cognitive theories


cognitive theories

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม    (Behavioral  Learning  Theories)

  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า  (Stimulas)  และการตอบสนอง (Response)  โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ  การตอบสนองอันนำไปสู่ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม  คือการเรียนรู้นั่นเอง  ผู้นำที่สำคัญของ  กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov)  ธอร์นไดร์ (Edward  Thorndike)  และสกินเนอร์  (B.F.Skinner)

            ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical  Conditioning)

ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้  คือ  พาฟลอฟ  ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย  เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง  ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย  การทดลองแบ่งออกเป็น  3  ขั้น  คือ  ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข  (During Conditioning)  และหลังการวางเงื่อนไข  (After Conditioning)

            อาจกล่าวได้ว่า  การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  คือ  การตอบสนองที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ  สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม  เรียกว่า  พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent  Behavior)  พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์  คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้นประกอบด้วยคำสำคัญ  ดังนี้

            สิ่งเร้าที่เป็นกลาง  (Neutral  Stimulus)  คือ  สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง 

            สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข  (Unconditioned Stimulus  หรือ  US ) คือ  สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ

            สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  (Conditioned Stimulus  หรือ  CS)  คือ  สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว

            การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned Response  หรือ  UCR)  คือการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

            การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข  (Conditioned Response  หรือ  CR)   คือ  การตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว

            กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ  มีอยู่  3  ประการอันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข  คือ

            - การแผ่ขยาย  (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความหมายคล้ายคลึงกันได้

            - การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้

            - การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction)  คือ  การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข  การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข  (Spontaneous  recovery)  หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว  สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกเมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant  Conditioning)

ผู้ที่เป็นเจ้าของทฤษฎีนี้คือ  สกินเนอร์  โดยที่เขามีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของพาฟลอฟ  สกินเนอร์ได้อธิบาย  คำว่า  พฤติกรรม  ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ  3  ตัว  คือ  สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน (Antecedent)  พฤติกรรม  (Behavior)   ผลที่ได้รับ  (Consequence)  ซึ่งเขาเรียกย่อๆ  ว่า A-B-C  โดยทั้ง  3  จะดำเนินต่อเนื่องกันไป  ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ  คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของสกินเนอร์  มีดังนี้คือ

            การเสริมแรง  (Reinforcement)  คือ  สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งจะแยกเป็น  2  ประเภท  คือ  การเสริมแรงทางบวก  (Positive Reinforcement)  คือสิ่งที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น  และการเสริมแรงทางลบ (Negative  Reinforcement)  คือ  สิ่งที่เมื่อนำออกไปแล้วจะทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมมากขึ้น

            การลงโทษ  (Punishment)  การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ  แต่การอธิบายของสกินเนอร์กรเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน  โดยเขาได้เน้นว่าการลงโทษนั้นเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม

เปรียบเทียบการเสริมแรงทางบวก , การเสริมแรงทางลบและการลงโทษ

ชนิด

ผล

ตัวอย่าง

การเสริมแรง   ทางบวก

พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคลนั้นต้องการ

ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้วได้รับคำชม  จะทำการบ้านส่งตรงเวลาสม่ำเสมอ

การเสริมแรง   ทางลบ

พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลดน้อยหรือหมดไป

ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนดเวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไปดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำรายงานให้เสร็จตามเวลา

 

การลงโทษ 1

พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น

เมื่อถูกเพื่อนๆ ว่า โง่ เพราะตั้งคำถามถาม  ผู้สอน  ผู้เรียนคนนั้นเลิกตั้งคำถามใน      ชั้นเรียน

การลงโทษ 2

พฤติกรรมลดน้อยลง   เมื่อนำสิ่งเร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป

ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจากครูสอน  ในครั้งต่อไปเขาจะไม่ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก

            ตัวชี้แนะ  (Cueing)  คือการสร้างสิ่งเร้าให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมเพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ  ภายในระยะเวลาที่ต้องการ  ซึ่งบุคคลมักจะลืมอยู่บ่อยๆ  เช่น  ครูมักจะใช้วิธีการสั่งมากกว่าการชี้แนะ  เป็นต้น

            ตัวกระตุ้น  (Prompting)  คือการเพิ่มตัวชี้แนะเพื่อการกระตุ้นพฤติกรรม  ซึ่งมักจะใช้ภายหลังจากการใช้ตัวชี้แนะแล้ว

ตารางการให้การเสริมแรง

            ในการทดลองของสกินเนอร์ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำเอง  ดังนั้นระยะเวลาในการให้การเสริมแรงจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก  ตารางการให้การเสริมแรงสามารถแยกออกได้ดังนี้

ตารางการเสริมแรง

 

การเสริมแรงทุกครั้ง                                 การสเริมแรงบางครั้ง

                  (Continuous  Reinforcement)                           (Intermittent  Reinforecement)

 


                                                การเสริมแรงตามช่วงเวลา                        การเสริมแรงตาม

    (Interval  Schedule)                       จำนวนครั้งที่กระทำถูก

                                                            (Ratio  Schedule)

                                               

                                    ช่วงเวลาที่                      ช่วงเวลาที่           จำนวนครั้ง              จำนวนครั้ง

                                           แน่นอน                      ไม่แน่นอน            ที่แน่นอน        ไม่แน่นอน

                               (Fixed Interval)         (Variable Interval)    (Fixed  Ratio)      (Variable Ratio)

                                                  ตัวอย่างตารางการให้แรงเสริม

ตารางการเสริมแรง

ลักษณะ

ตัวอย่าง

การเสริมแรงทุกครั้ง

(Continuous)

เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรม

ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้วเห็นภาพ

การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่แน่นอน (Fixed-Interval)

ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่กำหนด

ทุกๆ  สัปดาห์ผู้สอนจะทำการทดสอบ

การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (Variable  Interval)

ให้การเสริมแรงตามระยะเวลาที่ไม่แน่นอน

ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลาที่ต้องการ

การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองที่แน่นอน (Fixed-Ratio)

ให้การเสริมแรงโดยดุจากจำนวนครั้งของการตอบสนองที่ถุกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน

การจ่ายค่าแรงตามจำนวนครั้งที่ขายของได้

ตารางการเสริมแรง

ลักษณะ

ตัวอย่าง

การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน (Variable-Ratio)

ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน

การได้รับรางวัลจากเครื่องเล่นสล๊อต มาชีน (Slotmachines)

           

การปรับพฤติกรรม (Behavior  Modification)  คือ  การนำแนวความคิดของสกินเนอร์ในเรื่องกฎแห่งผลมาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อทำการปรับพฤติกรรมของบุคคล  หลักการนี้อาจจะใช้ทั้งการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบประกอบกัน  ตัวอย่างที่นิยมใช้กันมากในชั้นเรียนคือ  หลักการชมและการเมินเฉย (Praise-and-Ignore  Approach)  คือการชมผู้ที่ทำถูกต้องตามกฎระเบียบ  และเมินเฉยต่อผู้ที่ขัดกฎระเบียบ  อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยของทิฟเนอร์และคณะ  พบว่าในหลายๆ  ครั้งที่การใช้หลักดังกล่าวไม่เกิดผลนั่นก็คือแม้จะใช้หลักการชม  แต่ผู้เรียนก็ยังคงมีการกระทำผิดต่อไป  ดังนั้นการใช้หลักดังกล่าวควรใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ  ด้วย

            หลักการชมที่มีประสิทธิภาพ  ควรจะมีลักษณะดังนี้

1.      ควรชมพฤติกรรมที่สมควรได้รับการยกย่อง

2.      ระบุพฤติกรรมที่สมควรยกย่องอย่างชัดเจน

3.      ชมด้วยความจริงใจ

คำสำคัญ (Tags): #cognitive theories
หมายเลขบันทึก: 236135เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2009 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท