โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

แลกเปลี่ยนหลายมุมมอง : ทีมกัลยาณมิตร


มีคุณพยาบาลยกประเด็นร้อนที่เกี่ยวกับแพทย์ที่ชอบแจ้งข่าวร้ายแบบตรง ๆแล้วหนีไปเลย ควรทำอย่างไรดีสงสารผู้ป่วย

สวัสดีครับวันนี้ช่วงบ่าย ทีมกัลยาณมิตร (ทีมดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย รพ. แม่สอด) ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเกี่ยวกับผู้ป่วยรายหนึ่งที่เสียชีวิตไปแล้ว ที่ทีมร่วมกันดูแลมาตั้งแต่ต้นจนผู้ป่วยเสียชีวิต โดยได้รับปรึกษาจากหมอสูติที่ดูแลผู้ป่วยรายนี้เมื่อ 6 เดือนก่อนเสียชีวิต

เป็นผู้ป่วยที่เป็น HIV และเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะที่ 4 ในภายหลัง ผู้ป่วยรายนี้นอน รพ. แม่สอดมาหลายครั้งทั้งนรีเวช และศัลยกรรม เข้าๆ ออก รพ. มาประมาณ 1 ปี (2550-2551) สรุปประเด็นที่เราร่วมกันพูดคุยกันใน 3 ประเด็นหลัก

1.การแจ้งข่าวร้าย

2.การบำบัดอาการปวด

3.ประเด็นเรื่องสถานที่การเสียชีวิต

Dsc00272

ผู้เข้าร่วมวันนี้มีหมอ 2 ท่านเข้าร่วม ซึ่งเพิ่มสีสันให้กับ conference นี้เป็นอย่างมาก หมอศิริศักดิ์-จิตแพทย์ (คนที่เท้าคาง) และ หมอสมศักดิ์-ศัลยแพทย์ (ที่หัวเราะ)

Dsc00268

1.แจ้งข่าวร้าย

ผู้ป่วยรายนี้พบข่าวร้ายซ้ำแล้วซ้ำอีกในชีวิตทั้งเรื่อง HIV ทั้งเป็นมะเร็งปากมดลูก หลังจากนั้นก็เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างทั้ง เลือดออกทางช่องคลอด เลือดออกทางปัสสาวะ (ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสี) ปวดหลัง (มะเร็งกระจายไปที่กระดูก) ทำให้ผู้ป่วยทุกข์มาก highlight ของประเด็นนี้ คงจะเป็นเรื่องจะบอกเมื่อไหร่ โดยใครและจัดการอย่างไรเมื่อเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยปฏิเสธ(ผู้ป่วยช่วงแรกที่รู้ว่าเป็น HIV ผู้ป่วยไม่ยอมรับยาต้านไวรัส) โกรธ(ผู้ป่วยบางรายพูดถึงหมอคนแรกว่าวินิจฉัยช้าไป) หรือต่อรอง(shoping around)

คุณหมอสมศักดิ์(ศัลย์แพทย์) พูดไว้ว่า ผู้ที่เหมาะสมในการบอกข่าวร้ายคงต้องเป็นแพทย์เจ้าของไข้

คุณหมอศิริศักดิ์สรุปว่า การแจ้งข่าวร้ายเป็นเรื่องที่ไม่มีกฏตายตัว แต่รู้อยู่อย่างว่าเราแจ้งข่าวร้ายเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยและต้องประเมินเป็นรายๆไปว่าจะบอกหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน และบอกเมื่อไร ส่วนวิธีรับมือที่ดีกับปฏิกริยาต่อข่าวร้าย คือ เข้าใจผู้ป่วยและรู้เท่าทันความรู้สึกของตัวเอง

มีคุณพยาบาลยกประเด็นร้อนที่เกี่ยวกับแพทย์ที่ชอบแจ้งข่าวร้ายแบบตรง ๆแล้วหนีไปเลย ควรทำอย่างไรดีสงสารผู้ป่วย

ซึ่งสรุปว่า "แต่ละคนมีหน้าที่ช่วยเหลือกันเป็นทีม หมอแต่ละคนก็แตกต่างกันไป แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันหมอก็อยากช่วยผู้ป่วยแต่ในบางครั้ง ไม่รู้ทำอย่างไร ผมเห็นว่า ทำงานเป็นทีมช่วยได้มาก พยาบาลช่วยผู้ป่วยได้มากหากช่วยรับฟังปัญหาและสื่อสารกับแพทย์เจ้าของไข้ถึงความต้องการของผู้ป่วย"

Dsc00274

2.การบำบัดอาการปวด

ผู้ป่วยรายนี้ปวดขา+หลังรุนแรงมาก+มีขาบวมมา 1 สัปดาห์ และมีขอยาฉีดมอร์ฟีนบ่อยกว่าที่แพทย์สั่ง ทำให้พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยลำบากใจสรุปประเด็นคือ

1.ต้องถามว่าผู้ป่วยรายนี้ปวดจากอะไร? แก้ไขได้ไหม?

ผู้ป่วยรายนี้ปวดจาก DVT (ได้ heparin คนไข้ดีขึ้นมากจนกลับบ้านได้)

2.จัดการเรื่องการปวดตามระดับความรุนแรง+active management

ผู้ป่วยรายนี้ปวดรุนแรง (VAS=10) ได้รับการรักษาด้วย morphine drip ผู้ป่วยหายปวดใน 5 นาที แล้วปรับลดยาได้เมื่อสาเหตุถูกแก้ไข ไม่ต้องกลัวการให้ morphine แต่ปัญหาที่พบคือแพทย์แต่ละคนก้มีทัศนคติในการใช้มอร์ฟีนแตกต่างกันไป อาจแก้ไขด้วยการวาง Guideline

3.ประเด็นเรื่องสถานที่การเสียชีวิต

หลังจากที่รักษาอาการปวดจนดีเราตามไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านผุ้ป่วยจัดการปัญหาคังคาใจคือต้องการอยุ่กับลูกชายวัย 5 ขวบจนวาระสุดท้าย ผู้ป่วยมีความสุขมากที่บ้านแตกต่างจากตอนอยู่ รพ.อย่างสิ้นเชิงและผู้ป่วยตัดสินใจเสียชีวิตที่บ้าน แต่โดยคาดไม่ถึงเลือดออกทางช่องคลอดมากผู้ป่วยรายนี้เสียชีวิตที่ รพ.

หมอศิริศักดิ์(จิตแพทย์) คิดว่า การที่จะเลือกที่เสียชีวิตขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่เป้าหมายมิใช่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตที่ไหน แต่ที่สำคัญกว่าคือผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบได้อย่างไร

หมอสมศักดิ์(ศัลย์) ถามประเด็นเรื่องผู้ป่วยไม่ยอมกลับบ้านและไม่รู้จะทำอะไรให้ ควรทำอย่างไร?

หมอศิริศักดิ์(จิตแพทย์) ดูว่ากลับไม่ได้เพราะอะไร

-อาการทางกายมากจนไม่สามารถกลับได้

- อาการทางกายดีแต่มีปัญหาอื่นที่กลับไม่ได้

ผม : เราอาจช่วยผู้ป่วยได้โดยผ่าน วางแผนร่วมกันในรายที่มีปัญหา โดย family conference โดยเชิญทีม+ป่วยและญาติว่าจะวางแผนร่วมดูแลที่บ้านได้หรือไม่ อุปสรรคปัญหาคืออะไร มีทางออกอย่างไร?

หลังจบ conference ผมรู้สึกว่าดีใจที่เราได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างมากถึงจะมีประเด้นเจ็บๆ คันๆ ทางการแพทย์ แต่บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกมาก+เป็นกันเอง

เจอกันใหม่เมื่อผมว่างนะครับ

หมายเลขบันทึก: 241109เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2009 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • แวะมาอ่าน
  • ได้ประเด็น มุมมอง น่าสนใจมากค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

Sdc12646

ของคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท