มหกรรมตามรอย Tube Sugar


รายงานสด ๆ เขียนร้อน ๆ จากหน่วย Chem

วันนี้มีปรากฏการณ์ประหลาด ท่ามกลางพายุเลือดที่โหมกระหน่ำเข้ามา (เป็น tube tube....เฉพาะครึ่งวันเช้า 654 ราย) พวกเราพบกับมหกรรม tube sugar clotted

แล้วพอปั่นใหม่ก็ Hemolysis    อีก

พวกเราชาวตามรอย tube sugar ก็เลยต้องปฏิบัติภารกิจอย่างเร่งด่วน เริ่มจากคุณผอบโทรแจ้ง OPD หลังจากนั้นคุณนุชจิเรข จึงได้เข้ามาเจรจาเล่าว่าคนเจาะเลือด "มือใหม่" ได้เขย่ากันอย่างรุนแรงมาก เพราะวันนี้คนไข้เยอะมาก ๆ ทำให้คุณนุชสงสัยว่า อาจเกิดจากคนเตรียม tube ใช้เวลาอบนานเกินไปจน NaF แห้ง แข็ง ละลายยาก แต่เมื่อ พวกเราตามไปดู ตรวจ check ขั้นตอน พบว่าไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะเราได้คุยกันแล้วถึงขั้นตอนที่ถูกต้องในการเตรียม จึงต้องตามรอยกันต่อว่าสาเหตุถัดมาน่าจะเกิดจากการ Mix Tube ไม่ถูกต้อง คุณปนัดดา ได้ออกไปสังเกตการณ์ พบว่า"มือเก่า" ทั้งหลาย mix ได้ถูกต้องไม่มีปัญหา แต่"มือใหม่" ใช้วิธี mixด้วยการเคาะ ๆ สะบัด ๆ ไม่ได้คว่ำ tube ไปมาซ้ำหลาย ๆครั้ง ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ถึงแม้จะเขย่ากันอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ดังนั้น เราชาวตามรอย จึงขอเสนอภาพสาธิต ขั้นตอนการ mix ที่ถูกต้อง ดังภาพ

ซึ่งต้องเริ่มจากการกดฝาจุกเอาไว้ด้วยนิ้วชี้ ดังภาพที่ 1 แล้วเอียง tube ขึ้นลงตามลำดับดังภาพ 2 -3 ครั้ง เท่านี้  NaF ก็จะละลายเข้ากับเลือดได้ดี หลังจากปั่นแล้วก็จะทำให้ได้ Plasma ที่มีคุณภาพ ไม่ Clot ไม่มี Hemolysis

พวกเราคิดกันว่าจะทำแผ่นภาพขั้นตอนในการ Mix tube NaF ไปติดไว้ที่ OPD เจาะเลือด เพื่อให้มือใหม่ ทุกท่านได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง พวกเราจะได้ไม่ต้องมาตามรอยซ้ำในมหกรรมเช่นนี้อีก และจะมุ่งพัฒนางานอื่น ๆ ต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ.....

รายงานสด ๆ เขียนร้อน ๆ จากหน่วย Chem โดย....ประจิม อัจนากิตติ   

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 24337เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2006 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ห้องเจาะเลือดเอง น่าจะบันทึกเรื่องนี้ไว้ เป็นบทเรียนหนึ่งที่เป็นข้อพึงระวัง สำหรับบอกแก่ผู้เจาะเลือดคนใหม่ทุกครั้ง รวมทั้งข้อปฏิบัติที่พึงระวังอื่นๆ สำหรับมือใหม่

ไม่ทราบว่า ห้องเจาะเลือดมีวิธีการฝึกฝนผู้เจาะเลือดที่เข้ามาใหม่อย่างไร คงให้พี่เม่ย ผู้ตรวจการคุณภาพ (ตำแหน่งใหม่อีกแล้ว) ลงไปช่วยดู รวมทั้งทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องคงต้องเตรียมบอกเล่าความก้าวหน้าของการดำเนินการให้หน่วยอื่นๆ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คงเริ่มประมาณปลายเดือนนี้

ชื่นชมคุณประจิมมากเลยค่ะ สำหรับความคิด และการเขียนบันทึก

ต้องขอแอบเล่าเบื้องหลังอย่างชื่นชม พี่ประจิม ในฐานะหัวหน้าโครงการ OTOP2 เรื่องการติดตาม Tube sugar ที่ประสานงาน ดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่องกับสมาชิกในทีมซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งจาก OPD เจาะเลือด, center lab, ห้องเตรียม tube และชาวห้อง Chem ทำให้การติดตามในวันนี้ค่อนข้างเป็นระบบ เพราะทีมงานรับทราบปัญหาและกำลังติดตามการแก้ไขอยู่แล้วอย่างต่อเนื่องค่ะ

เชื่อว่าพี่ประจิม จะเป็นแรงบันดาลใจที่ดีกับพี่ๆน้องๆคนหน้างานทั้งหลายในการคิดพัฒนางานออกมาดังๆ แล้วทุกคนก็จะได้ร่วมด้วยช่วยกันสานต่อให้เป็นชิ้นงานอันน่าภาคภูมิใจได้ค่ะ 

งานมหาศาลแบบนี้    แต่ดูเหมือนคนที่มาเล่าเรื่องและคนอื่นๆในห้องเคมีคลีนิคจะ  enjoy  กับการทำงานมาก   มีเคล็ดลับอะไรดีๆ  หรือเปล่าคะ

ขอขอบคุณอาจารย์ปารมีที่เป็นกำลังใจให้ประจิม คิดว่าต่อไปนี้งานที่กำลังทำอยู่ก็จะไปได้ดีขึ้น จากคำชื่นชมที่ได้รับ จะได้ชวนเพื่อนๆให้มาร่วมพัฒนางานกันให้คึกคักต่อไป
  • เข้ามาอ่านอย่างชื่นชม..อมยิ้ม..และปลาบปลื้ม...
  • ขอเสนอให้เพิ่มภาพที่ 8 ใส่ข้อความเด่นๆว่า "ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง" (สงสัย? 2-3 ครั้งจะเพียงพอหรือคะ ขนาดสารกันเลือดแข็งประเภท "น้ำ" เช่นหลอดเลือด coag ก็ยังต้องทำถึง 5-10 ครั้ง)
  • ภาพขั้นตอนการ mix เลือดอย่างถูกวิธี น่าจะนำไปบรรจุไว้ใน คู่มือ สสต.ของภาควิชาด้วย เพราะสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกสารกันเลือดแข็ง ที่ไม่ต้องการให้เกิดการ hemolysis
  • รบกวนเจ้าของบล็อกถามท่าน CKO ให้หน่อยค่ะ ว่าตำแหน่ง "ผู้ตรวจการคุณภาพ!" เนี่ย..ได้มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งคะ คะแนนเสียงเกิน 20% หรือเปล่าคะ เขาลงคะแนนกันเมื่อไหร่เนี่ย ไม่เห็นรู้เรื่องเล้ย!!!
หลุดไปอีกประเด็นค่ะ น่าจะส่งไปตามหอผู้ป่วยด้วย? ไหมคะ

เมื่อวานวันที่ 20 เมย. ห้องเคมีรับงานแบบเนื้อ ๆ ครับ 946 รายสนุกกับงานกันทั่วหน้า แต่เรื่อง sugar clot ไม่ยักกะมี เพราะอะไรเนี๊ย .....  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท