การเมืองเรื่องสุนทรียะ ของ รองสิแยร์ ๑


บางส่วนจากภาคนิพนธ์

คำว่าสุนทรียะหรือสุนทรียศาสตร์(aesthetics, esthetics)ในทางปรัชญานั้นมีความหมายว่า การศึกษาในเรื่องของความงาม และสิ่งที่เกี่ยวข้องเช่น ความประเสริฐ(sublime), ความโศกา(the tragics), ความน่ารังเกียจ(the ugly), ความขำขัน(humorous) เป็นต้น เป็นการศึกษาในเรื่องการให้คุณค่า, การตัดสินคุณค่าในเรื่องต่างๆของมนุษย์ โดยรากทรัพท์คำๆนี้มาจากคำกรีกโบราณว่า αισθητικôς(aisthetikôs ; เอสเธทิคอส) ซึ่งมีความหมายว่าผู้ซึ่งรับรู้สิ่งต่างๆด้วยผัสสะของตน[1] โดยความหมายเช่นนี้แล้วสุนทรียศาสตร์จึงดูราวกับว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเมืองที่ตรงไหน แต่สำหรับรองสิแยร์แล้วเขามองสุนทรียศาสตร์ที่เข้าเกี่ยวข้องกับการเมืองใน 2 ทาง ทางแรกรองสิแยร์เห็นว่าสุนทรียศาสตร์ทางการเมืองนั้นก็คือการต่อสู้กันด้วยการแบ่งแยกการรับรู้ การเมืองและตรรกะของการตรวจตรา/ตำรวจเป็นสิ่งที่พูดถึง/คิดถึงเรื่องใดๆอย่างแตกต่างกัน แล้วตัดสินเรื่องใดเรื่องนั้นด้วยการรับรู้ของตน ส่วนอีกทางหนึ่งนั้นสุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องทางศิลปะซึ่งเป็นเรื่องของวิธีทางต่างๆที่จะทำเรื่องใดๆ(way of doing) ซึ่งเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับการแสดงออก(representative)ที่เป็นเรื่องของการแบ่งแยก(distinguish)ศิลปะต่างๆออกจากกันเพื่อรับรู้ในทางใดทางหนึ่ง การแสดงออกจึงเป็นการแปลง(transform)ศิลปะต่างๆให้กลายเป็นเรื่องของการรับรู้ และกลายเป็นความคิดว่าด้วยเรื่องต่างๆ ว่ากระทำอย่างมีเจตจำนง(intention)หรือไม่, สมบูรณ์(complete)หรือไม่ และมีสติ(conscious)หรือไม่[2] หากสรุปก็คือสุนทรียศาสตร์สำหรับรองสิแยร์แล้วในทางหนึ่งก็คือการต่อสู้จากการสถาปนาสิ่งใดๆให้สังคมรับรู้ได้/รับรู้ไม่ได้ และอีกทางหนึ่งก็คือเรื่องของสิ่งใดๆที่ถูกมนุษย์รับรู้อย่างไร การที่การเมืองของรองสิแยร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกันกับ สุนทรียศาสตร์ ก็พอจะเห็นได้ว่าเพราะสำหรับรองสิแยร์แล้ว สังคมการเมือง/ประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องของการไม่ลงรอยกันของการรับรู้ ซึ่งแน่นอนการรับรู้เป็นเรื่องทางผัสสะ และซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการตัดสินคุณค่าที่ต่างเป็นเรื่องที่ปรากฏในนิยามของสุนทรีศาสตร์ที่กล่าวถึงข้างต้น

 

ภาษา/การเมือง,  การแบ่งแยกการรับรู้ และ การเมืองที่มีความเป็นการเมือง

          รองสิแยร์ได้แยกปฏิบัติการของสิ่งที่เรียกว่าภาษา(logos)[3]ออกเป็น 2 ด้าน ด้านแรกคือคำพูด(speech) และส่วนที่สองคือสิ่งที่เข้าใจ(account)ในคำพูด ทั้งสองส่วนนี้ทำงานร่วมกัน ซึ่งกระบวนการเช่นนี้เกิดได้กับมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ที่สามารถใช้เหตุใช้ผลเป็น(logical animal)เท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือช่องว่าง(gap)ของความเข้าใจระหว่างคำพูด และสิ่งที่เข้าใจนี้เองที่ทำให้การเมืองเกิดขึ้นเพราะการจัดระบบระเบียบทางสังคมการเมืองที่สำคัญแบบหนึ่งคือการจัดการกับการใช้ภาษาว่าสิ่งใดที่สามารถ พูดได้/คิดได้/พูดไม่ได้/คิดไม่ได้  กระบวนการเช่นนี้เป็นการจัดการในเรื่องของการรับรู้ที่สังคมการเมืองกระทำกับสมาชิกในสังคมการเมือง ที่รองสิแยร์เรียกว่าการแบ่งแยกการรับรู้(the partition of the perceptible) [4]  ที่สมาชิกในสังคมถูกทำให้มี ความรู้ ในสิ่งที่สังคมการเมืองต้องการผ่านการใช้ วินัยทางภาษา ที่ส่งผลต่อการคิด/การพูด/การแสดงออกของสมาชิกในสังคมการเมือง สิ่งที่สมาชิกในสังคมการเมืองรู้จึงเป็นสิ่งที่สังคมการเมืองต้องการให้รู้ ซึ่งรองสิแยร์เรียกว่าความรู้ในฐานะสิ่งที่ควรทำ/ต้องทำ(knowledge as know-how, savoir) ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นการปลดปล่อยมนุษย์ออกจากพันธนาการแห่งความเขลา แต่เป็นความรู้ที่ขณะเดียวกันเป็นความไม่รู้(ignorance)ไปในเวลาเดียวกัน[5]

เรื่องคล้ายๆกันนี้มีการถกเถียงกันในหมู่นักการศึกษาอยู่พอสมควร โดยเฉพาะการที่ในยุโรปช่วงปลาย ศต. ที่ 18 – ต้น ศ.ต. ที่ 19 นั้น เกิดกระบวนการการเคลื่อนไหวต่างๆมากมาย ซึ่งโดยเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องที่อ้าง อำนาจของปวงชน(popular power)” ซึ่งเป็นผลจากข้อเขียนทางการเมืองของนักปรัชญา และนักทฤษฎีทางการเมืองในยุโรปเอง อย่างยิ่งหลังจากการเผยแพร่งานเขียนของอเลคซิส เดอ ทอคเกอร์วิลล์(Alexis-Charles-Henri Clérel de Tocqueville) อิทธิพลทางความคิดเหล่านี้ ต่างคาดหวังให้สมาชิกในสังคมการเมืองแสดงบทบาททางการเมือง(active role)มากขึ้นมากกว่าที่จะรอเป็นฝ่ายรอรับรู้(passive role)การตัดสินใจจากรัฐเท่านั้น สมาชิกในสังคมการเมืองทุกคนถูกเชื่อว่าต่างมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด และเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องสนใจรับฟัง[6] ประชาธิปไตยยุคใหม่จึงเกิดจากความต้องการให้สมาชิกของสังคมการเมืองที่ตระหนักรู้ถึงการมีอำนาจของตนเข้ามามีส่วนในการเมืองการปกครองมากขึ้น อันสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเจริญเติบโตขึ้นของระบบการศึกษา[7] และความกว้างขวางของการรับรู้(โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพัฒนาการของเทคโนโลยีในทางการสื่อสารมวลชน) ทำให้การเลือกตั้งตัวแทนที่ทำให้ได้รัฐบาลที่มีอายุทำงานยาวนานนั้น อาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคมการเมืองได้อย่างตรงประเด็น การเห็นว่าประชาธิปไตยตัวแทนนั้นมีช่องว่าง(gap)ระหว่างกลุ่มที่ปกครอง(The Governors) กับกลุ่มที่ถูกปกครอง(The Governed)จึงเกิดความพยายามที่จะทำให้ เสียง ของพวกผู้ที่ถูกปกครองนั้นเข้าถึงพวกผู้ปกครองยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มมีรัฐประชาธิปไตยในปลาย ศ.ต. ที่ 19 จำนวนมากบรรจุกระบวนการหนึ่งเข้าไปในรัฐธรรมนูญ  กระบวนการนี้ตั้งอยู่บนระบบทางความคิดที่ว่ารัฐบาลต้องดำเนินนโยบายในเชิงรุกด้วยการ เดินไปหาประชาชน ไม่ใช่เพียง รอประชาชนเข้ามาหาโดยสมาชิกของสังคมจะถูกให้ความหมายว่าเป็น ประชาชนที่มีอำนาจ(sovereign people)” และรัฐบาลต้องดำเนินกิจการสาธารณะด้วยฉันทามติ(government of consent)ของประชาชนผู้มีอำนาจนั้น[8]

มีต่อ http://gotoknow.org/blog/iammean/237906

[1] Peter A. Angles. The Harper Collins Dictionary of Philosophy. (New York : Harper Resource, 1992), p. 4.

[2] Solange Guénoun and James H. Kavanagh(interview), ibid, p. 11 - 12.

[3] รองสิแยร์ใช้คำว่า logos ทับศัพท์ตลอด ซึ่งในที่นี้จะแปลว่า ภาษา แต่ในความเป็นจริงเข้าใจว่ารองสิแยร์ต้องการใช้คำว่า logos เพื่อเน้นให้เห็นถึงนัยของการพูด/การคิด/การใช้ภาษาที่ต้องเป็นไปอย่างเป็นเหตุเป็นผล(rationality) เห็นจากการที่เขาอธิบายว่าการเข้าใจในการทางเมืองนั้นเกิดจากการ analogia ของแต่ละภาคส่วนของสังคม/ชุมชน ซึ่งคำว่า analogia ในภาษากรีก(αναλογία)นั้นสามารถแปลได้ว่า วิธีแห่งการใช้เหตุใช้ผล(by the means of rationality) เพิ่มเติมโปรดดูเปรียบเทียบกับเชิงอรรถที่ 3 โดยละเอียดโปรดดู ธเนศ  วงศ์ยานนาวา, แนวคิดทางการเมือง และสังคมของตะวันตก 2,” ประมวลสาระชุดวิชา แนวคิดทางการเมืองและสังคม. (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช), น. 3-1 – 3-65.

[4] Jacques Rancière, ibid, p. 22 – 23, 26. อนึ่งคำนี้ในภาษาฝรั่งเศสคือ le partage du sensible น่าสนในว่าคำว่า partage ในภาษาฝรั่งเศสนั้นมีนัย 2 แบบคือ มีร่วมร่วมกัน(to share, to have in common)” และ การแบ่งแยก(to divide)”

[5] Jacques Rancière, Thinking Between Discipline : an aesthetic of knowledge,” Jon Roffe(trans.) PARRHESIA(1, 2006), p, 1 – 12.

[6] Anthony Arblaster, ibid., p .37, 45. อนึ่งหนังสือของทอคเกอร์วิลล์ที่กล่าวถึงคือ Democracy in America ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1836(บางที่อ้างว่า ค.ศ. 1835)

[7] ความน่าสนใจเพิ่มเติมคือ การปลดปล่อย(liberate)ทางความคิด, ความรู้ของนักมนุษยนิยม(humanist)นั้น เป็นกระแสต่อต้านการครอบงำของศาสนจักร และระบบศักดินาสวามิภักดิ์(feudal) ซึ่งครองอำนาจในการมองโลกในช่วงยุคกลาง/ยุคมืด การนิยามวิชาความรู้ต่างๆทางสังคมศาสตร์ที่เกิดขึ้นหลังยุคเรเนอซองส์จึงมีชื่อเรียกรวมๆว่า ศิลปะแห่งการปลดปล่อย(Liberal Art)”. อนันตชัย เลาหะพันธุ, , เรื่องน่ารู้ในยุโรปสมัยกลาง. (กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์, 2550), น. 6.

[8] Alan F. Hattersley, ibid., p.194.

หมายเลขบันทึก: 237904เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2009 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

постоянные кошмары!!!!!!

http://Soki.TV

НЕКРАСИВЫЙ, 27 лет, (знак зодиака стрелец) знаем друг друга 4 года. Родом из деревни какой-то. Особо никогда не дружили и не встречались, пару раз гуляли сообща, с ним гораздо интереснее, буквально каждый день что-то рассказывает интересное и смешное, работает и хорошо зарабатывает, вроде собрался начинать свой бизнес, очень милый молодой человек, выбирает заманчивые маршруты путешествий на выходные и отпуска, каждый день собирает друзей и устраивает собантуйчики, знает про все праздники и мероприятия в Москве, знает что хочет и идет к цели.

Предлагаю Вам Молодежное видео <b><a href=http://soki.tv>секс знакомства бесплатно и без регистрации </a></b> и др, с огромным количеством информации по интересующей Вас теме. Для себя я обнаружила много интересного.

<a href=http://katalog.pi7.ru/index.php?actions=add><b>Добавить сайт в каталог</b></a>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท