ฟ้อนเล็บศิลปะแห่งล้านนา


ฟ้อนเล็บศิลปะแห่งล้านนา

ฟ้อนเล็บศิลปะแห่งล้านนา



             
  ฟ้อนเล็บ เป็นศิลปะที่งดงามอันบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของ "คนเมือง"

     อันหมายถึงผู้คนในถิ่นล้านนา   และการแสดงนั้นมักจะปรากฏในขบวนแห่ครัวทานเข้าวัด  จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ฟ้อนแห่ครัวทาน" ต่อมามีการสวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองทั้ง ๘ นิ้ว (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ) จึงได้ชื่อว่า "ฟ้อนเล็บ"

     การฟ้อนแบบนี้มีมาแต่ดั้งเดิม คณะศรัทธาของแต่ละวัดมักมีครูฝึกสืบทอดต่อกันมา เมื่อถึงฤดูกาลที่จะมีงานปอยหลวง ซึ่งเป็นงานฉลองศาสนสถาน มักมีการฝึกซ้อมเด็กสาวในหมู่บ้านเพื่อแสดงในงานดังกล่าวเสมอโดยที่รูปแบบกระบวนและลีลาท่าฟ้อนไม่ได้กำหนดตายตัว ขึ้นกับแต่ละครูหรือแต่ละวัดจะแตกต่างกันไป คุณจิริวัลย์  หาญพานิชชานนท์  ครูชำนาญการ วิทยาลัยนาฎศิลป์ กล่าวถึงเรื่องราวของความเป็นมาของการฟ้อนเล็บและท่าทางการร่ายรำว่า

สัมภาษณ์ :  พูดถึงความเป็นมาของการฟ้อนเล็บ และท่าฟ้อน
               
 
     ในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้มีการปรับปรุงและประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้ ดูอ่อนช้อยงดงามยิ่งขึ้น และบุคคลผู้หนึ่งซึ่งเคยได้รับการถ่ายทอดจากคุ้มเจ้าหลวงได้แก่ ครูสัมพันธ์ โชตนาในโอกาสที่ครูสัมพันธ์   ได้เข้าไปถ่ายทอดศิลปะการฟ้อนชนิดนี้แก่       วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ ท่านได้กำหนดท่าฟ้อนไว้ ๑๗ ท่าดังนี้

๑. จีบส่งหลัง                ๒. กลางอัมพร          ๓. บิดบัวบาน

๔. จีบสูงส่งหลัง            ๕. บัวชูฝัก               ๖. สะบัดจีบ

๗. กราย                        ๘. ผาลาเพียงไหล่    ๙. สอดสร้อย

๑๐. ยอดตอง                ๑๑. กินนรรำ             ๑๒. พรหมสี่หน้า

๑๓. กระต่ายต้องแร้ว     ๑๔. หย่อนมือ         ๑๕. จีบคู่งอแขน
 
๑๖. ตากปีก                  ๑๗. วันทาบัวบาน

ท่ารำต่างๆ ดังกล่าว อาจมีการเพิ่มท่า ตัดตอน หรือลำดับท่าก่อนหลังตามที่ครูสอนแต่ละคนจะกำหนด

      เรื่องของการแต่งกายนั้นแต่เดิมจะนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลมหรือคอจีนผ่าอก เกล้าผมมวยโดยขมวดมวยด้านท้ายทอย ทัดดอกไม้ประเภทดอกเอื้อง จำปา กระดังงา หางหงส์ หรือลีลาวดี สวมเล็บทั้งแปดนิ้วต่อมามีการดัดแปลงให้สวยงามโดยประดับลูกไม้ หรือระบายที่คอเสื้อ ห่มสไบเฉียงจากบ่าซ้ายไปเอวขวาทับด้วยสังวาล ติดเข็มกลัด สวมกำไล ข้อมือ กำไลเท้า เกล้าผมแบบญี่ปุ่น ทัดดอกไม้หรืออาจเพิ่มอุบะห้อยเพื่อความสวยงาม

สัมภาษณ์ : เรื่องการแต่งกายและเครื่องดนตรี

       สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบจังหวะในการฟ้อน จะใช้วงกลอง
"ตึงโนง"ซึ่งประกอบด้วย   

๑. กลองแอว ๒. กลองตะหลดปด  ๓. ฆ้องอุ้ย(ขนาดใหญ่) ๔. ฆ้องโหย้ง(ขนาดกลาง)   
๕. ฉาบใหญ่ ๖. แนหน้อย  ๗. แนหลวง


       ส่วนเพลงที่ใช้บรรเลงมิได้มีการกำหนดแน่ชัดแล้วแต่ผู้เป่าแนจะกำหนดอาจใช้เพลงแหย่ง เพลงเชียงแสน เพลงหริภุญชัยหรือลาวเสี่ยงเทียน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้เพลงแหย่งเพราะช่างฟ้อนคุ้นกับเพลงนี้มากกว่าเพลงอื่น


       แต่เดิมนั้นฟ้อนเล็บจะแสดงในงานฉลองสมโภชเพื่อนำขบวนทานหรืองานมหรสพปัจจุบันมีการแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมจึงมีปรากฏให้เห็นตามโรงแรม ห้องอาหารโดยทั่วไป
 
สัมภาษณ์ : โอกาสการแสดงฟ้อน


        การฟ้อนในลักษณะเดียวกันนี้ หากมีการถอดเล็บออกและเปลี่ยนเป็นการฟ้อนแบบถือเทียนไปด้วย จะเรียกว่า "ฟ้อนเทียน" ที่มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี จัดให้มีการแสดงถวาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗  ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินฯ     เชียงใหม่ เมื่อปี พ  .ศ.๒๔๖๙      ในงานถวายพระกระยาหารค่ำ ณ พลับพลาที่ประทับ งานนี้พระราชชายาฯ ทรงให้ช่างฟ้อนเล็บถอดเล็บทองเหลืองออก แล้วให้ถือเทียนทั้งสองมือ เวลาออกไปฟ้อนก็จุดเทียนให้สว่าง การฟ้อนครั้งนั้นสวยงามเป็นที่ประทับใจ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า หากมีการฟ้อนเล็บเวลากลางวันให้สวมเล็บแต่ถ้าเป็นกลางคืนให้ถือเทียน และการที่ฟ้อนเทียนนี่เองเป็นเหตุให้ใช้เพลง "ลาวเสี่ยงเทียน" ประกอบการฟ้อน

สัมภาษณ์ : vox พูดถึงการแสดงฟ้อนเล็บ

ถึงแม้ว่าการแสดงฟ้อนเล็บจะมีเอกลักษณ์ที่คล้ายคลึงการการแสดงของภาค
อื่น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นท่าฟ้อนและเครื่องแต่งกายที่ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก หรือการมีเล็บที่คล้ายคลึงกับรำมโนราห์ของภาคใต้   อีกทั้งการฟ้อนผู้ไทของจังหวัดสกลนครก็สวมเล็บเช่นกัน  แต่หากกล่าวถึงเครื่องดนตรีและเพลงประกอบการฟ้อน ซึ่งจะแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของฟ้อนเล็บที่ไม่มีภาคใดเหมือน  และเมื่อพบเห็นฟ้อนชนิดนี้ที่ไหน ก็สามารถเข้าใจตรงกันว่าคือการแสดงฟ้อนเล็บ อันเป็นการแสดงที่อ่อนช้อยงดงามตามแบบฉบับของคนเมืองล้านนาโดยแท้

ขอบคุณความรู้ ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=303

หมายเลขบันทึก: 240692เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2009 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ตอนครูอ้อยยังเด็ก  เคยฟ้อนเล็บค่ะ

แต่ตอนนี้  ไม่ไหวแล้วค่ะ

ขอบคุณมากนะน้องปุ๋ย  หวอเสี่ยนนี่

ลักษณะการแต่งกาย การเกล้ามวยผม เครื่องแต่งองค์ เป็นเอกลักษณ์มากนะ

เป็นลักษณะการแต่งกายของชาวล้านนา สมัยที่มีกำเนิดของศิลปวัฒนธรรมนี้ใช่ไหมครับ

1. ครูอ้อย แซ่เฮ

เมื่อ จ. 09 ก.พ. 2552 @ 06:46

จริงหรอค่ะ? ครูอ้อย..

อยากดูครูอ้อยฟ้อนเล็บจัง

我想你 too!! ค่ะ...อิอิ

2. พันคำ

เมื่อ จ. 09 ก.พ. 2552 @ 07:26

ใช่ค่ะ...ตื่นเช้าจัง...

5. Moon smiles on Venus&Jupiter

เมื่อ จ. 09 ก.พ. 2552 @ 19:41

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ปุ้ย

.................

ปุ้ยตอบ..จ้า..ไม่ต้องเกรงใจ..ปุ้ยจะความรู้มาให้เรื่อย ๆ ๆนะค่ะ..

这种带长指甲的舞蹈,我还是第一次见到,好像中国古代的皇太后们一样~~

7. davidhoo

เมื่อ จ. 09 ก.พ. 2552 @ 22:01

这种带长指甲的舞蹈,我还是第一次见到,好像中国古代的皇太后们一样~~

........................................

原来我有,现在没有哦!!都丢了。呵呵!!

假指甲丢了没关系,可以再买~~

人可不能丢了哦,呵呵,还有这么多关心你的人都在等你平平安安回来呢~~嘻嘻~~

9. davidhoo

เมื่อ อ. 10 ก.พ. 2552 @ 10:59

对了,哈哈~~~~~

ข้อความเหล่านีเป็นข้อความที่ดีมาก เพราะเป็นสมบัติของคนล้านนา

12.

ลูกพญาเม็งราย

เมื่อ พฤ. 25 ก.พ. 2553 @ 13:03

เราคนเมือง ต้องรักษาวัฒนธรรมไว้...จร้า

ลูกหลานพญาพิชัย เมืองอุตรดิตถ์ ประเทศไทจงเจริญ

ชอบการฟ้อนเล็บเป็นชีวิต

จิตใจ จนตอนนี้จะบ้าอยู่แล้ว ฟ้อนได้ทุกวินาที เลยค่ะ

อยากทราบว่าใครให้สัมภาษณ์อะครับ พอดีว่าผมทำศิลปนิพนธ์เรืองฟ้อนเล็บอยู่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท