เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเครื่องเอ็มอาร์ไอ


ท่านทราบหรือไม่ว่า อะไร คือ ความแตกต่างระหว่างการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเครื่องเอ็มอาร์ไอ ?

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอหัวข้อหนึ่งที่ผมต้องทำ เป็นงานที่อาจารย์ของผมมอบหมาย เพื่อต้องการให้ผมได้ฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับการเปรียบเทียบหรือความแตกต่าง โดยให้เขียนเรื่องในสาขาที่ตนเองเกี่ยวข้อง โดยปกติผมจะเขียนเนื้อหาเป็นภาษาอังกฤษไปเลย แต่เพื่อเกิดประโยชน์ 2 ทาง เพื่อให้นักรังสีเทคนิค นักศึกษาและผู้สนใจที่เป็นคนไทยได้อ่านด้วย ผมจึงตั้งเค้าโครงเป็นภาษาไทยก่อน จากนั้นค่อยๆแปลย้อนกลับให้เป็นภาษาอังกฤษ ครับ

English version (หากพบว่า เนื้อหา สำนวนยังไม่ดี ช่วยกรุณาแนะนำด้วยครับ)

http://gotoknow.org/file/tomkku/Eng_Difference_between_CT_and_MRI.pdf

visit

เมื่อท่านไปโรงพยาบาล อาจจะต้องการตรวจเช็คร่างกายหรือรักษาโรค หลังจากที่แพทย์ตรวจวินิจฉัยร่างกายท่านแล้ว  สงสัยว่ามีความผิดปกติ แพทย์ไม่สามารถที่จะระบุอาการ (โรคภัยไข้เจ็บ) ในร่างกายท่านได้ชัดเจน แพทย์ก็จะส่งท่านเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่มีความจำเพาะเจาะจงหรือพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ ตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (MRI scan) เครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) ฯลฯ เครื่องที่ใช้ในการวินิจฉัยที่นิยม คือ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ เครื่องเอ็มอาร์ไอ มีอยู่ 3 สิ่ง (ในที่นำเสนอ) ที่แตกต่างกันระหว่างการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเครื่องเอ็มอาร์ไอ คือ 1.. 2.. 3..

mri   ct

สำหรับนักรังสีเทคนิค ก่อนที่จะอ่านต่อไป... ผมอยากให้ลองนึกถึงเรื่องที่ได้เรียนมาแล้ว เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ของตนเอง โดยคิดว่า...มีอะไร? ที่แตกต่างกันระหว่างการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และเครื่องเอ็มอาร์ไอ ซึ่งอาจจะมีมากว่าที่ผมนำเสนอในครั้งนี้ก็ได้นะครับ

ส่วนท่านที่สนใจสามารถติดตามต่อได้เลยครับ ความแตกต่างของเครื่องตรวจวินิจฉัยทั้ง 2 ชนิดนี้ คือ

1.ความแตกต่างกันระหว่างการตรวจวินิจฉัยด้วย CT และ MRI คือ ขบวนการเก็บข้อมูลสร้างภาพ เครื่อง CT ใช้หลักการฉายรังสีผ่านร่างกายรวมถึงกระดูก โดยที่หลอดเอกซเรย์และหัววัดรังสีอยู่ตรงข้ามกันและหมุนรอบตัวผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองนี้ หัววัดรังสีจะเก็บปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านร่างกายผู้ป่วย ในทางตรงกันข้าม MRI ใช้สนามแม่เหล็กพลังแรงสูง คลื่นความถี่วิทยุ และขดลวด ในการรับสัญญาณหรือพลังงานที่เปลี่ยนแปลงจากแนวแกน(แม่เหล็กหลัก)ของโมเลกุลของน้ำ(หรือเนื้อเยื่ออื่นๆมนร่างกาย) โดยการ(เปิด) ปิดคลื่นวิทยุ (เป็นระยะ) การเก็บข้อมูลในลักษณะตัดขวางของร่างกายในระนาบต่างๆ ส่วนในกระดูกจะไม่มีสัญญาณและแสดงภาพในลักษณะเป็นสีดำ MRI เก็บข้อมูลของเนื้อเยื่อได้ดี

ct

2.ความแตกต่างกันระหว่างการตรวจวินิจฉัยด้วย CT และ MRI คือ ชนิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnatic radiation) โดย CT ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นประจุ (Ionizing radiation) คือ รังสีเอกซ์ (X-ray) ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่พบว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง ความเสี่ยงของการเกิดเป็นมะเร็งขึ้นกับความถี่(จำนวนครั้งที่ได้รับรังสี) ที่ตรวจวินิจฉัย ในผู้ตั้งครรภ์แนะนำควรหลีกเลี่ยงการตรวจช่องท้องด้วย CT เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ในความแตกต่างนี้ ไม่มีรังสีเอกซ์ใน MRI เนื่องจาก MRI ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดไม่แตกตัวเป็นประจุ (Non-Ionizing radiation) โดยใช้คลื่นวิทยุ สนามแม่เหล็กแรงสูง เก็บข้อมูลร่วมกับคอมพิวเตอร์สร้างภาพ ทำให้ไม่มีความเสี่ยงในการตรวจวินิจฉัยนี้

 mri 

3. สุดท้าย คือ ระยะเวลาที่ใช้การการสแกน CT ใช้ระยะเวลาในการสแกนหรือการตรวจที่สั้นมาก การสแกนต่อภาพให้เวลาประมาณ 1-2 วินาที ตลอดการตรวจประมาณ 3-5 นาที (ในที่นี้หมายถึง Multi-sclices CT Scan), MRI ไม่เหมือนกับ CT คือ MRI ใช้ระยะเวลาในการตรวจทั้งสิ้นประมาณ 20-45 นาที (ขึ้นกับอวัยวะที่ตรวจ) เพราะว่าขบวนการเก็บข้อมูล (ปริมาณสัญญาณ)ในขดลวดที่ใช้ใน MRI ใช้เก็บและแปลงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ช้ากว่าหัววัดรังสีของ CT สำหรับ MRI รุ่นใหม่ได้มีการสร้างสนามแม่เหล็กให้มีกำลังแรงสูงมากขึ้นร่วมกับการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการตรวจให้สั้นลง

ct scan time 

CT ตรวจพื้นที่ 49 ซม. ใช้เวลา 17 วินาที

MRI ตรวจพื้นที่เท่ากัน ใช้เวลา ประมาณ 3-5 นาที

สรุป : ทั้ง CT และ MRI เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยเนื้อเยื่อ แต่ CT สามารถตรวจกระดูกได้ดีกว่า MRI, CT รังสีที่มีความเสี่ยงเป็นอันตรายมากกว่า MRI, CT ใช้เวลาในการตรวจสั้นกว่า MRI แต่ MRI ได้พัฒนาให้มีความเร็วในการตรวจมากขึ้น จากที่นำเสนอความแตกต่างระหว่าง CT และ MRI สำหรับคำถามสำหรับแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง ขึ้นเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง ในการนำเครื่อง MRI มาแทน CT ซึ่งมีความเสี่ยงเกี่ยวกับอันตรายของมะเร็งในการตรวจวินิจฉัย? 

จากที่นำเสนอเป็นการถอดทบความ หากเขียนเป็นภาษาไทยทั้งหมด ผมคงจะไม่ใช้ภาษาตามที่นำเสนอ แต่ที่ต้องนำเสนอแบบนี้เนื่องจากประสบการณ์ในการเขียนอังกฤษ-ไทย ของผมเองมีข้อจำกัด มีความแตกต่าง อ่อนประสบการณ์

แต่ผมก็มีความสนุกไปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งตัวผมเอง คงต้องอ่านให้มาก ฝึกฝนให้มากกว่านี้ เพื่อพัฒนาตนเองต่อไปครับ ... โปรดแนะนำเพิ่มเติมได้ครับ ... ขอบคุณครับ

สำหรับความแตกต่างระหว่าง CT และ MRI ยังมีมากกว่านี้ ผมหวังว่านักรังสีเทคนิคคงสามารถตอบเพิ่มเติมได้

ที่เราต้องรู้จักการเปรียบเทียบ การแยกความแตกต่าง

เนื่องจาก ในชีวิตจริง เราอาจหรือต้อง...

เปรียบเทียบสิ่งที่ด้อย เพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดี

หาข้อด้อยข้อจำกัด เพื่อสร้างหรือเสริมข้อเด่น

แยกเรื่องไม่ดี ไม่ควรทำ ออกจาก สิ่งที่ดี ควรปฏิบัติ

หมายเลขบันทึก: 238061เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2009 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียน อ.เพชรากรที่เคารพ

- ขอบคุณมากค่ะ อ่านแล้วได้ทบทวนความรู้ CT-MRI ดีมากเลยค่ะ ได้ฝึกอ่านบทความภาษาอังกฤษด้วย ทำให้มีความพยายามและมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนให้เก่งเหมือนอาจารย์บ้าง

 - อาจารย์เป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ การใช้ความพยายาม มุ่งมั่น และที่สำคัญอาจารย์บอกว่า "สนุกกับการเรียนรู้+ฝึกฝน"

เป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะ..เวลาเหนื่อยกับงานหรือเครียดจากภารกิจหลายอย่างจะได้นึกถึงอาจารย์..ขอบคุณอีกครั้งค่ะ..

อ่านข้อความแล้วทำให้รู้เรื่องเกี่ยวกับ mri อีกมาก กำลังเตรียมตัว scan MRI ทำให้มีความมั่นใจในการทำในครั้งนี้มาก

เรียน คุณฐิตินันท์ และ คุณศศิวิมล

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม มาเรียนรู้ ครับ

ฟิลลิปแน่นอนกว่า

นงนุช อ่องบางน้อย

ขอบคุณค่ะ อ่านแล้วเข้าใจชัดเจนมากๆค่ะ

กระจ่างเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท