แนวคิดพื้นฐานในการให้บริการวิชาการภายนอกสถาบัน


ข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในการให้บริการวิชาการภายนอกสถาบัน

ในการประชุมคณะกรรมการบริหารของสถาบันฯ มีประเด็นที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาประเด็นหนึ่งที่สำคัญก็คือ การให้บริการวิชาการภายนอกของสถาบันของบุคลากรของสถาบัน ซึ่งมีข้อบังคับมหาวิทยาลัย ที่กำหนดระยะเวลาในการให้บริการวิชาการภายนอกสถาบัน ระหว่างร้อยละ ๒๐ ถึง ร้อยละ ๘๐

ในที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนแนวทางในการวางกฎเกณฑ์ โดยเฉพาะในกลุ่มของอาจารย์ประจำสถาบัน โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ ระยะเวลาในการออกไปให้บริการ ซึ่งในที่ประชุมพยายามที่จะวางหลักเกณฑ์ในการให้บริการวิชาการ อย่างไรไม่ให้เป็นการออกไปใหบริการวิชาการในรูปของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานภายนอกอย่างไม่สมเหตุสมผล หรือ มากไป จะไม่สามารถรับผิดชอบงานภายในสถาบันฯได้

โดยที่ตัวเองมีงานให้บริการวิชาการภายนอกสถาบันค่อนข้างมาก ทั้งในรูปของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน (เช่น คณะกรรมการสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์แห่งชาติ , อนุกรรมการบูรณาการนโยบายด้านสื่อ สนร, อนุกรรมการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ สนร, อนุกรรมการป้องกันและปราบปรามปัญหาสื่อลามกที่มีผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน สตรี สนช, คณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมาย นโยบาย สื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ วธ.  คณะทำงานพัฒนากองทุนสื่อสร้างสรรค์ วธ , เป็นต้น

ดูเหมือนว่า เป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือ คณะทำงาน จะมีความหลากหลาย มีปริมาณมาก

ในการเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ทั้งหมดข้างต้น ตัวผมเองมีแนวคิดพื้นฐานในการเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน อยู่ ๓ ข้อ

ข้อแรก ผมเอาเด็ก เยาวชน ครอบครัว ในฐานะกลุ่มเป้าหมายเป็น “ตัวตั้ง” ที่สำคัญก็คือ ตัวตั้งที่เป็นผู้รับประโยชน์ที่ “แท้จริง” นั้น เป็นเด็ก เยาวชน ครอบครัว ไม่ใช่การไปสร้างผลงานให้กับองค์กรทุน  หรือ องค์กรที่แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการ อนุกรรมการ หรือคณะทำงาน

ข้อที่สอง คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน นั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่เราทำในฐานะ “เจ้าของ” “องค์ความรู้” เพื่อนำ “องค์ความรู้” ที่ได้พัฒนา ผลักดัน ไปสู่การปฎิรูปการจัดการ กฎหมาย นโยบาย

ข้อที่สาม  การทำงานทั้งหมดเหล่านั้นในฐานะคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ นโญบาย พันธกิจของทั้ง มหาวิทยาลัย สถาบันฯหรือไม่

จึงเชื่อมั่นว่า คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานเหล่านั้น วางอยู่บนกรอบแนวคิดพื้นฐานทั้งสามข้ออย่างชัดเจน

ส่วนในประเด็นที่ว่า ใช้เวลาแค่ไหนในการทำงานภายใต้คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ? ก็มีกรอบ เกณฑ์ในการคิด พิจารณา อยู่ สามข้อ เช่นกัน

ข้อแรก หน้าที่ของคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน นั้น เป็นภารกิจภายใต้นโยบายในระดับไหน ? นโยบายแห่งชาติ หรือ นโยบายระดับองค์กร หากเป็นนโยบายในระดับชาติ ก็เป็นอันสมเหตุสมผลที่อาจจะต้องใช้เวลามากในการทำงาน  ในกรณีของงานด้านสื่อเอง ในปีนี้ รัฐบาลได้ประกาศวาระเด็กและเยาวชนใน ๔ ข้อ (กองทุนสื่อสร้างสรรค์ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ กลไกด้านกรรมการที่ทำงานเรื่องเด็ก และ การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ซึ่งขณะนี้ สถาบันฯเข้าไปร่วมกับภาคีเครือข่าย สสส ในการผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์ หรือ แม้แต่ การเข้าไปผลักดันร้านเกมคาเฟ่ปลอดภัยสร้างสรรค์ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ของชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น

ข้อต่อมา  ภารกิจที่ต้องทำนั้น มีความยากง่ายเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของกองทุน เนื่องจากมีอุปสรรคด้านกฎหมาย นโยบายเกี่ยวกับเงิน งบประมาณ เงินคงคลัง ต้องอาศัยกระบวนการทำงานทั้งความรู้ การเชื่อมโยงการผลักดัน ประชาสังคม

ข้อสุดท้าย ผลของการทำงานเกิดผลกระทบในวงกว้างมากน้อยเพียงใด (Impact Factor) หากผลกระทบที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัวในวงกว้าง ย่อมต้องอาศัยกระบวนการในการทำงานมากกว่า การเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ ในเรื่องของสื่อปลอดภัยสร้างสร้างสรรค์ การจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ กองทุนสื่อสร้างสรรค์ การผลักดันกระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อ ส่งผลกระทบต่อเด็ก เยาวชนในระดับประเทศที่เป็นมหภาค

คิดว่า กรอบแนวคิดพื้นฐานที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นหาเกณฑ์มาตรฐานในการวางกรอบการให้บริการวิชาการภายนอกต่อไป

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 241281เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2009 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท