 MB) ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับ MediaWiki ตามเอกสารแนะนำการติดตั้งแล้วควรมีค่ามากกว่า 20 MB จะเหมาะสมกว่า ค่าตัวแปรนี้สามารถแก้ไขได้ที่ไฟล์ /etc/php.ini หลังจากเตรียมส่วนประกอบพื้นฐานไว้แล้ว ให้แตกไฟล์ mediawiki-1.5.8.tar.gz ไว้ใต้ไดเร็คทอรี่ DocumentRoot ของ Apache ( สำหรับ Fedora Core คือ /var/www/html ) หรือตำแหน่งอื่นๆ ตามที่ต้องการแล้วเชื่อมโยงอีกครั้งด้วย Soft Link หรือ Alias หรือ Virtual Host ก็ได้ ตัวอย่างเช่น แตกไฟล์ไว้ที่ /var/www/html จะเกิดไดเร็คทอรี่ชื่อ mediawiki-1.5.8 แล้วสร้าง link ชื่อ wiki ขึ้น ด้วยคำสั่ง
# ln –s /var/www/html/midiawiki-1.5.8 /var/www/html/wiki
จะได้ผลลัพธ์เป็นตำแหน่ง URL ที่สามารถเรียกได้จากเว็บบราวเซอร์เป็น http://localhost/wiki นั่นเอง ในกรณีที่ท่านต้องการ URL ในลักษณะอื่นๆ อาธิ http://wiki.mydomain.com จะต้องอาศัยเทคนิคอื่นเช่น Name based Virtual Host หรือ URL Rewrite เป็นต้นสิ่งหนึ่งที่จะต้องเตรียมไว้ก่อนเข้าสู่การคอนฟิกโปรแกรม MediaWiki ก็คือ จะต้องแก้ไข Permission ของ Directory ชื่อ config ให้สามารถสร้างไฟล์และแก้ไขข้อมูลไฟล์คอนฟิกที่จะเกิดขึ้นระหว่างการคอนฟิกได้ โดยใช้คำสั่งดังนี้
# chmod a+w /var/www/html/wiki/config
ขั้นตอนต่อไปคือ จะต้องคอนฟิกโปรแกรม MediaWiki ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ โดยเข้าไปที่ http://localhost/wiki/config จะปรากฏหน้าเว็บเพื่อการคอนฟิกโปรแกรม ในขั้นตอนการคอนฟิกโปรแกรม MediaWiki นี้จะมีข้อมูลสำคัญๆ ที่จะต้องป้อนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ตามลำดับจากด้านบนของหน้าจอลงไปจนถึงปุ่มยืนยันด้านล่างสุดของหน้าจอ คือ Site Config เป็นการกำหนดชื่อของ Wiki Site ของเรา อีเมล์ของตัวระบบ (Contact Email) ซึ่งจะใช้ในการติดต่อกับสมาชิก ภาษาที่จะใช้ในหน้าเอกสารของสารานุกรม (มีตัวเลือกภาษาไทย) การประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์การเผยแพร่ (เช่น GNU Free Document License) ชื่อและรหัสผ่านของผู้บำรุงรักษาระบบทั้งหมด ( เรียกว่า SysOp ) ส่วนที่ 2 เป็นการกำหนดค่าที่เกี่ยวกับการสื่อสารด้วยอีเมล์ (Email Notification) และการพิสูจน์สิทธิ์ของสมาชิกอาสาสมัคร ( Authentication ) ซึ่งโดยปรกติแล้วไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงค่า ส่วนที่ 3 จะเป็นการกำหนดค่าที่เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล (Database Config) ซึ่งจะต้องกำหนดค่า MySQL Server ,ชื่อฐานข้อมูล ชื่อยูสเซอร์ที่จะใช้ติดต่อกับฐานข้อมูล ชื่อขึ้นต้นของตารางข้อมูลของ MediaWiki (ใช้ค่าปรกติเป็น mw_ ) และสุดท้ายคือ ชื่อและรหัสผ่านของ root ซึ่งเราได้กำหนดไว้ในตอนต้นแล้วหากได้มีการเตรียมการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว โปรแกรม MediaWiki จะสร้างฐานข้อมูล ตารางข้อมูล และ ไฟล์คอนฟิกของโปรแกรมขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยจะแสดงหน้าจอรายงานความสำเร็จดังรูปที่ 5 ซึ่งให้คำแนะนำสำหรับขั้นตอนต่อไปคือ ให้ย้ายไฟล์ config/LocalSettings.php ไปที่ไดเร็คทอรี่หลักของโปรแกรม


การย้ายไฟล์ดังกล่าวทำได้โดยคำสั่งต่อไปนี้
# cd /var/www/html/wiki/config/
# mv LocalSettings.php ..

หลังจากย้ายไฟล์คอนฟิกแล้วให้รีเฟรชหน้าเว็บเพจนี้อีกครั้งจะปรากฏหน้าแรกของโปรแกรม MediaWiki ของเรา ซึ่งพร้อมให้สมัครสมาชิกใหม่ โดยคลิ๊กล๊อกอินที่มุมบนด้านขวามือ และเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างหัวข้อเอกสารได้ทันที




เริ่มสร้าง Wiki เพื่อให้แน่ใจว่าระบบ Wiki ที่เราสร้างขึ้นนี้สามารถใช้งานได้ ควรเริ่มต้นด้วยการทดลองสร้างหน้าเอกสาร ( article ) ขึ้น โดยล๊อกอินเข้าสู่ระบบด้วยชื่อบัญชี WikiSysop และรหัสผ่านที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการติดตั้งที่ผ่านมา กำหนดหัวข้อที่คิดว่าจะสร้าง article ขึ้น ตัวอย่างเช่น คำว่า Linux แล้วป้อนลงในช่องค้นหาในหน้าแรกโปรแกรมจะแจ้งว่าไม่พบหน้าเอกสารหัวข้อนี้ และจะให้เริ่มสร้างเอกสารหัวข้อนี้ได้ทันที โดยมีข้อความลิ้งค์ว่า You can create this page เมื่อเราคลิ๊กที่ข้อความนี้จะเข้าสู่หน้าจอแก้ไข article นี้ผ่านเว็บบราวเซอร์ได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมใดๆ เพิ่มเติมอีกเลย ในการเพิ่มเติมข้อความเหล่านี้เราจะพิมพ์ข้อความได้ตามที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการให้มีรูปแบบที่สวยงามเป็นไปตามมาตรฐานของ Wiki แล้ว จะต้องศึกษาการกำหนดรูปแบบข้อความที่เรียกว่า Wiki Syntax ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ตัวอย่าง Wiki Syntax เบื้องต้นที่ใช้ทดสอบ
รูปแบบ ความหมาย
==ข้อความ== หัวข้อระดับที่ 1 (ขนาดใหญ่)
===ข้อความ=== หัวข้อระดับที่ 2 (ขนาดปานกลาง)
====ข้อความ==== หัวข้อระดับที่ 3 (ขนาดเล็ก)
---- ตีเส้นแนวนอน
‘’ ข้อความ ’’ ตัวเอน (ใช้ตัวเครื่องหมาย ‘ พิมพ์ติดกัน 2 ตัว)
‘’’ ข้อความ ‘’’ ตัวหนา (ใช้ตัวเครื่องหมาย ‘ พิมพ์ติดกัน 3 ตัว)
* ข้อความ รายการหัวข้อแบบไม่มีลำดับตัวเลข (แสดงเป็นจุดหน้าข้อความ)
# ข้อความ รายการหัวข้อแบบลำดับตัวเลข ( ตัวเลขจะเรียงกันเองโดยอัตโนมัติ )
[[ภาพ:File.jpg]] แสดงรูปภาพ

สำหรับการแสดงรูปภาพจะต้องปรับแต่งเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเพื่อทำให้สามารถส่งไฟล์รูปภาพเข้าสู่โปรแกรมได้ โดยต้องแก้ไขไฟล์ LocalSettings.php แล้วลบเครื่องหมาย # หน้าข้อความว่า $wgEnableUploads = true ออก และจะต้องเพิ่มสิทธิ์ของไดเร็คทอรี่ images ให้สามารถบันทึกไฟล์ได้อีกด้วย จึงจะสามารถอัพโหลดไฟล์รูปภาพและแสดงรูปภาพในเอกสารได้จะเห็นได้ว่าวิธีการติดตั้ง MediaWiki มีการออกแบบมาเป็นอย่างดี ทำให้ง่ายต่อการใช้งานมาก แต่ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากที่ผู้บริหารระบบจะต้องศึกษาเพื่อการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ การควบคุมสิทธิ์ของผู้ใช้งาน การเพิ่มเติมและใช้งาน Extension ต่างๆ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานได้จากเว็บไซต์ของ MediaWiki อ้างอิง : ธีรภัทร  มนตรีศาสตร์. mediawiki ผู้อยู่เบื้องหลังสานุกรมระดับโลก.[ออนไลน์] เข้าถึงใด้จาก www.itdestination.com 20 ก.พ.2552 เวลา 10.12 น.
คำสำคัญ (Tags): #wiki
หมายเลขบันทึก: 243408เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท