พหุนาม


พหุนาม

พหุนาม

องค์ประกอบของพหุนาม

ตัวแปร   หมายถึง  ค่าที่ไม่คงที่แน่นอนเปลี่ยนแปลงได้  นิยมใช้ตัวอักษรในภาษาอังกฤษแทนข้อความหรือจำนวนต่างๆ

ค่าคงตัว   หมายถึง  ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใดๆที่แทนจำนวนใดจำนวนหนึ่ง

พจน์  หมายถึงจำนวนๆหนึ่งหรือผลคูณของจำนวนหลายๆจำนวน  แต่ละจำนวนที่คูณกันเป็นตัวประกอบตัวหนึ่งของพจน์นั้น

นิพจน์  หมายถึง  จำนวนๆหนึ่งซึ่งประกอบด้วยพจน์ตั้งแต่  2  พจน์ขึ้นไป  ถูกเชื่อมด้วยเครื่องหมาย  +  หรือ  - 

สัมประสิทธิ์  หมายถึง  ตัวที่คูณข้างหน้าตัวแปร  เช่น

4x  เรียก 4 ว่าเป็นสัมประสิทธิ์ของ  x

3x2  เรียก  3  ว่าเป็นสัมประสิทธิ์ของ  x2

7xy2z3  เรียก  7  ว่าเป็นสัมประสิทธิ์ของ  xy2 z3

                                                                            เอกนาม

เอกนาม     หมายถึง   จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่    1  ตัวขึ้นไปโดยที่เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก

ดีกรีของเอกนาม  คือ  ผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวแปรทั้งหมดในเอกนามหนึ่งๆเช่น

        2xy  เป็นเอกนามที่มีดีกรีเป็น  2  เพราะ  x  มีกำลังเป็น  1  และ  y  มีกำลังเป็น  1

ดังนั้น  ดีกรีของเอกนาม  =1+1=  2

ข้อสังเกต   ตัวเลขหรือค่าคงตัวที่ไม่ใช่ศูนย์เป็นเอกนามดีกรี  0  เช่น  8  อาจเขียนเป็น  8x0

หรือ  8x0y0  ก็ได้ส่วนตัวเลข  0  เป็นเอกนามที่ไม่สามารถบอกดีกรีได้แน่นอน  เพราะ  0.xn

ไม่ว่า  n   เป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวกใดๆ  ดังนั้นเราจะไม่กล่าวถึงดีกรีของเอกนาม  0 

การบวกและการลบเอกนามที่คล้ายกัน

เอกนาม  2เอกนามจะคล้ายกันก็ต่อเมื่อ

        1. เอกนามทั้งสองเป็นตัวแปรชุดเดียวกัน

        2. เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวในเอกนามทั้งสองเท่ากัน

ข้อควรจำ

         เอกนาม  2  เอกนามขึ้นไป  จะบวกหรือลบกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นเอกนามที่คล้ายกันเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 242813เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เนื้อหาดีมาก ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณค่ะ เนื้อหาทำดี อยากรู้ว่า 0 เป็นเอกนามเพราะเหตุใดอ่ะค่ะ ตอบทีนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท