beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สุนทรียสนทนา Dialogue ที่เทศบาลนครพิษณุโลก


โจทย์สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ต่อไปไม่มีโจทย์เก่า ถ้าเอาโจทย์เก่ามาคิด..จะคิดไม่ทัน

     เมื่อวันก่อน (๒๐ มกราคม ๒๕๕๒) ได้ข่าวจากนักการอิ่ม  จากก๊วนคุณสะอาด เทศบาลนครพิษณุโลกว่า จะมีวงเสวนาแบบสุนทรียสนทนา หรือ Dialogue ที่ห้องจุฬามณี ๒ ชั้น ๓ เช้าวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา 9.00-12.00 น. ให้เชิญอ.ภูคาไปด้วยน๊ะ (แต่อ.ภูคาแกคงไปไม่ได้เพราะอยู่ที่เพชรบูรณ์)  พระเอกของวงสุนทรียสนทนาจะเป็นคนนี้เลย (ยืมมาจาก file ของท่านอาจารย์มาลินี)

      ใน Year Plan กำหนดไว้ว่า ช่วงเช้าวันที่ 21 ต้องไปฟังบรรยายจากท่านดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยาที่ห้อง QS4401 ใน มน. ....ในสมองคิดว่าจะแบ่งภาคอย่างไรดี..อยากพบบุคคลที่เรียกว่าปราชญ์ทั้งสองท่านเลย..แถมเปิดบันทึกไปพบบันทึกของคุณบอย <ที่นี่> ทำให้ชีวิตสับสน (ยืมคำพูดของท่านอาจารย์ JJ มา--อยากไปทุกโปรแกรมแต่คงเป็นไปไม่ได้)...

      ลองตั้งสติให้ดี ก็พบว่าโปรแกรมของ ดร.อาจอง สามารถ shift เป็นตอนบ่ายได้..อย่างนั้นเราไปตอนบ่ายดีกว่า แล้วไปที่เทศบาลนครตอนเช้า...(จะได้ไปเรียนรู้ที่เทศบาลฯ)..จบ

      ๒๑ มกราคม ๒๕๕๒ เกือบ ๙ โมงเช้าไปโผล่ที่เทศบาลนคร ขึ้นไปชั้น ๓ ห้องจุฬามณี ยังไม่เห็นมีใครมา พบนักการอิ่มให้ไปนั่งในห้องก่อน สักพักพบคุณหมอสาโรช พร้อมทีมงานมีคุณสามารถ เอื้อมเก็บ และ คุณไพฑูรย์ มาประกอบ จากรพ.พุทธชินราชกำลังเดินมาที่ห้อง..(แทรกภาพ)

      ความจริงผมเคยไปร่วมสักเกตวง Dialogue ที่รพ.พุทธชินราช ของคุณหมอสาโรช มา 2 ครั้งแล้ว แต่เข้าใจว่า ในการจัด Dialogue ของแต่ละแห่ง ย่อมมีบริบทที่แตกต่างกัน..ลองค้นคำ Dialogue ที่ gotoknow ก็ได้ เรื่องเล่ามา ๒ เรื่อง...เรื่องแรกเป็นของท่านอาจารย์ประพนธ์ <ที่นี่> และเรื่องที่สองเป็นเรื่องของคุณ  KMI_MuJalin <ที่นี่>

     หลังจากที่ผมและทีมงานรพ.พุทธฯ เข้าไปจับจองที่นั่งในห้องแล้ว ทีมงานของเทศบาลเริ่มเข้ามานั่งจนเกือบเต็มห้อง คุณหมอสุธีได้พาพระเอกของห้องเข้ามา ผมก็ได้ไปกอดท่าน (ครูบาฯ) โดยมีคุณหมอสุธี บันทึกภาพเอาไว้ (ไม่มีเวลาไปดูดมา..อิอิ)     

      Capture (ในงาน)..คุณหมอสุธีเปิดประเด็นเล่าว่า ท่านครูบาสุทธินันท์ มีภาระกิจรับคำเชิญที่แม่สอด จะผ่านมาทางพิษณุโลก ทางหมอสุธีก็เลยไปเชิญตัวมาก่อน (ก่อนส่งต่อไปให้คณะฯสหเวช..อิอิ) แล้วมอบให้นักการอิ่มบอกว่า ไหนๆ ท่านครูบาก็มาแล้ว โปรดใช้งานให้คุ้ม..นี่ก็คือที่มา..อิอิ (เล่าเสียยาวเลย)

     หลังจากนั้นก็เริ่มแนะนำตัวเองกันว่า "ไผเป็นไผ" ราวๆ ๒๐ คน (แทรกภาพ) ไป ๑ รอบ ต่อด้วยความคาดหวังของแต่ละคน (แต่ตรงนี้ ความคาดหวังของหลายคนตรงกัน--คือไม่ได้คาดหวังอะไร--แค่อยากมาเรียนรู้ ก็เลยไม่ได้คุยกันในประเด็นนี้)

     ท่านครูบาฯ เปิดประเด็นเล่าความหลังว่า...ไปขอลูกสาวเขา เขาไม่ให้ รออยู่ ๘ ปี คราวนี้ก็จะมาฉุดลูกสาวเขา เลยมาที่พิษณุโลกครั้งแรก มาถึงตี ๒...จบครับเพราะไม่มีใครถามประเด็นต่อ

      คำถามว่า "เจ้าเป็นไผ" ตรงนี้ฝรั่งเขากล้าแสดงออกกว่าคนไทย..การถามคำถามนี้ ทำให้แต่ละคนต้องมองเข้าไปในตัวเอง ทำความรู้จักกับตัวเองให้มากขึ้น มองให้เห็นตัวตน มองให้เห็นความรู้ในตัวตนที่ซ่อนอยู่ไม่ค่อยออกมา มองให้เห็นความดีและความงามในตัวเองด้วย....ประโยคเด็ด "กว่าจะเกิดมาเป็นคนนี่ เราเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในท้องแล้ว"

      ที่ขอนแก่น มข. เอาอาจารย์ไปนอนที่มหาชีวาลัยอีสาน 2 คืน ที่สำคัญคือเอาคนจากที่เดียวกันไปอยู่ด้วยกัน..ทำให้สนิทสนมกันมากขึ้น เอาเรื่องมาคุยกันมันไม่ธรรมดา...ตกกลางคืนเอาความดีของแต่ละคนมารวมกันเป็นละคร

      ในที่ทำงาน มันมีวัฒนธรรมองค์กร และระเบียบต่างๆ แต่จริงๆ แล้วมันมีวัฒนธรรมส่วนตัวด้วย

      ตอนเรียนที่สถาบันพระปกเกล้า ถ้าเราอยากจะฟังใคร เขาพาไปฟัง หรือถ้าเราอยากไปพื้นที่ไหน เขาก็พาไป...ตอนไปที่ใต้ พบว่าเขาอยู่กันด้วยความหวาดระแวง...พอ ๔ โมงเย็นต้องเข้าอยู่ในบ้านแล้ว

      ที่พิษณุโลก ตัวแม่ทัพนั้นสำคัญมาก....ในชีวิตเราถ้ามีตัวอยากรู้แล้วชีวิตจะไม่เซ็ง

       (ครูบาฯ) เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนไปเร็วมาก อเมริกาที่เป็นจ้าวระบบหรือระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ก็มาล้ม (ระบอบทุนนิยม)  ก่อนหน้านี้เคยไปจีน...ไปตลาดเช้าตี 4 ตี 5 ที่นั่นเขาไม่เปิดไฟ (ประหยัด), คนจีนสูบบุหรี่เยอะมาก..ตอนนี้จีนเปิดเกมในภูมิภาค ทำเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง เปลี่ยนพลังงานน้ำเป็นพลังงานไฟฟ้า

        โจทย์สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ต่อไปไม่มีโจทย์เก่า ถ้าเอาโจทย์เก่ามาคิดจะคิดไม่ทัน...กระบวนการเรียนการสอนไม่มีถูกไม่มีผิด...และถ้าทำให้ใจนิ่ง เราจะเดินกันไปได้..

        คำตอบของโจทย์ไทย หาได้ที่อินเดีย..ที่อินเดียมีพยัญชนะ 200 กว่าตัว กว่าจะทำให้คนรู้หนังสือมันยาก....ที่อินเดีย คนอินเดียอยู่ได้ด้วยใจ....มีเทวสถานหลายแห่งสร้างมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้า และเดี๋ยวนี้ก็ยังมีคนดูแลอยู่ ที่ยังอยู่ได้เพราะการมีศรัทะ และการสืบต่อ ซึ่งถ้าเรามาดูในไทย..เราจะพบโบราณสถานที่อายุน้อยกว่าในอินเดีย (คืออินเดียโบราณสถานของเขายังมีคนเข้าไปใช้ทำกิจกรรมต่อเนื่องจากโบราณมาถึงปัจจุบัน) จริงๆ แล้วเขา (คนอินเดีย) อยู่ยากกว่าเราเยอะ...ที่ได้ไปอินเดียเพราะว่าส่งโครงการเข้าประกวดและชนะเขาเลยให้ไปดูงานที่อินเดีย-เป็นโครงการเรื่อง ICT เพื่อพัฒนาชนบท

       เมื่อไปดูงานพบว่า เรื่อง ICT เพื่อพัฒนาระบบเป็นเรื่องของผู้หญิงทั้งหมด..ที่อินเดียผู้หญิงต้องไปขอผู้ชาย เอาสินสอดไปให้..มันก็มีเจ้าหนุมกำมะลอ เที่ยวหลอกให้ผู้หญิงมาขอ เอาสินสอด เขาก็เอารูปเจ้าหมอนี่ใส่ใน web และคอยจับตัว ในที่สุดก็จับได้ เลยโดนซ้อมเสียน่วม..

       เมื่อไปอินเดียเห็นโจทย์อินเดีย มันหนักมาก...มาเห็นโจทย์ไทยมันดูจิ๊บจ๊อยมาก....เวลาเราดูโจทย์ในไทย อยาไปดูในสังคมใหญ่ ให้ดูเฉพาะโจทย์ในองค์กรหรือสังคมเล็กๆ ของเรา....อย่างใครจะไปหาครูบาฯ เราก็ชอบเข้าไปในครัว ให้ไปช่วยกันทำครัว..เลยได้สูตรใหม่ เอายอดมะรุม (ที่มีดอก) มาผัดไข่ มันอร่อยมาก....เป็นการเรียนรู้วิธีการทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย..

       การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย...เวลา(เริ่ม)ทำ ให้ทำจากเรื่องเล็กๆ..แต่ทว่าเรื่องเล็กๆ นี้ ทำให้มันพิเศษกว่าคนอื่นๆ  ตอนทำต้องทำให้มีความสุข...

       (เล่าเรื่องทัวร์) ทัวร์ไหนๆ ในโลก สู้ทัวร์ที่ทำด้วยใจของครูบาฯ ไม่ได้

       ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ..จะมีคนตกงานเยอะ ที่พิษณุโลกจะเป็นศูนย์ฝึกอบรมเรื่อง "จิตวิวัฒน์ และจิตตปัญญาศึกษา) จะมีงบประมาณเข้ามา 6-7 พันล้าน เพื่ออบรมคนที่ตกงาน....

      (ครูบา) ผมเป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ เวลาประชุมมีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน มีคนเข้าประชุม 100 กว่าคน มีนักกฎหมายอยู่เต็ม..เวลาจะทำอะไรมีการออกเป็นกฎหมาย กฎระเบียบ..ทีนี้เวลาที่เราทำอะไรในกฎระเบียบ..มันทำยากมาก...ดังนั้นวิธีทำงานของเราท่ามกลางกฎระเบียบคือ "การทำงานอิงระบบ" หมายความว่า เวลาเราทำงานอย่าเพิ่งเอากฎเกณฑ์มาวาง เอางาน ความสุขและความสำเร็จเป็นตัวตั้ง จะทำให้การทำงานมันง่าย...แต่เราไม่ได้ทำอะไรที่ผิดระเบียบ..ถ้าต้องการลายเซ็น เราก็คุยกันให้เข้าใจให้รู้เรื่อง อันไหนผ่อนปรนกันได้ก็ทำ (อันไหนไม่ได้ก็ไม่ทำ) ทำงานแบบยืดหยุ่น ทำงานแบบเข้าใจกัน ให้มาร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน...จะไม่มีเรื่องเขาเรื่องเรา มีแต่จะคอยช่วยกัน..จริงๆ แล้วขนาดเราช่วยกันยังยากเลย ดังนั้นทำไมเราจึงไม่หาวิธีช่วยกัน....

     (หมอสุธี) "คณะพยาบาล มช." ให้ทีมเทศบาลไปอบรมให้เขา ๒ วัน เพื่อให้เขาได้คำตอบว่า "ทำอย่างไรจึงจะทำงานอย่างมีความสุข"....เวลาเราไป...เราไปสอนเขาให้เขา "ฟัง" และ "คุย" กัน (อย่างมีระบบ) คือเป็นการ "ทำลายกำแพง" (ที่เขากั้นกันเองทั้งนั้น)

      การที่จะทำให้เขา "เปิดใจ" รับฟังกันและกัน...ต้องเอาวิทยากรจากภายใน (ความจริงก็คือผลัดกันเป็นวิทยากร...ผ่าน Morning talk, Lunch talk หรือ dinner talk ก็ได้)...."การทำงานหรือเรื่องทุกอย่างในชีวิต เราต้องทำให้มันมีความสัมพันธ์กัน"

      พอผ่านกระบวนการของทีมเทศบาลแล้ว เขา (พยาบาล) สรุปกันว่า ที่เขาไม่มีความสุข เป็นเพราะเขาไม่รู้จักตัวเอง และเขาไม่รู้จักคนอื่นๆ....ถึงตอนนี้ เขาคิดหาคำตอบได้แล้วว่าจะทำอย่างไร...เขาจะพบปะพูดคุยกันบ่อยๆ และเขาจะหาวิทยากรภายใน (พวกของเขา) เขาจะพูดคุยกันบ่อยๆ....

      (ครูบา) เรื่องกิจกรรมนักศึกษา "ทำค่าย".....มีนศ.ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าหมู่บ้านไป 3 วัน ไปคุยกับชาวบ้าน มีหลายปัญหาที่นศ.ตอบไม่ได้ เขาได้บทเรียนด้วยตัวเอง พอเขากลับไปมหาวิทยาลัย อาจารย์ให้อะไรเขาก็ทำ....

      (ครูบา-สอนให้คิด) มีตัวอย่างนักเรียนชั้นประถม ให้ทุน 500 บาท ไปจัดค่าย เด็กป.๕ ทำค่าย "ทำขนมจีน".. ทำไมทำเก่งนัก...ได้ความว่าที่บ้านของเขามีอาชีพทำขนมจีนนั่นเอง

      ที่วิทยาลัยอิสลาม..ถ้ามีการตกลงกันว่า ปีแรกนศ.ไม่เรียนได้ไหม เอาแค่เกียรติบัตร ถ้าผลของนศ.ส่วนใหญ่ว่าอย่างนี้ อาจารย์ควรยอมรับได้หรือไม่..

      (ครูบา-เรื่อง "สมเด็จพระเทพฯ นักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่") ....ได้มีโอกาสร่วมโต๊ะเสวย ในงานพระราชพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ที่มมส.  ได้สนทนาเรื่อง "เอกมหาชัย" (พืชน้ำมัน-ไม้ตะกุลมะกอก)...ซึ่งถ้าปลูกได้ 5 ปีแล้ว เอามาบีบเป็นน้ำมันใส่รถวิ่งได้....สมเด็จพระเทพฯ ท่านมีข้อมูลเรื่องนี้น้อย..พอสักพักท่านไปค้นเรื่องนี้ผ่านมือถือของท่าน..แล้วท่านตรัสว่า "รู้แล้ว"....พระองค์ท่านเป็นนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่เป็น "ของโลก"

      (หมอสุธี) อยากเชิญ ดร.วรภัทร์ มาพูดให้ฟัง เรื่อง "การเรียนรู้" มันมีทั้ง

  • Hard side และ
  • Soft side

      Hard side เรารู้เรื่องกันดีอยู่แล้ว แต่ soft side เราไม่ค่อยรู้กัน เช่น เรื่องของจิตวิญญาณ เรื่องการมีธรรมะในหัวใจ เรื่องจิตวิวัฒน์...ที่น่าเป็นห่วงคือทีมที่ไม่มีสตางค์ ไปขอเงิน สสส.มา แต่เราไม่เข้าใจ

      การทำโรงเรียน "วิถีพุทธ" เราก็ไม่เข้าใจ เราไปเอาเรื่องพิธีกรรมเข้าไปสอนในโรงเรียน แต่จริงๆ แล้ว concept ของมัน คือ การที่เอาครูซึ่งมีธรรมะปฏิบัติในตัวอยู่แล้ว ไปสอนนักเรียน     

      ภายในมหาวิทยาลัยก็เหมือนกัน ถามว่า วิชา "คุณธรรม จริยธรรม" ต้องแยกออกมาเป็นวิชาเพื่อสอนหรือไม่..ถ้าคิดให้ดีไม่ต้อง เพราะถ้าเราใส่เรื่องนี้เข้าไปอยู่ในตัวครูบาอาจารย์แล้ว นิสิต-นักศึกษาก็จะได้ Role model ไปแบบอัตโนมัติ...

      "จิตตปัญญาศึกษา" นั้น เขาเน้นให้อาจารย์ที่มีธรรมะมาสอนแบบเข้าใจเด็กนั่นเอง

     (ต่อไปเป็นการฉาย CD ทีมเฮฮาศาสตร์ของพ่อครูบาฯ).....

      คุณหมอสาโรช Share "Dialogue" เรื่อง โครงการที่รพ.พุทธ เรื่อง "อาสาสมัครสวล." 200 คน แบ่งเรื่องการคุยเป็น ๒ รอบ คือ เรื่องความปลอดภัย กับ อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน (ประเด็นสิ่งแวดล้อม)

      คุณ "ยุ้ย" จากเทศบาล Share ชีวิตการทำงานของตนเองว่าเดิมเคยติดกรอบและไม่ไปหาคนอื่น แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปตรงกันข้าม..

      Beeman Share เรื่อง โครงการ "จิตอาสา" (ติดตามได้ในบันทึกอื่น)

      สังเกตว่า ครั้งนี้ในวงไม่ค่อยได้ Share กันมาก มี Share กันไม่เกิน 8 ท่าน ทั้งนี้เป็นเพราะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกันอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งเป็นเพราะทุกคนตั้งใจจะมาฟัง มากกว่ามา Share...การมา dialogue วันนี้เป็นเพียงบทเริ่มต้นเท่านั้นเอง....ท่านผู้อ่านบันทึกนี้หากคาดหวังไว้สูงก็จะไม่ได้อะไร แต่ถ้าไม่ได้คาดหวังอะไร และอ่านอย่างวิเคราะห์แล้ว ผม (คิดเข้าข้างตัวว่า) ทุกบันทึกที่ผมเขียนมันมีความรู้ซ่อนอยู่ สุดแต่ว่าบันทึกนั้นไปตรงใจใครคนนั้นหรือไม่เท่านั้นเอง...อิอิ

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 236709เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ คุณ beemanท่าทางคุณจะร฿ภาษาจีนนะค่ะ

เคยเรียนใช่ไหมค่ะ

 

สวัสดีครับคุณ berger

  • ผมไม่ทราบภาษาจีนหรอกครับไม่เคยเรียน
  • แต่ความที่อยากรู้ก็เลยส่งลูกชายและลูกสาวไปเรียนครับ
  • ทั้งสองคนได้เรียนภาษาจีนจนจบป.๖ ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • วันนี้เด็ก ๆ ที่โรงเรียนโชคดีค่ะ
  • ที่พ่อครูบาและคณะไปเยี่ยมค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/sutthinun/236619
  • และหลาย ๆในเมืองพิษณุโลกก็โชคดีด้วยนะคะ

สวัสดีครับคุณครูคิม

  1. ผมตามครูคิมเข้าไปบันทึกพ่อครูบาแล้วครับ

เข้ามาคาดหวังในการได้อ่านเนื้อหาสุนทรีสนทนาว่ามีอะไรบ้าง
แต่ก็ผิดหวัง
แต่ก็ไม่คิดอะไรเพราะเป็นเพียงการคาดหวัง
วงสุนทรีสนทนาแตเละจังหวัดก็จัดกันเป็นกลุ่มๆเล็กๆเช่นนี้
เมื่อการสนทนาสิ้นสุดก็เลิกลากันไปรู้กันในกลุ่มแคบๆ
อยากให้การสนทนาประจักษ์ผลที่ชัดเจนกว่านี้ครับ

  • สวัสดีครับ อ.บีแมน
  • ว๊า ! พลาดโอกาส กอดพ่อครูบาอีกแล้ว
  • ขอบคุณครับสำหรับข่าวคราว เข้าไปบล็อกอาจารย์ทีไรไม่เคยผิดหวัง ได้ความรู้กับมาทุกครั้งครับ
  • อาจารย์ไปดูโจโฉ แตกทัพเรือมาหรือยังครับ

เรียนท่านสุวัฒน์

  • ความจริงยังเขียนไม่จบ
  • ความจริงอีกอย่าง นี่เป็นครั้งแรกของ dialogue ดังนั้นจึงยังคาดหมายอะไรไม่ได้ เพราะผู้ที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจ dialogue
  • dialogue จึงไม่สามารถอ่านแล้วเข้าใจ แต่ต้องผ่านทักษะการปฏิบัติ
  • ขอบคุณ ท่านอาจารย์หนึ่งที่เข้ามาเยี่ยมบ่อยครั้ง
  • โจโฉแตกทัพเรือภาคสองของจอห์นวู ยังไม่ได้ไปชมครับ รอไว้ชมทางเคเบิลครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ beeman

  • เข้ามาทักทายจากการห่างหายไปนานค่ะ 
  • ขอใช้คำพูดเดียวกับอ.หนึ่งนะค่ะว่า " เข้าไปบล็อกอาจารย์ทีไรไม่เคยผิดหวัง ได้ความรู้กับมาทุกครั้ง "
  • รอ VCD ของอาจารย์ซะนานค่ะ  แต่มารู้ทีหลังว่าที่อยู่ไม่ชัดเจนขอโทษด้วยค่ะ ไปพิษณุโลกคราวหน้าจะเข้าไปเยี่ยมอาจารย์ค่ะ และจะได้ขอรับ VCD มาด้วย.... 
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ครูหญ้าบัว

  • ความจริงขอสารภาพว่ายังมิได้ส่ง DVD ไปให้ครับ
  • ถ้าส่งแล้วจะโทรไปบอกครับ..ขออภัยด้วย

อาจารย์เป็นปราชญ์ในใจศิษย์จริงๆค่ะ  ไม่สงสัยกับแนวคิดและความเชื่อแห่งตนของครูแป๋มที่ถูกหล่อหลอมมาจากสถาบันแห่งนี้ สุดยอดและยอดเยี่ยมที่สุดค่ะอาจารย์

p'pink

สวัสดีครับ อาจารย์ beeman

นึกว่า Dialogue ครั้งนี้จะมีเรื่องเกี่ยวกับผึ้งบ้าง

แต่ก็ไม่มี ไม่เป็นไรครับ

ขอร่วมเรียนรู้ Dialogue ด้วยคนนะครับ

แต่ยังไงก็ไม่หลุดคอนเซปท์อยู่ดีครับ

เหลือบไปเห็นก่อนจบ มีท่าน "กูรูผึ้ง" แชร์เรื่องจิตอาสาครับ

 

มาอีกรอบนะครับ

ขอเชิญอาจารย์ไปเยี่ยมชมบันทึกเรื่อง Dialogue ของที่ทำงานผมเอง ที่ผมได้มีโอกาสไปร่วมสังเกตการณ์ครับ

http://gotoknow.org/blog/observer/259202

หากอาจารย์มีข้อเสนอแนะ หรือคิดเห็นแต่ประการใด ก็จะยินดีมากเลยครับผม

แต่ว่า...

บันทึกผมไม่มีเรื่อง "ผึ้ง" นะครับ

  • แวะไปเยี่ยมคุณ ซวง แล้วครับ
  • ขอบคุณครับ
บุญยัง ลาขุมเหล็ก

สนใจสุนทรียสนทนา ช่วยแนะนำด้วยครับ

  • มีวิธีปฏิบัติที่หลากหลาย
  • เริ่มง่ายๆ ก่อน โดยเชิญคนเข้าร่วมคุยกันในวงน้ำชาสัก ๓-๕ คนก่อน
  • หาหัวข้อคุยกันสักหัวข้อ
  • ผลัดกันพูดในประเด็นนั้นทีละคน ที่เหลือต้องเป็นผู้ฟังที่ดี
  • ผู้ฟังต้องไม่แย้งความคิดของผู้พูด แต่ซักถามในเชิงชื่นชมให้เล่าต่อได้
  • ควรกำหนดเวลาไม่ให้แต่ละคนพูดนานเกินไป
  • เมื่อได้พูดครบทุกท่านแล้ว กลับมาพูดรอบใหม่ได้
  • ไม่ควรคุยกันนานเกินไป ครั้งละ ๑-๓ ชั่วโมง ระหว่างนั้นก็มีขนมน้ำชาให้ทานกันได้ตลอด
  • ที่สำคัญคือผลัดเปลี่ยนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ..
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท