( ๖ ) เทพธิดาผ้าซิ่น


เพลง เป็นงานดนตรีกรรม นำมาเผยแพร่ต้องขออนุญาต

 

               ารฟังเพลงถือเป็นศิลปะในการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง  เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์เครียด ทำให้จิตแจ่มใส เบิกบาน และ มีความสุขเพลิดเพลินในสุนทรีย์ของเนื้อเพลง  ทุกคนจะต้องมีแนวเพลงที่ตนชอบอยู่บ้างไม่มากก็น้อย  หากเป็นเพลงที่เราชื่นชอบ ไม่ว่าจะไปงานไหน ถ้ามีคนเชิญให้ร้องก็ต้องร้องเพลงที่เราชอบ   แม้ไปที่ร้านอาหารที่มีตู้เพลงก็ต้องเรียกเพลงที่ชื่นชม เช่นกัน

               ็มีปัญหาว่า ตามร้านอาหารที่นำเพลงดัง ๆ มาให้บริการแก่แขกที่มาใช้บริการ จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของสิทธิ์หรือไม่ ?

             กรณีดังกล่าวได้มีคดีขึ้นสู่ศาล ได้ความว่า ร้านอาหารของจำเลย  ได้นำเพลง เทพธิดาผ้าซิ่นและเพลง โบว์รักสีดำ   อันเป็นงานสิ่งบันทึกเสียงและโสตทัศนวัสดุที่บันทึกข้อมูลงานดนตรีกรรม   จำนวน 2 แผ่น  เข้าประกอบไว้ในตู้เพลงวีซีดีคาราโอเกะ  เพื่อให้บริการลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการฟังเพลงและขับร้องเพลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากค่ายเพลง ดังกล่าว

          ่อมาเจ้าของค่ายเพลงแห่งหนึ่ง ได้นำเจ้าพนักงานเข้าจับกุม และกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์ งานดนตรีกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

            ศาลฎีกา เห็นว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537  มาตรา 4 ให้ความหมายคำว่า  เผยแพร่ต่อสาธารณชน ไว้ว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชนโดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียง และภาพ การก่อสร้าง การจำหน่ายหรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานทีได้จัดทำขึ้น การที่จำเลยนำแผ่นวีซีดี ซึ่งเป็นงานสิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุที่บันทึกข้อมูลงานดนตรีกรรมเพลง เทพธิดาผ้าซิ่น และเพลง โบว์รักสีดำ ซึ่งทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์  จำนวน 2 แผ่น  เข้าประกอบไว้ในตู้เพลงวีซีดีคาราโอเกะ ซึ่งมีเครื่องอ่าน ข้อมูลทำการแปลงสัญญาณดิจิตัลออกเป็นสัญญาณภาพและเสียงผ่านออกทางจอภาพและลำโพง  ปรากฏเนื้อร้องและทำนองออกเผยแพร่ต่อสาธาณชนในร้านอาหารของจำเลย เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการฟังเพลงและขับร้อง อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผุ้เสียหาย  การเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อให้สาธารณชนฟัง เป็นการกระทำครบองค์ประกอบความผิดแล้ว  การกระทำจึงมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ให้ลงโทษปรับจำเลย 50.000 บาท จำเลยให้การรับสารภพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงปรับ 25,000 บาท  ให้คืนตู้เพลงวีซีดีคาราโอเกะ 1 ตู้ สมุดรายการเพลง 1 เล่มแก่เจ้าของ ให้วีซีดีที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์จำนวน 2 แผ่น  ตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ (เทียบฎีกาที่  302/2550)

                  เรื่องนี้ จึงเป็นอุทาหรณ์เตือนใจ  หากพลาดพลั้งไป อาจต้องเสียเงิน เสียเวลาทำมาหากิน และเสียรู้   อันเกิดจากการไม่รู้กฎหมายดังกล่าว

                 หกมีปัญหาทางกฎหมายคราใด อย่าลืมโทร.ไป   1157  ศูนย์ให้คำปรึกษากฎหมาย สคช.กลาง

สำนักงานอัยการสูงสุด

       

         

         

หมายเลขบันทึก: 238201เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2009 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาอ่าน เรียนรู้ค่ะ

มีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะคะ

ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณที่ติดตาม
  • ขอให้มีความสุขครับ
  • ขอบพระคุณท่านศรีกมลสำหรับความรู้ทางกฎหมายใกล้ตัวค่ะ...
  • เชื่อว่ายังมีความเคยชินเพราะยังไม่รู้เท่าทันกฎหมายยุคใหม่อีกมากหลายหลายคน...คงต้องช่วยกันเผยแพร่ต่อ ๆ ไป จะได้ระมัดระวังกันนะคะ
  • เห็นใจเหมือนกันค่ะ เพราะเมื่อสิบปีที่แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ  แต่ปัจจุบัน "ผิดกฎหมาย" ไปเสียแล้ว

      ถึงว่าซิครับ  ผมเคยเข้าไปร้องเพลงคาราโอเกะแห่งหนึ่ง  เมื่อเข้าไปแล้วเจ้าของร้านปิดประตูเลยครับ

    ถามว่าทำไม    เธอตอบว่า เพลงในร้าน  ไม่ได้ขออนุญาต

  • สวัสดีคุณศิลา
  • ขอบคุณที่ติดตาม การเขียนกฎหมายให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายและชอบอ่าน ยังเป็นเรื่องยาก
  • ปัจจุบันการค้าเสรีระบาด ความโลภของคนมากขึ้น
  • ขอบคุณครับ

 

  • สวัสดีท่านรองฯ
  • ขอบคุณที่ติดตาม ทุกอย่างเป็นการค้าไปหมดแล้ว
  • ขอบคุณครับ

"การเขียนกฎหมายให้คนทั่วไปเข้าใจง่ายและชอบอ่าน ยังเป็นเรื่องยาก" ศิลาเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ แต่เราก็จะไม่ท้อค่ะ...

  • สวัสดีคุณศิลา
  • เท่าที่สังเกตุดู หากเราเขียนทฤษฎีมาก มีผู้อ่านน้อย แต่การเขียนมากจะมีประโยชน์มาก เพราะได้รับความรู้ครอบคุมเนื้อหา
  • อีกอย่างหนึ่ง วิธีการถ่ายทอดจะสู้ท่านที่มีอาชีพครู ไม่ได้ เพราะอาชีพดังกล่าวได้ฝึกมาโดยตรง
  • พวกเราสู้ได้อย่างเดียว คือ ใจสู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท