อาหารเสริมชลอความชราของผิวพรรณ
ความคลุมเครือที่ขายได้จริงหรือ?…
หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ค่อนข้างท้าทายและน่าสนใจ
ขอบันทึกหัวข้อนี้ในแง่ของนักวิชาการบวกกับความคิดเห็นจากประสบการณ์ส่วนตัว
และยังมีความเห็นว่าหัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่น่าแลกแปลี่ยนความคิดเห็นมากที่สุดหัวข้อหนึ่งในวงการความสวยความงาม
เพราะมีความเกี่ยวข้องกับผู้คนในวงกว้างโดยเฉพาะสุภาพสตรีในทุกวัย
ในท้องตลาดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2549)
จะเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้อยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ
กลุ่มแรกจะเน้นผลที่ผิวหนังที่ดูอ่อนเยาว์หรือแข็งแรง
ซึ่งมักจะเป็นอาหารเสริมที่ได้มาจากใต้ทะเลลึกมาก
ลึกชนิดที่ดูแล้วน่าจะมีเหตุผลนำมาอธิบายว่าขนาดสัตว์ที่อยู่ได้ทะเลลึกยังอยู่รอดได้
ถ้าคุณได้รับประทานส่วนหนึ่งของสัตว์ที่ว่านี้แล้ว
จะทำให้สามารถช่วยผิวพรรณคุณให้อยู่รอดได้
อาหารเสริมกลุ่มหลังจะเน้นที่ความสดใสของร่างกาย และผิวพรรณในภาพรวม
จะเป็นอาหารเสริมชนิดที่เป็นวิตามินที่ต่อต้านอนุมูลอิสระในขนาดสูงมาก
(ซึ่งควรจะอยู่ในกลุ่มยามากกว่าอาหาร)
หรือมีสารที่ไม่เปิดเผยแต่ช่วยชลอความชราของผิวพรรณได้
อาหารเสริมทั้งสองกลุ่มมีจำหน่ายทั่วไป ทั้งในตลาดหาซื้อได้โดยตรง
หรือผ่านระบบสมาชิก ซึ่งน่าจะมีมูลค่าหลายล้านบาทต่อปี
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า มักจะไม่มีงานวิจัยมารับรอง
แล้วงานวิจัยใดที่ควรจะทำเพื่อตอบคำถามนี้
ถ้าเริ่มจากคำถามในฐานะของนักวิจัยแล้ว คำถามที่น่าจะถามคือ
จะใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบไหนดีถึงจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า
1) “อาหารเสริมชลอความชราได้จริงหรือ?” คือถามในแง่ว่าได้หรือไม่
และ
2) “อาหารเสริมชลอความชราได้เพียงใด?” คือถามในแง่ที่ว่า
ถ้าชลอได้จะชลอได้เพียงใด
ผู้อ่านท่านใดมีความความคิดเห็นในแง่ของประสบการณ์ และวิชาการ
ว่าจะใช้งานวิจัยแบบไหนดีลองแสดงความคิดเห็นมาหน่อยครับ
น่าสนใจครับเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร(Dietary supplement) โดยประสบการณ์แล้วตัวเองในฐานะที่เคยทำงานในร้านยาแบบห่วงโซ่ขนาดใหญ่ของประเทศไทย พบพฤติกรรมของผู้บริโภคว่าสนใจสินค้ากลุ่มนี้จากการโฆษณา โดยใช้ผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นสัญลักษณ์เช่นดารา เป็น brand ambassador...หรือไม่ก็คนที่ใกล้ชิดใช้แล้วบอกต่อว่าดี...ก็เลยอยากลองบ้าง....ซึ่งการที่จะพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าสารที่นำมาใช้นั้นได้ผล 100 % หรือไม่นั้น อาจทำได้ยากกว่าสารที่นำมาใช้เป็นยา เช่นกินพาราเซตามอล 10-15 นาทียาออกฤทธิ์แล้วไข้ลด....แต่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลับไม่ใช่....ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายมักจะบอกให้ใช้เป็นระยะเวลาพอสมควร และไม่ได้มีการยืนยันผลที่ชัดเจนว่ากินแล้วจะได้ผล....คิดว่าขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ที่ต้องการใช้มากกว่า....เขาพร้อมที่จะจ่ายแพงเพื่อแลกกับความสวยงาม...แต่ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายต้องแน่ใจว่าไม่ทำให้เกิดโทษกับร่างกาย....อย่างมีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีการเรียกเก็บสินค้ากลุ่มนี้เนื่องจากว่าพบการปนเปื้อนสารบางอย่างที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้....หรือไม่มีบางตราสินค้าที่แอบนำเอายาที่ใช้สำหรับลดน้ำหนักไปผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ใช้สำหรับลดความอ้วนซึ่งทาง อย.ก้ได้เรียกเก็บคืน...เป็นการที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มนี้ให้ผลในการใช้ไม่ 100 % เหมือนกับยา.....และเป็นที่น่าสังเกตว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มี product life cycle ที่ไม่ยาวนักอย่างมากก็แค่ 5 ปี บางตัวแค่ปี 2 ปี ก็ตายแล้ว ต้องมีการเพิ่มสูตร plus บาง advance บ้าง เป็นการแสดงถึงการทำการตลาดเพื่อให้มีสินค้าใหม่ตลอดสำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่อยากลองเรื่อยๆ เพราะหากสารกลุ่มนี้ได้ผลจริงๆ100 % product life cycle ต้องยาวกว่านี้แน่นอน....ในฐานะที่เราเป็นคนในแวดวงสารธารณสุขก็เพียงหรือแม้กระทั่งที่เป็นคนแนะนำเอง ก็บอกอย่างกลางๆขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้....
แต่อย่างน้อยผู้ผลิตมักจะอ้างที่มาของสารและความสามารถในการทำงานที่มีผลต่อร่างกาย จะจริงหรือไม่จริงทางผู้ผลิตก็เป็นผู้รับผิดชอบและโดยที่ไม่สามารถระบุถึงการทำงานต่อร่างกายได้อย่างแน่นอนการเข็มงวดในการขึ้นทะเบียนก็จะน้อยกว่ายา...และผู้ผลิตก็ชอบเพราะข้อจำกัดในการทำการตลาดน้อยกว่ายาแน่นอน....ช่องทางการจัดจำหน่ายก็เพิ่มขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่มูลค่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้ามีมูลค่านับพันล้านบาท
ขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นและข้อมูลที่ให้มา ประเด็นที่สำคัญคือประสิทธิผลของอาหารเสริมที่ยังคลุมเครือ ยังเป็นจุดขายได้ครับ (ปล่อยให้คลุมเครือก็ยังขายไปได้เรื่อยๆ )