คฤหัสบรรลุธรรม(อรหันต์)ได้ไหม-(เล่าผ่านพระยามิลินท์)ตอนที่2


คฤหัสถ์สามารถบรรลุธรรมได้หรือไม่ ? ตอนที่ 2

บทวิเคราะห์

            ในโฆรสวรรค  ซึ่งเป็นวรรคที่ว่าด้วยลามีเสียงกร้าวเป็นเรื่องแรก  ซึ่งในเรื่องนี้จะเห็นนัยยะสำคัญประการหนึ่งที่ว่า การที่พระยามิลินท์ กับพระนาคเสนได้สนทนาธรรม โต้ตอบกันประหนึ่งออกศึก ชิงไหว ชิงพริบ กันมาเป็นนานสองนาน ดังนั้นจึงจะเห็นได้ประการหนึ่งก็คือ

            ภายหลังจากในวรรคก่อนหน้านี้จะเป็นวรรคที่พระยามิลินท์เกิดศรัทธา และมีความรู้เต็มต่อการปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ดังนั้นในวรรคนี้จึงเป็นวรรคที่ประโยคการสนทนาระหว่าง บุคคลทั้งสอง จึงเป็นลักษณะที่สุภาพอ่อนน้อม และเต็มไปด้วยความตั้งใจต่อการปฏิบัติ และการต่างตอบกันด้วยความเต็มใจ จึงทำให้เห็นฐานะของแต่ละท่าน รวมไปถึงสิ่งที่สนทนากันว่าออกมาในลักษณะดังที่สรุปได้คือ

พระนาคเสน

            (๑) เป็นนักธรรม การที่พระนาคเสนมีความรู้อย่างกว้างขวาง จึงทำให้ท่านสามารถตอบคำถามได้อย่างฉะฉานและชัดแจ้งพร้อมทั้งมีแนวคิดอันเป็นวิธีการที่มีเป้าหมายปลายทางเพื่อการความเข้าใจธรรมที่ยิ่งกว่าธรรม พร้อมกันนั้นการที่ท่านได้ชื่อว่าเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า ยถาวาที ตถาการี  พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น  จึงทำให้ท่านสามารถถ่ายถอดในสิ่งที่ท่านรู้อันได้จากการปฏิบัติด้วยความฉะฉานในธรรมอย่างแท้จริง

            (๒) นักเผยแผ่  ในวรรคนี้จะเห็นได้ชัดประการหนึ่งก็คือการสนทนาของพระนาคเสน มีลักษณะที่จูงใจ ให้อยากรู้เมื่อเปรียบเทียบกับความหมายของสัตว์ในชนิดต่าง ๆ เมื่อฟังแล้วก่อให้เกิดความหาญกล้าในแบบกษัตริย์ที่เรียกว่าแกล้วกล้าต่อการปฏิบัติธรรมเพื่อเกิดศรัทธาอย่างสมบูรณ์แล้ว รวมไปถึงร่าเริงซึ่งวิสัยของคนที่มีปัญญามากอย่างพระยามิลินท์ คงคาดไม่ถึงว่าสัตว์เหล่านี้จะมาสอนธรรมพระองค์ได้ รวมไปถึงบันเทิงธรรม เพราะธรรมะที่นำมายกประกอบส่วนใหญ่เป็นธรรมะที่ก่อให้เกิดความยินดีต่อผู้ได้ฟัง รวมถึงจะนำไปปฏิบัติในขั้นสูงต่อไป

            (๓) นักประยุกต์   การที่พระนาคเสนนำสิ่งเหล่านี้มาอธิบายแบบประยุกต์จึงทำให้เห็นว่าท่านเป็นผู้ที่ฉลาดในการที่จะอธิบายสิ่งที่คนรู้อยู่แล้วให้ง่ายต่อการเข้าใจ การประยุกต์ของพระนาคเสนในวรรคนี้จึงทำให้เห็นภาพ ประหนึ่งยกภาพมาอธิบายทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและสื่อความหมาย และไม่ต้องลังเลสงสัยต่อคำตอบที่แสดงไป จึงทำให้พระยามิลินท์ไม่ปรากฏคำถามเชิงแย้งเหมือนปรากฏในวรรคอื่นๆ ก่อนหน้านี้

            (๔)  ครูและนักจิตวิทยา  พระนาคเสนถือว่าเป็นนักจิตวิทยาพระท่านเองจะสนทนากับใครท่านก็วิเคราะห์คู่สนทนา ซึ่งทำให้เห็นภาพ และเมื่อถึงที่สุดพระนาคเสนเมื่อก่อให้เกิดความศรัทธาต่อพระยามิลินท์แล้ว การสอนธรรมด้วยความสุภาพต่อธรรมถ่ายถอดให้ศิษย์ด้วยความตั้งใจประหนึ่งเคารพศิษย์ผู้เรียนธรรมด้วยความใส่ใจต่อธรรมนั้นอย่างแท้จริง ภาพของศิษย์กับอาจารย์ในวรรคนี้จึงปรากฏภาพอย่างชัดเจน

 

พระยามิลินท์

            (๑) เป็นนักปราชญ์ การที่พระองค์เป็นผู้มีความรู้ และนำความรู้ที่มีอยู่ในสัปปยุทธแทนการรบราด้วยกองทัพ จึงทำให้ภาพของพระองค์ถือว่าเป็น นักสันติวิธี  เพราะในความเข้าใจของผู้เขียนเองมองว่าการที่พระองค์ไปรบด้วย ความรู้ เมื่อมีผลแพ้ชนะจึงเป็นความเคารพยอมรับกัน แต่ถ้าไปด้วยกองทัพก็จะเป็นการ ชิงชัง และเคียดแค้น  และไม่ง่ายต่อการปกครองในภาพรวมต่อไป

            (๒) เป็นนักรบ   การที่พระองค์อยู่ในฐานะนักรบ นักปกครอง เมื่อไปที่ใดจะใช้อำนาจแห่งผู้ปกครอง ใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือแต่พระองค์กับไม่ได้ใช้ แต่ใช้กับวิธีการของนักปราชญ์คือการไปโต้วาที และความรู้เป็นอาวุธในการช่วงชิงในแต่ละสถานการณ์  จนกระทั่งเมื่อพระองค์ยอมรับมีศรัทธาต่อพระธรรมและพระนาคเสนแล้ว พระองค์อาจใช้วิธีการของนักรบในการใช้ความรุนแรงเมื่อตัวเองพ่ายแพ้แต่พระองค์ไม่ได้ทำเช่นนั้นจึงทำให้เห็นว่าพระองค์เป็นนักรบ เข้าทำนองรู้แพ้รู้ชนะ อันปรากฏในโฆรสวรรคเช่นนี้

            (๓) เป็นนักศึกษา   เมื่อพระองค์แต่เดิมเริ่มในฐานะนักโตวาที  ซึ่งมาในฐานะประหนึ่งเหนือกว่า แต่จนกระทั่งพระองค์รู้แจ้งตามธรรมและศรัทธาต่อพระนาคเสนแล้ว จึงทำให้พระองค์ฟังธรรมอันปรากฏในโฆรสวรรคด้วยความศรัทธาประหนึ่งศิษย์ที่ตั้งใจเรียนธรรมด้วยความศรัทธาและเคารพต่อการศึกษานั้นอย่างแท้จริง

 

ลักษณะของหลักธรรมที่ปรากฏในโฆรสวรรค

            หลักธรรมเพื่อการฝึกปฏิบัติ  ในวรรคนี้จะเห็นได้ว่าหลักธรรมในวรรคนี้ เช่น เป็นหลักธรรมขั้นพื้นที่มีปลายทางเพื่อการปฏิบัติ ในเบื้องต้นประหนึ่งเป็นธรรมสำหรับพื้นฐานแห่งธรรม เพื่อไปสู่การปฏิบัติธรรมที่ยิ่งขึ้น

            หลักธรรมเพื่อการขัดเกลา  ในขั้นสูงยิ่งขึ้นไปหลักธรรมที่มีผลเพื่อการขัดเกลา เช่น ซึ่งจุดมุ่งหมายเป็นพัฒนาการของธรรมที่มุ่งขัดเกลาผู้ปฏิบัติให้เกิดความเข้าใจในธรรมและสภาวธรรมจนกระทั่งไปสู่ขั้นที่สูงขึ้นไปอีก

            หลักธรรมเพื่อการบรรลุมรรคผล  เป็นหลักธรรมที่พัฒนาจากขึ้นหนึ่งไปสู่อีกขึ้นหนึ่ง จนกระทั่งนำไปสู่การบรรลุธรรมตามเจตนารมณ์แห่งธรรม  เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจนเข้าสู่มรรคผลแห่งนิพพานอันเป็นปลายทางเพื่อ

            หลักธรรมเพื่อเจตจำนงสูงสุด หลักธรรมนี้เป็นหลักธรรมเพื่อธรรม เป็นหลักธรรมเพื่อการบรรลุอรหันต์  เป็นหลักธรรมที่มีเป้าประสงค์เพื่อการปฏิบัติธรรมเพื่อธรรม ปฏิบัติธรรมเพื่อการเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมจนกระทั่งนำไปสู่การบรรลุธรรมปลายในทางในที่สุด

ลักษณะที่สอดประสานกันในโฆรสวรรค

            ธรรมชาติคือธรรมชาติ   ธรรมะ เป็นธรรมชาติ มีลักษณะที่เป็นจริง  และสอดประสานกับความเป็นเหตุเป็นผลกับความเป็นธรรมชาติ   จึงทำให้เห็นความสมดุลในการดำรงชีวิตของมนุษย์  สัตว์  และองค์ประกอบของธรรมชาติ  แต่ในเวลาเดียวกันจะทำให้เห็นว่าธรรมชาติเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบของสัตว์ มนุษย์ หรือธรรมชาติอื่นใด  ที่สัมพันธ์กันด้วยเหตุปัจจัย ประหนึ่งเป็นคุณสมบัติแห่งวิถีธรรมชาตินั้น  ๆ เอง

            ธรรมชาติสอนมนุษย์  มนุษย์อยู่กับธรรมชาติ การใช้ลักษณะของสัตว์อันเป็นธรรมชาติ จึงเป็นการสอนด้วยธรรมชาติ  เพราะมนุษย์อยู่กับธรรมชาติ และเลียนแบบในการดำรงชีวิตอยู่ภายใต้กรอบของความเป็นธรรมชาติ และในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เห็นว่าสภาพของความเป็นจริงที่สะท้อนกับวิถีของธรรมชาติได้อย่างแท้จริง

            ธรรมชาติสอนธรรม ในโฆรสวรรคจะทำให้เห็นว่าสภาพของความเป็นจริงทางสังคม และในเวลาเดียวกัน  ธรรมชาติซึ่งถ้าไม่คิดอะไร หรือไม่สังเกตก็เป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น แต่ในส่วนของพระนาคเสนได้ใช้วิธีการเหล่านี้   เป็นแนวทางในการสอนธรรมหรือประยุกต์ธรรมชาติให้สอดประสานเข้ากับธรรมนั่นเอง จึงเป็นความสวยงามและในเวลาเดียวกันก็เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมเอง อย่างที่ควรจะเป็นแล..

            ธรรมะเพื่อธรรม (อรหันต์)  ธรรมมีเจตจำนงค์แห่งธรรม เป็นสภาวธรรมที่มีความมั่นคงในตัวหลักการเอง เพราะหลักธรรมมีสภาวะที่เป็นสัจจะของความจริงไม่เปลี่ยนแปลง เป็น ปรมัติสัจจ เป็นสภาวะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง  ธรรมะ จึงสอดประสานกับธรรมชาติและในเวลาเดียวกันได้ก่อให้เกิดความเข้าใจในมิติของสังคม ที่สอดประสานกับความเป็นจริงทางสังคมนั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 239696เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2009 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท