ประเพณีบูชาเสาอินทขิล


ประเพณีบูชาเสาอินทขิล

ประเพณีบูชาเสาอินทขิล

 

          นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมืองหลวงของล้านนาที่มีอายุกว่า 700 ปี ซึ่งมีอดีตที่ยาวนาน ผ่านยุครุ่งเรือง   และเคยเสื่อมโทรมทิ้งร้างมาหลายต่อหลายครั้ง  แต่มีอย่างหนึ่งที่ชนรุ่นหลังสืบทอดต่อกันมา    เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม    แม้แตกต่างกันไปตามความเชื่อ    ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา    และการดำรงชีวิตที่ประสานกับฤดูกาลธรรมชาติ และวิถีชีวิตของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น

          ทุกปีเมื่อล่วงเข้าสู่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน    เชียงใหม่จะมีการจัดงาน
 "ประเพณีใส่ขันดอกอินทขิล" หรือ "ประเพณีเดือนแปดเข้า เดือนเก้าออก" โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่วัดเจดีย์หลวงวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นวัดสำคัญเก่าแก่วัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ 
          วัดเจดีย์หลวง เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังรายซึ่งครองราชอาณาจักรล้านนาไทย พระองค์ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 1934 หรือเมื่อประมาณ 612 ปีมาแล้ว  ด้านหน้าของพระวิหารหลวงเป็นที่ตั้งของ เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง ซึ่งแต่เดิมเสานี้อยู่ที่วัดสะดือเมือง   ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ พระองค์โปรดให้ย้ายเสาอินทขิลมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวงและได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่พร้อมทั้งสร้างวิหารครอบไว้เมื่อปี พุทธศักราช 2343
ต่อมาวิหารอินทขิลได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พอถึงปี พุทธศักราช 2496 ครูบาขาวปี นักบุญแห่งล้านนาไทยอีกท่านหนึ่ง  จึงได้สร้างวิหารอินทขิลขึ้นใหม่ในปัจจุบันและท่านยังนำเอาพระพุทธรูปปางขอฝนหรือ พระคันธารราษฏร์ประดิษฐานไว้บนเสาอินทขิลอีกด้วยเพื่อให้ชาวเมืองได้กราบไหว้บูชา   พระครูโสภณกวีวัฒน์  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรมหาวิหาร  ได้กล่าวถึงความเชื่อของการบูชาเสาอินทขิลไว้อย่างน่าฟังว่า..............

          เสาอินทขิลจึงถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมืองและบรรพบุรุษในอดีต เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ พิธีสักการะบูชาเสาอินทขิลจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี การทำพิธีดังกล่าวจะทำในปลายเดือนแปดเหนือข้างแรมแก่  ในวันเริ่มทำพิธีนั้น  พวกชาวบ้านชาวเมืองทั้งผู้เฒ่าผู้แก่  หนุ่มสาวจะพากันนำเอาดอกไม้ธูปเทียน    น้ำขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือภาชนะไปทำการสระสรงสักการะ   การทำพิธีดังกล่าวนี้มักจะเริ่มในวันแรม 13 ค่ำเดือน 8 เหนือ ไปแล้วเสร็จเอาในวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 9 เหนือ  เป็นประจำทุกปี  จึงเรียกประเพณีใส่ขันดอกอินทขิลว่า "ประเพณีเดือนแปดเข้า เดือนเก้าออก"  อ.เสถียร  นันทะวงศ์  ประธานชมรมรักษ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และ กรรมการบริหารวัดเจดีย์หลวงวรมหาวิหาร  ได้กล่าวถึงกิจกรรมงานประเพณีใส่ขันดอกว่า........

 

          ปัจจุบันเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ดำเนินการสืบทอดประเพณีอินทขิล โดยมีพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาผสมผสาน   ในวันแรกของการเข้าอินทขิล   มีการแห่พระเจ้าฝนแสนห่า จากวัดช่างแต้ม  แห่รอบตัวเมือง เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำและใส่ขันดอก ส่วนภายในวิหารอินทขิล พระสงฆ์ 9 รูป  จะทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์บูชาเสาอินทขิล   ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินภายใต้บุษบกที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป เมื่อเสร็จพิธีจะมีมหรสพสมโภชตลอดงาน
การบูชาอินทขิลของชาวเมืองเชียงใหม่นั้น ได้ประพฤติปฏิบัติกันมาอย่างเป็นระบบระเบียบเรียบร้อยทุกปี   ในส่วนของวัตถุสิ่งของที่นำมาบูชาก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของความสูงค่าที่เกิดจากแรงศรัทธาคารวะของชาวเชียงใหม่

          แสดงให้เห็นว่า  เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองนั้นเป็นเหมือนหลักชัยแห่งเมือง  การสร้างหลักเมืองขึ้นมาก็เพื่อให้เป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในบ้านเมือง ให้เกิดพลังคือความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพลเมือง ภายใต้กรอบศีลธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=320

หมายเลขบันทึก: 242496เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2009 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ ที่นำเสนอประเพณีที่งดงาม ของ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ทำให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางเพิ่มมากขึ้นค่ะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ

1. Lin Hui

เมื่อ จ. 16 ก.พ. 2552 @ 12:01

ค่ะ..งแวะมารับความรู้บ่อยๆๆๆ นะค่ะ...Lin Hui เหล่าซือ

小柔,泰国老师带我出去玩,经常在节日的时候去寺庙,他们烧香拜佛,我也拜,呵呵~~

3. davidhoo

เมื่อ พ. 18 ก.พ. 2552 @ 19:22

哦~~呵呵~~

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท