บทความเทคโนโลยีสมัยใหม่และรูปแบบการจัดความรู้ในสถานศึกษา


ส่งงาน อาจารย์ ดร.ประกอบ

นายเอกรงค์    ก้าวสมบูรณ์   รหัสประจำตัว  065

ป.บัณฑิต  สาขาการบริหารการศึกษา

        ตอบข้อที่ 1   (ปรับปรุงเป็นบทความ) 

                   ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและไร้ขีดจำกัด  เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและทวีความสำคัญมากขึ้น  การศึกษาจึงมิใช่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนหรือในโรงเรียน แต่การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มนุษย์ทุกคนมีโอกาสได้เรียนรู้ทุกเรื่อง   เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ได้เช่น การที่นักเรียนเรียนรู้ได้ช้า สามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียน สื่อ ซีดีรอม เพื่อตามให้ทันเพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติ สามารถเพิ่มศักยภาพในการ "เรียนรู้ด้วยตัวเอง" ได้มากขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

                 นอกจากนี้ผลจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยลดความเลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของผู้เรียนให้มีความเท่าเทียมกันทางสังคม  เช่น ระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ที่ทำให้โรงเรียนห่างไกลในชนบทได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้เท่าเทียมกับชุมชนเมืองนั่นเอง

                 ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านการเรียนการสอน  โดยการจัดการศึกษาทางไกล  เพื่อให้บริการการศึกษาทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และผู้อยู่ห่างไกล รวมถึงการใช้สื่ออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีการพัฒนาการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง  โดยรูปแบบการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา เช่น การเรียนแบบ e-Learnning, คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI), การเรียนออนไลน์(Online Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมการเรียนจากวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย เป็นต้น   และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยยกระดับการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคนด้วย

                                                ที่มา : http://gotoknow.org/blog/aonaon/

               

 

 

 

 

       ตอบข้อที่ 2   (ปรับปรุงเป็นบทความ) 

 

การเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์  เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิและความเสมอภาคในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา  ตระหนักถึงความสำคัญ  ความจำเป็นของการเรียนรู้ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ  การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติวิสัยในชีวิตประจำวันของคนทุกคน  ไปจนตลอดการสิ้นอายุขัย  เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ในทุกเวลา  ทุกสถานที่  ของคนทุกคนในทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในสถานศึกษาก็เช่นเดียวกัน  การที่จะสร้างสมรรถนะคนในสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้นั้น  ผู้บริหารจำเป็นต้อง ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้  เทคโนโลยีและสารสนเทศ  วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ  สร้างแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้   รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้บุคคลในสถานศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง เป้าหมายปลายทางของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง คือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และครูจะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการชี้แนะ กระตุ้น ผลักดัน อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ คือ

                  1. Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ หรือปฏิบัติด้วยตนเอง ด้วยความ กระตือรือร้น เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ ได้ใช้ ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ผู้สอนทำหน้าที่ เตรียมการจัด บรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน            

                  2. Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิด จากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man) ที่พึงประสงค์            

                   3. Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลายทั้งบุคคลและ เครื่องมือทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่ เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน ครอบครัว องค์กรต่าง ๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า "การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)"            

                  4. Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น (ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2543 : 55-59) การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะ ต่าง ๆ จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิด เห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน            

                  5. Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจสาระการเรียนรู้ ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษาท้าทาย ให้แสดง ความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน            

                 6. Participation เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดงาน วางเป้าหมายร่วมกัน และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง            

                7. Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล ผู้สอนยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

                8. Good Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย ความเสียสละ ฯลฯ และ ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น

 

ข้อมูลอ้างอิง

บทความเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย ผศ.อาภรณ์ ใจเที่ยง วารสารครุสาร คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2544

ที่มา : http://learners.in.th/blog/romeod379/84214

 

 

หมายเลขบันทึก: 243326เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท