ซอพื้นเมือง


ซอพื้นเมือง อดีตที่กำลังจะลบเลือน

ซอพื้นเมือง อดีตที่กำลังจะลบเลือน


          ศิลปะการแสดงพื้นเมืองของชาวล้านนานั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งการแสดงฟ้อนรำที่ต้องอาศัยความงดงามอ่อนช้อยของร่างกาย รวมไปถึงการเล่นดนตรีพื้นเมืองที่มีความนุ่มนวลไพเราะ แต่มีการแสดงพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่ผู้แสดงจะต้องอาศัยไหวพริบ ปฏิภาณพูดจาโต้ตอบกันในลักษณะคล้องจอง การแสดงดังกล่าวก็คือ ซอพื้นเมือง ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่นิยมในหมู่คนเมืองอย่างแพร่หลายในอดีต

จุดกำเนิดของซอมีความเป็นมาอย่างไรนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดแต่ก็มีการสันนิษฐานกันว่าคงเดินทางผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานพอสมควรดังเช่นที่ มาลา คำจันทร์ นักเขียนระดับรางวัลซีไรท์ที่ในวันนี้เขาเลือกให้คำจำกัดความตัวเองว่า ครูใหญ่แห่งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ซอไม่สามารถระบุต้นกำเนิดได้ แต่ก็มีช่างซอ(ภาษาเหนือเรียกจั้งซอ)บางคนที่อ้างถึงยุคหนึ่งในเมืองน่านครั้งที่ชาวเมืองน่านอพยพกันมาจากเมืองปัว แล้วต้องล่องน้ำน่านมาโดยใช้เวลานาน ก็เลยมีการร้องบทซอล้อเลียนกันจนปรับให้เข้าที่เข้าทางก็กลายมาเป็น "ซอล่องน่าน"

   เนื่องจากการซอนั้น ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนยาวนานบวกกับพรสวรรค์และความตั้งใจจริง  คุณแม่ผ่องศรี ศิลปินล้านนาแห่งเมืองเจียงใหม่ ได้พูดถึงซอพื้นเมืองในปัจจุบัน

   แม่บุญศรี ซึ่งเริ่มหัดซอมาตั้งแต่อายุ 17 ได้ชี้ให้เห็นปัญหาของช่างซอในปัจจุบันว่า หลังจากที่เศรษฐกิจซบเซา งานแสดงซอก็ลดน้อยลงไปด้วย นานๆจึงจะมีคนมาจ้างสักครั้งหนึ่ง แต่ก็จะพยายามประคองไว้เพราะยังมีลูกน้องอีกหลายสิบคน เมื่อไม่มีงานพวกเขาเล่านั้นจะอยู่อย่างไร แต่เมื่อเทียบกับหลายปีก่อนนั้น เดือนหนึ่งแทบจะไม่มีวันหยุดเลยบางทีเดือนหนึ่งจะได้หยุด แค่วันเดียว บางครั้งงานมากจนไม่มีเวลากลับบ้านต้องตระเวนไปแสดงตามจังหวัด ต่างๆ ทั่วภาคเหนือ

       

                  ในส่วนของการซอพื้นเมืองที่นิยมในจังหวัดเชียงใหม่นั้นส่วนใหญ่จะซอทำนองเงี้ยว หรือทำนองพม่า ซึ่งจะซอในช่วงตอนเย็นเพื่อความสนุกสนาน ชาวบ้านจะเรียกการซอแบบนี้ว่า "ซอเงี้ยวเกี้ยว" นอกจากนั้นยังมีซอปั่นฝ้าย ซอมะเก่ามะกลาง ที่กำลังแพร่หลายอยู่ใเชียใหม่ด้วย

   อย่างไรก็ตามทิศทางการอนุรักษ์ซอพื้นเมืองในปัจจุบันถูกกระแสของดนตรีสมัยใหม่และละครโทรทัศน์เข้ามาบดบังจนทำให้ซอพื้นเมืองอันเป็นศิลปะทรงคุณค่าเก่าแก่ของล้านนา กำลังถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของคนในปัจจุบัน คุณค่าและความสำคัญของซอพื้นเมืองที่เคยมีมาในอดีต หากไม่ได้รับการอนุรักษ์รักษาและถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่แล้ว บางทีซอพื้นเมืองอาจจะหลงเหลืออยู่เพียงแค่ในเทปคาสเซทก็เป็นได้

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก  http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=317

หมายเลขบันทึก: 241123เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2009 01:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เงียบจัง น้องๆไปหยิบซอมาเล่นหน่อยซิ  ซออะไรก้อได้ เอาเลย เรียกคนหน่อย....

 


ลาวคำหอม-เดี่ยวซออู้ -

จริงอย่างที่แม่บุญศรีว่า "....งาน แสดงซอก็ลดน้อยลงไปด้วย นานๆจึงจะมีคนมาจ้างสักครั้งหนึ่ง แต่ก็จะพยายามประคองไว้เพราะยังมีลูกน้องอีกหลายสิบคน เมื่อไม่มีงานพวกเขาเล่านั้นจะอยู่อย่างไร.."

การอนุรักษ์วัฒนธรรมจึงสำคัญมากต่อทั้งชีวิตและสังคมเชียวนะ

1. พันคำ

เมื่อ พ. 11 ก.พ. 2552 @ 22:10

แท้งกิ้ว อ.พันคำนะค่ะ..ที่นำเพลงมาฝาก..อิอิ..บรรยากาศวังเวงมาก..เหอ ๆ ๆ

2. พันคำ

เมื่อ พ. 11 ก.พ. 2552 @ 22:14

ใช่ค่ะ..เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมด้วยช่วยกัน..อนุรักษณ์..อิอิ .. ใช่ป่าวค่ะ?

3. นายสายลม อักษรสุนทรีย์

เมื่อ พ. 11 ก.พ. 2552 @ 22:18

โอ้ว...ตามเอาเค้กมาส่งเลยหรอค่ะ..ถ้ากินตอนนี้ก็อ้วยสิค่ะ?? ฮ่าๆๆๆๆ

โอ้ววว...ลืมขอบคุณ

ขอบคุณนะค่ะ..คุณ สายลม อักษรสุนทรีย์ ที่นำเค้กมาแบ่งให้ทาน..อิอิ

"ก็อ้วยสิค่ะ"...."อ้วย" แปลว่าอะไร หรือพิมพ์ผิดแน่ๆ

ปุ้ยถ้ามีเพลงที่เล่นด้วย ซอ ที่ไพเราะกว่าอันนี้ เอามาแทนที่ได้นะ เพราะพันคำไม่ค่อยรู้เท่าไรจะได้บรรยากาศการอ่านสาระพร้อมกับซึมซาบเสียงไพเราะๆ

7. พันคำ

เมื่อ พ. 11 ก.พ. 2552 @ 22:36

ใช่ค่ะ..อ้วน อ้วน อ้วน อ้วน อ้วน อ้วน อ้วน อ้วน อ้วน อ้วน คัดแล้วค่ะ สิบจบ..

เพราะพิมผิด..ช่วงนี้พิมผิดบ่อยๆๆ หลายภาษามากเลย ..อังกฤษ ไทย จีน ญี่ปุ่น..มือจะพันกันเเล้ววว...ฮ่าๆๆๆๆ

ปุ้ยก็ไม่มีอ่ะ..ไม่เป็นไรค่ะ..ฟังเพลงของ อ.พันคำนั่นแหละ..

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทาย..ค่ะ

มาร่วมอนุรักษ์ศิลปะการแสดงพื้นเมืองของชาวล้านนาด้วยคนค่ะ

13. •.♥°.•.♥• kittyjumpเลขาnatadee.•.♥.•°♥

เมื่อ พ. 11 ก.พ. 2552 @ 23:13

ค่ะ..ขอบคุณค่ะ..ที่แวะเข้ามา..แวะมาบ่อยๆๆ นะค่ะ..เด่วปุ้ยจะนำความรู้เกี่ยวกับล้านนามาฝากจ้า...

เพลงลาวคำหอม เป็นเพลงไทยเดิม ประพันธ์โดยพระยาประสานดุริยศัพท์

ยามเมื่อลมพัดหวน ลมก็อวลแต่กลิ่นมณฑาทอง
ไม้เอยไม้สุดสูง อย่าสู้ปอง ไผเอยบ่ได้ต้อง แต่ยินนามดวงเอย
โอ้เจ้าดวง เจ้าดวงดอกโกมล กลิ่นหอมเพิ่งผุดพ้น พุ่มในสวนดุสิตา
แข่งแขอยู่แต่นภา ฝูงภุมราสุดปัญญาเรียมเอย
โอ้อกคิดถึง คิดถึงคะนึงนอนวัน
นอนไห้ใฝ่ฝัน เห็นจันทร์แจ่มฟ้า  (ร้องซ้ำ 1 ครั้ง)
ทรงกลด สวยสดโสภา
แสงทองส่องหล้า ขวัญตาเรียมเอย (ร้องซ้ำ 1 ครั้ง)

ที่มา : วิกิพีเดีย (ไทย)

ขอบใจจ้า ปุ้ย

没问题 = méi wèn tí ไม่เป็นไรจ้า (no problem)

 

ต้นไม้ในเพลง ลาวคำหอม

ดอกมณฑาทอง จะมีขนาดใหญ่ ดอกจะมีกลิ่นหอมแรง และหอมได้นานกว่าดอกมณฑาชนิดอื่น 2-3 วัน แถมดอกบานได้ทนนานอีกต่างหาก

 

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

แต่บทความในบลอกคุณกวินทรากร (ชื่อคุ้นๆนะใช่คุณกวินใน G2K??) กล่าวว่า มณฑา คือมณฑารพเป็นต้นไม้ในเมืองสวรรค์

ส่วนดอกโกมล ก็คือ ดอกบัว

ภาพดอกบัวจากสระหน้าคณะฯ สีชมพู กำลังบานเหมาะกับช่วงเวลานี้มาก เอามาให้ชมครับ (ฝีมือพันคำเอง 11-2-09)

 

13. พันคำ

เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 00:01

โอ้โห..แปลเก่งจังนะค่ะ..

ภาพดอกบัวจากสระหน้าคณะฯ สีชมพู กำลังบานเหมาะกับช่วงเวลานี้มาก เอามาให้ชมครับ (ฝีมือพันคำเอง 11-2-09)

ถ้ามีโอกาศจะไปชมดอกบัวจากสระหน้าคณะค่ะ..อิอิ

แย่แล้ว......ขอโทษ พูดผิด ไม่ใช่ "จากสระ" เป็นแค่กระถางบัวใบใหญ่ๆ............บอกยังงี้ สงสัยไม่อยากชมแล้วมั้ง ใบมันเล็กๆนิดเดียว  :)

15. พันคำ

เมื่อ พฤ. 12 ก.พ. 2552 @ 00:50

55++ อ้าว..หรอ??? แง่ววววววๆๆๆๆๆๆๆ

แสนเสียดาย... ซอพื้นเมือง อดีตที่ไม่อยากให้ลืมเลือน มาช่วยกัยอนุรักษ์เถิด อยากเรียนซอจังเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท