ประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรก กับที่ทำงานใหม่ จะมีอะไรใหม่??


ถ้ามีคนคิดให้?? จะคิดเองไปทำไม?? ระบบส่งเสริมฯจะเป็นต้นแบบของกรมฯหรือจะยึดกรมฯเป็นต้นแบบ??

DW หรือประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1/2552 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง จัดที่ร้านอาหารโพธิ์เรียง อำเภอปากพะยูน เป็นอำเภอที่ไกลจากตัวจังหวัดที่สุด สำนักงานเกษตรอำเภอตั้งอยู่บน (ภู) เขา มองลงไปเห็นทะเลสาบสงขลา (ในเขตพัทลุง) แต่ไม่มีภาพมาให้ชม เพราะไม่มีกล้องถ่ายรูป เดี๋ยววันหลังจะนำมาให้ชม

ในภาคเช้าของการประชุมมีการแจ้งข้อราชการตามระเบียบ และบรรยายความรู้เรื่อง RBM (result based management) ซึ่งก็หมายถึงการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่พัทลุงได้ยึดเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการ และการบรรยายสรุปแนวทางการทำงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร โดยยึดศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล เป็นกลไกในการทำงาน

เนื่องจากอากาศร้อนและไมโครโฟนไม่ดี ทำให้ผู้ที่นั่งอยู่ด้านหลังห้อง ฟังเนื้อหาข้อความไม่เข้าหู อิอิ  จริงๆ ฟังไม่รู้เรื่องเพราะได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง อันนี้ต้องโทษไมโครโฟน

ตอนบ่ายมีการแบ่งกลุ่มเพื่ออภิปรายและระดมความคิด เรื่อง การพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ของจังหวัดพัทลุง

โดยมีขั้นตอน ที่ผู้จัดเขียนไว้ ดังนี้

1. สร้างความคาดหวัง ความอยากเห็นสภาพองค์กรในอนาคต

2. จัดลำดับความสำคัญ 5 ข้อ

3. จัดทำแนวทางทำความหวังให้เป็นจริง (วิธีการ ใครเกี่ยวข้อง??)

3. ผู้วิจารณ์ (commentator) ซึ่งต้องทำหน้าที่เติมเต็มให้กับกลุ่มต่างๆ

แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรอำเภอ กลุ่มเกษตรตำบล อ.เขาชัยสน ควนขนุน ปากพะยูน บางแก้ว ป่าพะยอม กลุ่มเกษตรตำบล อ.เมือง กงหรา ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ ตะโหมด ป่าบอน และกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานองค์กรและวิสาหกิจชุมชน

ผลการระดมความคิดของกลุ่มเกษตรอำเภอ ลอกมาให้ทัศนากัน ดังนี้

1.องค์กรมีความเป็นเอกภาพ ไม่ต้องทำ MOU

วิธีการ 1.กำหนดกรอบภารกิจที่ชัดเจน ทุกระดับในกรมฯ

            2.กำหนดตัวชี้วัดตามภารกิจหลักในกรอบที่กำหนด

2.ความชัดเจนของข้อมูลทุกระดับและมีระบบ IT ที่ดี

วิธีการ 1. ให้มีการบูรณาการในการจัดทำระบบข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สน.เศรษฐกิจเกษตร สน.พัฒนาที่ดิน อปท. เป็นต้น

            2. มีระบบ IT เป็นคลังข้อมูลที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูได้

            3. ให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบข้อมูลโดยตรงทุกระดับ

            4. วางแผนและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในทุกต้นปีงบประมาณ

            5. ผู้เกี่ยวข้องสนับสนุนงบประมาณ ในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล

3. เจ้าหน้าที่ในองค์กรเป็นที่พึ่งของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง

วิธีการ  1. พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง ทุกระดับ

            2. สนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ให้พร้อมและทันสมัย เช่น เครื่องวัด pH ดิน เป็นต้น

            3. เจ้าหน้าที่มีความชำนาญการอย่างน้อย 1 เรื่อง

            4. องค์กรมีการบริการอย่างเป็นระบบ

4. มีเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่มีขวัญและกำลังใจพร้อมสวัสดิการที่ดี

วิธีการ 1.ยึดสมรรถนะและผลสัมฤทธิ์ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการการพัฒนาคนเป็นระบบ

            2. กำหนดปริมาณงานให้เหมาะสมกับบุคคล ไม่มากเกินไป

5.องค์กรต้องมีระเบียบในการปฏิบัติ

วิธีการ  1. ปฏิบัติตามระเบียบทุกระดับ

            2.มีการอบรมทบทวนระเบียบให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และให้ใส่ไว้ในวาระการประชุม

กลุ่มที่ 2 เกษตรตำบล (ชื่อนี้เท่มาก) อำเภอเขาชัยสน ควนขนุน ปากพะยูน ป่าพะยอม และบางแก้ว นำเสนอบทสรุปว่า

1.ทำงานตามระบบส่งเสริมของกรมส่งเสริมการเกษตรอย่างเดียว ???

วิธีการ ใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรของกรมฯเป็นแนวทางการทำงาน แทนการคิดเอง

2.ทำงานจากล่างขึ้นบน (bottom up) ยึดแผนชุมชน อปท. ศบกต. และเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่

3.เจ้าหน้าที่ทำงานเฉพาะด้าน

วิธีการ อบรมเข้มเฉพาะด้านให้กับเจ้าหน้าที่ 2เดือน/ครั้งๆละ 5 วัน เพื่อให้รู้ลึกทุกขั้นตอน

4.เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ถ่ายทอด (ความรู้ด้านเกษตร) อย่างเดียว

5.งบประมาณทันเวลา วางแผนใช้งบประมาณตามฤดูกาล

กลุ่มที่ 3 เกษตรตำบล อำเภอเมือง ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ กงหรา ตะโหมด และควนขนุน

---ไม่นำเสนอ--- ผลสรุปเหมือนกลุ่ม 2

กลุ่มที่ 4 เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานองค์กรและวิสาหกิจชุมชนหวังไว้ว่า

1.เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร ไม่ต้องรับผิดชอบตำบล

2.อำเภอกำหนดผู้รับผิดชอบล้อกับงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด โดย กระจายงานตามความถนัด

3.ทำงานแบบบูรณาการ โดยให้ระดับจังหวัดบูรณาการงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนสั่งการลงอำเภอ

4. มีค่าสวัสดิการให้กับกลุ่มต่างๆระดับจังหวัดและอำเภอเมื่อมีการประชุม

5.ใช้ระบบส่งเสริมการเกษตรของกรมฯในการทำงาน

ลอกมาแบบไม่วิพากษ์ และวิจารณ์ (comment)

ก่อนจบเกษตรอำเภอปากพะยูน ผู้เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ฝากบทกลอนสอนใจไว้ว่า....

                        คนจนอย่าเชื่อ

                        คนเบื่ออย่าใช้

                        คนหน่ายอย่ารัก

                        คนทักอย่าโกรธ

หมายเลขบันทึก: 243055เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2009 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ความคาดหวังและแนวทางที่นำเสนอ หากแบ่งตามประเด็นที่จะนำไปวางแผนการพัฒนาแยกเป็น 3 ประเภท คือ ดำเนินการอยู่แล้วแต่ไม่ได้เขียนไว้ในระบบ เลยคิดว่ายังไม่ดำเนินการ ต่อไปคือ อยู่นอกเหนือการดำเนินการในระดับจังหวัด อำเภอ ต้องวางแผนในระดับกรมขึ้นไป และสุดท้ายดำเนินการกันเองได้ แต่ไม่ค่อยแสดงกัน

  • โห่ ! น่าไปจัง...บรรยากาศโรแมนติกจัง
  • อยากให้ที่ยะลา...จัดประชุม DW แบบนั้นบ้างจัง ที่นี่จัดไปแล้ว  แต่จัดในตัวเมือง เหมือนที่เคย ๆ จัดนั่นล่ะ...
  • อาจจะเป็นเพราะอยู่ในสถานการณ์ความไม่สงบมั่งเนอะ...จัดในที่แบบนั้นไม่สะดวก...เด่วเข้าทางโจร 555

ทำงานกรมส่งเสริมมาตลอดเมื่อมีการเสนอความคาดหวัง ความต้องการที่จะพัมนางาน หรือสิ่งที่อยากได้ ทุกคนก็มองเหมือน ๆ กัน คือมุ่งไปที่กรม จังหวัด แต่ในการทำงานในขณะนี้ก็ต้องยอมรับว่า กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นหน่วยงานที่ยังคงมีศักยภาพในการทำงานในพื้นที่ ด้วยความพร้อมทั้งบุคลากรที่ทำงานครอบคลุมทุกพื้นที่ ใกล้ชิดกับเกษตรกร (แต่อาจจะไม่เหมือนสมัยก่อน) แต่เราก็ภูมิใจในกรมส่งเสริมการเกษตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท