รศ.ดร.อัศนี ปาจีนบูรวรรณ์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย


มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง ม.ข

 JJ ได้อ่านข้อความใน Blog ของ กูรู ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ชื่นชมกับการทำงานของท่าน คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.อัศนี ที่พวกเรา ชาวมอดินแดง เรียกท่านว่า "พี่อัศ" ดังนั้นเพื่อให้พวกเราได้รับทราบ สิ่งที่ดีๆ ในวันปีใหม่ของไทยเรา ขอนำมาลงให้พวกเรา "ชาวมอดินแดง เลือดสีอิฐ" เห็นถึงทิศทางของ "มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย" ซึ่ง ท่านอธิการบดี รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง

 ในการเสวนา "เครือข่ายการจัดการความรู้ ที่ ม.สงขลานครินทร์ นอกจากท่านอธิการบดี รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย จะไปเข้าร่วมในวันเริ่มตัน ได้มีท่าน คณบดี จากขอนแก่นไปเข้าร่วม สามท่าน คือ รศ.นสพ.ประจักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ รศ.ดร.อัศนี คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ และ ผศ.ดร.เกษม นันทชัย คณบดีคณะเทคโนโลยี"

 จากการประชุมทีมงาน KKU_KM ในวันศุกร์ที่ ๗ เมษายน ณ โรงแรมลีการ์เด็นพลาซ่า  ท่านคณบดีทั้งสามท่าน "จะเป็นคณะนำร่อง ที่นำการจัดการความรู้เข้าไป บูรณาการ กับงานประจำ และ ร่วมกันเตรียมการ แลก เปลี่ยน เรียน รู้ สู่ มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย"

JJ

นักบริหารงานวิจัย

         ในการประชุม UKM 6 - 8 เม.ย.49 ที่หาดใหญ่   ผมดีใจมากที่ได้พบ รศ. ดร. อัศนี  ปาจีนบูรวรรณ์    ผู้ที่ผมถือว่าเป็นนักบริหารงานวิจัยชั้นยอดคนหนึ่งของประเทศไทย

         ผลงานชิ้นสำคัญของ ดร. อัศนี   คือการริเริ่มสนับสนุนการวิจัยแบบ "ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง"    เป็น Virtual center ให้มีการรวมกลุ่มกันทำวิจัย   โดยที่แต่ละคนในทีมก็ยังอยู่กับสังกัดเดิม   แต่มีการทำงานร่วมกัน share idea,  share equipment,  share space กันมากขึ้น   เงื่อนไขคือให้รวมกลุ่มกันจากต่างภาควิชา   ต่างคณะ   เขียนโครงการวิจัยเสนอ   หัวหน้าโครงการต้องมีผลงานเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติหรืออย่างน้อยระดับชาติ   และประเด็นวิจัยต้องใหญ่และ relevant ต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เพราะนี่คือเรื่องราวจของ มข.   และต้องเชื่อมโยงกับบัณฑิตศึกษา   แต่ละศูนย์จะได้รับเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยปีละ 5 ล้านบาท  เป็นเวลา 5 ปี   โดยมีการประเมินผลงานทุกปี

          ดร. อัศนีริเริ่มโครงการนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้วตอนเป็น รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยของ มข.   เดิมมีศูนย์วิจัยเฉพาะทางที่ได้รับการสนับสนุน 15 ศูนย์   เวลานี้เพิ่มเป็น 18   และมีวิธีการสนับสนุนและติดตามผลที่มีกติกาชัดเจนขึ้น   ผลักดันให้เพิ่มความสามารถในการพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

         ข้อพิสูจน์ความสำเร็จของการจัดการงานวิจัยแบบนี้คือ มข. ลงทุนสนับสนุนการวิจัยปีละ 120 ล้าน   60 ล้านสนับสนุนศูนย์วิจัยเฉพาะทาง   อีก 60 ล้านสนับสนุนโครงการวิจัยย่อย ๆ    ผลงานตีพิมพ์ร้อยละ 90 มาจากศูนย์วิจัยเฉพาะทาง

         เป้าหมายสำคัญของการบริหารงานวิจัยแบบนี้   คือสนับสนุนให้มีการวิจัยเป็นทีม   มีเป้าหมาย & แผนระยะยาว   และเลี้ยง/สนับสนุนให้ออกไปแข่งขันขอทุนภายนอกได้   เป็นการสร้างความเข้มแข็งระยะยาว

          ผมชื่นชมความคิดริเริ่มชิ้นนี้มาก   มหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างฐานความเข้มแข็งด้านการวิจัยของตนควรศึกษาวิธีคิด   และวิธีบริหารงานวิจัยแนวนี้ของ มข.

วิจารณ์  พานิช
 7 เม.ย.49
 หาดใหญ่

หมายเลขบันทึก: 23809เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2006 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากบอกว่าอาจารย์อัสนี นอกจากพวกเราจะชื่นชมในฐานะรุ่นพี่เกษตร แล้ว พวกเรายังชื่นชมในความเป็นพี่อัส อาจารย์อัส ที่น่ารักมากๆๆๆ ค่ะ  ..เก่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท