ผ้าฝ้ายดอนหลวง


ผ้าฝ้ายดอนหลวง

ผ้าฝ้ายดอนหลวง




   การทอผ้าพื้นเมือง ถือได้ว่าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดกันมานาน ซึ่งผ้าทอแต่ละประเภท แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความสวยงามแตกต่างกัน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นด้านกรรมวิธีการผลิต การใช้ลวดลาย ตลอดจนสีสันบนผืนผ้าที่สะท้อนออกมาตามความเชื่อ ขนบธรรมเนียม และค่านิยมแต่ละสังคมตามอิทธิพลที่ได้รับจากบรรพบุรุษ โดยเฉพาะผ้าฝ้ายทอมือของชุมชนชาวยองบ้านดอนหลวง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งได้รับการยอมรับในความมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ครับ

บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เป็นชุมชนชาวยองที่สืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่ง ในเขตสิบสองปันนาของจีนตอนใต้ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดลำพูนไม่น้อยกว่า 200 ปี ชาวยองบ้านดอนหลวงส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย พอเพียง พึ่งพาตนเอง มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน หากแต่ยังคงยึดมั่น รักษาวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้อย่างเหนียวแน่น

      ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ชุมชนชาวยองที่บ้านดอนหลวงได้สร้างสรรค์งานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไว้มากมาย การทอผ้าฝ้าย เป็นอีกหนึ่งวิถีชีวิตของการสืบสานภูมิปัญญาจากปู่ ย่า ตา ยาย มรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทำให้บ้านดอนหลวง ต.แม่แรง กลายเป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายทอมือที่ขึ้นชื่อ และถือเป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

เสียง อุไร ผ้าเจริญ / ประธานกลุ่มทอผ้าฝ้ายดอนหลวง (พูดถึงการทอผ้าในอดีต)

     การทอผ้าฝ้าย คนเมืองยอง เรียกว่า “การตำหูก” เป็นวิถีที่บรรพบุรุษมุ่งหวังให้มีการถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานเพื่อสืบสานงานหัตถกรรมให้คงอยู่ ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เด็กผู้หญิงชาวยองที่บ้านดอนหลวงในสมัยก่อน จะทอผ้าฝ้ายได้แทบทุกคน หากแต่เป็นลวดลายพื้นๆ ที่เรียกว่า ลายทอ 2 ตะกอ และได้รับการพัฒนาฝีมือหลากหลายรูปแบบจนเป็นที่ยอมรับของผู้คนในเวลาต่อมา

      การทอผ้าในสมัยก่อนชาวบ้านจะใช้เวลาว่างหลังทำไร่ทำนา เพื่อใช้ในครัวเรือน โดยแต่ละหลังคาเรือนก็จะปลูกฝ้ายเอง แล้วนำมาผ่านกระบวนการปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมสีด้วยวัสดุธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิต และยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง จากนั้นจึงนำมาขึ้นกี่ ที่มีอยู่ใต้ถุนบ้านแทบทุกหลังคาเรือน เพื่อถักทอเป็นผืนผ้าตามขนาด และลวดลายที่กำหนด

เสียง อุไร ผ้าเจริญ / ประธานกลุ่มทอผ้าฝ้ายดอนหลวง (พูดถึงการทอผ้าในอดีต)


    

 

ความโดดเด่นของผ้าทอบ้านดอนหลวง อยู่ที่การทอมือแบบโบราณ เน้นลาย 4 และ 6 ตะกอ เนื้อผ้านุ่มและเหนียว อีกทั้ง ชาวบ้านได้พัฒนารูปแบบให้หลากหลาย ตามความต้องการของตลาด ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ กระเป๋า ปลอกหมอน ผ้าคลุมเตียง ฯลฯ

      ด้วยเพราะฝีมือการทอผ้าฝ้ายของชาวดอนหลวงมีคุณภาพดี ราคาเหมาะสม จึงได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นแกนนำหลักเครือข่ายกลุ่มทอผ้าของจังหวัดลำพูน โดยช่องทางตลาด ชาวบ้านในแต่ละครัวเรือนจะเปิดขายปลีกหน้าบ้านตัวเอง ขายส่งโดยผ่านพ่อค้าคนกลางที่จะเข้ามารับซื้อในหมู่บ้าน รายได้ชาวบ้านจะแตกต่างกันไป ตามสัดส่วนการผลิต และความสามารถในการจำหน่าย
แต่กระนั้น ปัญหาการตลาดที่จำกัดอยู่ในวงแคบ รวมทั้งการพัฒนารูปแบบตามกระแสนิยม จนลืมเอกลักษณ์ดั้งเดิม ทำให้ผ้าฝ้ายบ้านดอนหลวงขาดความโดดเด่น และประสบปัญหา

 

 

 

 

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก  http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=152
หมายเลขบันทึก: 242497เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2009 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เซียะ เซียะ หนี ปุ้ย เสี่ยว เจ

ผ้าฝ้าย = เหมียน ฮวา ปู้ ซื่อ มา ?

. Lin Hui

เมื่อ จ. 16 ก.พ. 2552 @ 11:56

เจ้า..

จาวยองในต.เวียงยอง ก่มีก๋านตอผ้าตี้งามเหมือนกั๋น ลองไปแอ่วผ่อได้เน้อเจ้า

3. คนเมืองเหนือ

เมื่อ จ. 16 ก.พ. 2552 @ 13:50

เจ้า..ว่างๆๆ ปุ้ยจะไปแอ่วแต่ตอนนี้ขอเรียนก่อนเน้อเจ้า...

5. KRUPOM

เมื่อ อ. 17 ก.พ. 2552 @ 08:55

ดีค่ะ..ครูปอม

  • สวัสดีจ๊ะหนูปุ้ย
  • พึ่งได้อ่านรายละเอียดผ้าฝ้ายดอนหลวงวันนี้
  • มีความโดดเด่นในตัวจริง  จริง

ดูแลตัวเองด้วยน๊า

小柔,ผ้าฝ้าย是棉花吗? 呵呵,看图片,他们在用棉花织布,然后用来做衣服,对吧。呵呵~~

มาแอ่วเมืองเหนืออค่า ^ ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท