คลังกู้เงินกระตุ้น ศก. 7 หมื่นล้าน คาดหนี้พุ่งทะลุเพดาน


ธปท.ชี้งบขาดดุลถึง 5% นายกฯยันไม่เข้าIMF

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เน้นการทุ่มงบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนทุกภาคส่วน ทำให้ต้องกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาว จนอาจส่งผลให้ต้องหนี้สาธารณะของประเทศทะลุเพดาน 50%นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค และโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศก.) กระทรวงการคลัง กล่าวตอนหนึ่งในงานเสวนาในหัวข้อ"ผ่ามาตรการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ" ว่า หลังจากนี้รัฐบาลจำเป็นจะต้องกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นงบประมาณในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านสร้างงานให้แก่ประชาชน และลงทุนในโครงการต่าง ๆ โดยขณะนี้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กำลังติดต่อกับ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) และธนาคารโลก (เวิด์ลแบงค์) เพื่อขอกู้ยืมเงินเป็นมูลค่าแห่งละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 7 หมื่นล้านบาทนายเอกนิติ กล่าวว่า สำหรับการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศนั้น สามารถทำได้ในวงเงินไม่เกิน 10% ของงบประมาณรายจ่าย 1.83 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าที่กู้ได้ทั้งสิ้นประมาณ 1.8 แสนล้านบาท ทั้งนี้ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราส่วนหนี้สาธารณะที่ระดับ 36% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) และคาดว่าในปี 2553 จะเพิ่มขึ้นถึง 42% ซึ่งเป็นการคำนวณเบื้องต้นโดยประเมินจากผลกระทบของมาตรการรัฐที่มีต่อหนี้ธารณะแล้ว อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าในอนาคตมีโอกาสที่หนี้สาธารณะอาจปรับตัวขึ้นไปถึงระดับ 60% ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่ระบุว่าควรมีหนี้สาธารณะที่ระดับสูงสุดที่ 50%  "รัฐบาลไม่ได้มองว่าหนี้สาธารณะสูงกว่าเพดานเป็นเรื่องอันตรายเสมอไป เพราะหากเพื่อให้มีการใช้เม็ดเงินทุกส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้มีการเติบโตในอนาคต ซึ่งแม้ในช่วงต้นจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น แต่อนาคตจีดีพีของประเทศก็จะสูงตาม และก็จะส่งผลให้หนี้สาธารณะในระยะยาวปรับตัวลดลงในที่สุด" นายเอกนิติกล่าว และว่า นอกจากมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลยังมีนโยบายที่จะเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนขอรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีวงเงินกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่ารวมทั้งในส่วนของบประมาณเดิมที่ยังไม่เบิกจ่าย และงบประมาณใหม่ของปี 52 ให้เกิดการใช้จ่ายประมาณ 85% ของวงเงิน ซึ่งสูงกว่าค่าการลงทุนในปีที่ผ่านมา ที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพียง 70% ซึ่งล่าสุดสำนักงานรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง ได้ประสานงานไปยังรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งแล้ววันเดียวกันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) โดยนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ว่า ที่ประชุม กรอ.มีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการ 4 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัด คณะกรรมการลอจิสติกส์ คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก และคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้  นอกจากนี้ ยังเตรียมพิจารณากรอบภาษีนิติบุคคลว่า จะปรับลดลงได้หรือไม่ ซึ่งในเรื่องนี้ รมว.กระทรวงการคลัง กำลังนำไปพิจารณานายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม กรอ.ยังมีแนวคิดจัดตั้งกองทุนผู้ประกอบการรายย่อย โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลและธนาคารพาณิชย์ คาดว่าจะมีวงเงินประมาณ  5 หมื่นล้านบาท เชื่อว่าสามารถช่วยเอสเอ็มอีได้ในระยะยาว ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มนักวิชาการออกมาระบุว่าใช้งบประมาณของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอาจพาชาติต้องกลับเข้ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) รอบสอง ว่า ไม่มี ตนเองดูอย่างละเอียดรอบคอบอยู่แล้ว อีกทั้งการนำเงินคืนสู่ระเป๋าประชาชน ไม่ได้ใช้ทุนสำรองที่มีอยู่ ส่วนตัวเลขหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น ก็ได้มีการคำนวณตัวเลขจากจำนวนเงินของงบกลางปีบวกกับโครงการการแทรกแซงราคาพืชผลทางการเกษตรแล้ว เนื่องจากต้องไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องนี้ ฉะนั้นเรื่องเป็นหนี้ไอเอ็มเอฟจะไม่เป็นปัญหาอย่างแน่นอนนางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวระหว่างงานสัมนา "อสังหาริมทรพัย์ไทยฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างไรประจำปี 2552" ภายใต้หัวข้อ "ทิศทางเศรษฐกิจและตลาดเงินที่มีผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์" ว่า วิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบภาคอสังหาริมทรัพย์เหมือนภาคธุรกิจอื่น เพราะประชาชนไม่กล้าใช้จ่าย ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อ  "ซึ่งนอกเหนือจากที่รัฐบาลออกมาตรการให้นำเงินต้นผ่อนบ้านที่ซื้อในปี 52 ไม่เกิน 3 แสนบาท กับดอกเบี้ยผ่อนบ้านไม่เกิน 1 แสนบาทมาลดหย่อนภาษีได้แล้วนั้น ขณะนี้กำลังพิจารณาการเพิ่มเพดานการหักลดหย่อยภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยซื้อบ้านจาก 1 แสนบาท เป็นมากกว่า 2 แสนบาทสำหรับผู้ซื้อบ้านใหม่ราคาไม่เกิน 8 ล้านบาทในปี 52 และนโยบายการจัดตั้งบริษัทสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อค้ำประกันการซื้อบ้าน เพื่อให้ธนาคารปล่อยกู้ได้มากขึ้นและจำนวนเงินดาวน์ลดลง ประกอบกับนโยบายให้ธนาคารรัฐเพิ่มทุนเพื่อปล่อยกู้ให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรกได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองจะช่วยให้เร่งการซื้อและโอนได้มากขึ้น และทำให้ธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว"นางอมรา กล่าวว่า สำหรับเสถียรภาพในประเทศขณะนี้มองว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามการขาดดุลงบประมาณปี 52ยังขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 2.5% ของจีดีพี เมื่อรวมการขาดดุลงบประมาณกลางปีเพิ่ม1 แสนล้านบาทจะทำให้ขาดดุลเป็น 3.5% ของจีดีพี ซึ่งประเมินว่ารัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณ 5% แต่ก็ยังสามารถจะขาดดุลเพิ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีก ซึ่งการขาดดุดังกล่าวเมื่อเทียบกับต่างประเทศถือว่ายังน้อย เช่น สหรัฐมีการขาดดุลถึง 10%นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธอส.เตรียมเข้าหารือกับนายกรณ์ จาติกวาณิช รมว.คลัง เพื่อให้พิจารณาขยายมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม โดยให้ครอบคลุมถึงผู้ซื้อบ้านมือสองและสร้างบ้านเองภายในปี 52ามารถนำเงินต้นที่ซื้อบ้านในวงเงินไม่เกิน 3 แสนบาทมาลดหย่อนภาษีได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ได้ทั่วถึงกัน และทำให้การตัดสินใจซื้อบ้านได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ธอส.มีสภาพคล่องถึง 7 หมื่นล้านบาทที่จะปล่อยกู้นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีก โดยดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ควรต่ำกว่า 6% เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคเพราะหากอัตราดอกเบี้ยลดลง  1% จะเพิ่มกำลังซื้ออีก 7-8% ซึ่งหากไม่เร่งลดดอกเบี้ยอาจทำให้ไม่ทันสถานการณ์ และเห็นว่า ธปท. ควรลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำที่สุดสำหรับการปล่อยกู้สถาบันการเงินเพื่อให้มีต้นทุนต่ำขณะที่นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เตรียมเสนอให้รัฐบาลพิจารณาลดภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7% เหลือ 4% เป็นเวลา 1 ปี เพื่อกระตุ้นตลาดรถยนต์และสินค้าประเภทอื่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายรถยนต์ในประเทศในปี 52 จากเดิมที่ตั้งเป้า 5 แสนคัน เป็น 5.5 - 6 แสนคัน หรือเพิ่มขึ้น 5 หมื่น- 1 แสนคัน เนื่องจากทำให้รถยนต์มีราคาลดลงเฉลี่ยคันละ 2-3 หมื่นบาท นอกจากนี้ยังจะเสนอให้รัฐบาลลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 25% เพื่อจูงใจต่างชาติเข้ามาลงทุนด้วยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีต รมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง "มองอนาคตประเทศไทย" ว่า ปัญหาเศรษฐกิจโลกคงจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2-3 ปี ดังนั้นรัฐบาลจะต้องวางแผนเพื่อรองรับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและภาคการส่งออกที่จะชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในอีก 2-3 ปี ซึ่งรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณรายจ่ายของรัฐ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญที่สุดในภาวะปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพ อย่ามองเพียงปัญหาระยะสั้น โดยจะต้องจัดสรรงบประมาณตามความสำคัญของโครงการ ไม่ใช่ตามความสำคัญของพรรคการเมือง และต้องมองอนาคตว่า ในปี 2553 รัฐบาลจะต้องทำงบประมาณขาดดุลอีก 400,000-500,000 ล้านบาท รัฐบาลจะนำเงินมาจากที่ไหน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับภาคการคลัง

แนวหน้า  เดลินิวส์  ไทยโพสต์  กรุงเทพธุรกิจ  ไทยรัฐ 22 มกราคม 2552 

หมายเลขบันทึก: 236649เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2009 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท