Research & Induction


มีเรื่องอยู่เป็นจำนวนมากที่ทำให้ผมรู้สึกเสียใจว่า  ทำไมผมจึงไม่คิด และนำไปอภิปรายในชั้นเรียนคราวที่เป็นนักศึกษาอยู่  เพิ่งจะมาคิดกันตอนนี้  ดังเช่นหลายๆเรื่องที่ปรากฏใน บล็อก Empirical Theories,  Empirical Research, และ  Human Mind,  และเรื่อง  การวิจัย กับ การอุปนัย นี้ก็เช่นเดียวกัน

อันที่จริง  ถ้าเราคิดให้ลึกๆ ก็จะเห็นว่า  กระบวนการวิจัย(เชิงประจักษ์) กับ  กระบวนการอุปนัย นั้น  คล้ายคลึงกันมาก  ขอให้ช่วยพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ดู

กระบวนการวิจัย : (๑) การสังเกตธรรมชาติแวดล้อม, แล้วชวนให้เกิดข้อสงสัย เรียกว่าเกิด "ปัญหา" (Problem), เมื่อเกิดปัญหาก็ต้อง  (๒) "ตอบ"ปัญหา ที่พวกเราเรียกกันโก้ว่า "สมมุติฐาน" หรือ  Hypothesis (H), แต่เป็นคำตอบ "ล่วงหน้า"  หรือตอบแบบ "เดา",  เมื่อเดา  ก็ต้อง "ทดสอบ" (Test) ว่า "ถูก"  หรือ "ผิด",  จึงต้องไป  (๓) แสวงหา "ข้อมูล"(Data) จากการสังเกตในสิ่งแวดล้อมมา   (๔) "วิเคราะห์" โดยการ "ยืม" เครื่องทดสอบทาง "สถิติ" มาใช้  ผลที่ได้จะเป็นค่า "สถิติ"ต่างๆ เช่นค่า  Rxy,  t , F, เป็นต้น, จากนั้น เราก็    (๕) "ตีความ"(Interpretation) ค่าสถิติเหล่านั้น  และมักจะตีความจาก "กลุ่มตัวอย่าง" (Sample)(ที่เราสังเกตเพียงครั้งเดียว) ไปสู่ "กลุ่มประชากร"(Poppulation) กระบวนการนี้เราต้องยืมหลักวิชาของ "ความน่าจะเป็น" หรือ Probability  มาใช้  ผลที่ได้คือ "คำตอบของปัญหา(H)' เป็น "ความรู้" ประเภท "Empirical Laws" เป็น "องค์ความรู้" (Body of Knowledge) ที่ได้เพิ่มเข้ามา เราเรียกรวมๆในขั้นนี้ว่า Conclusion

กระบวนการอุปนัย : (๑) การสังเกต เช่น  นก ก. มีปีก  บินได้, นก ข. มีปีก  บินได้,  นก ค. มีปีก บินได้, ...สังเกตเป็นจำนวนมาก  แต่ไม่ทั้งหมด  เพราะทั้งหมดนั้นนับไม่ถ้วน  และทั้งหมดนี้ก็คือ "ประชากร"  ส่วนที่สังเกตแต่ละตัวนั้น  ก็เป็น "ส่วนหนึ่งของประชากรนก" หรือก็คือ "กลุ่มตัวอย่าง"  จากนั้นจึง (๒) ลงสรุป เรียกว่า "อุปนัย" ไปเป็น "หลัก" (Principle) ผลอันนี้เป็น "ความรู้"  แต่เป็นความรู้แบบ "ความน่าจะเป็น" เหมือนกัน  แต่กระบวนการขั้น (๑) และ (๒) เป็นกระบวนการเชิงเหตุผล  แม้ว่า ขั้น (๑) จะเป็น "เชิงประจักษ์" แต่ก็เพื่อนำมาเข้าเป็น Premises ในกระบวนการของเหตุผล เพื่อเป็ข้อยืนยันให้เรามั่นใจไปสู่ส่วนที่เรายังไม่ได้สังเกต,   "ความรู้ที่ได้" คือ "สัตว์ปีกส่วนใหญ่บินได้"

กระบวนการอุปนับ  ลงสรุปจากข้อเท็จจริงส่วนย่อย "อย่างหยาบ"  "ไปสู่" ส่วนใหญ่  หรือ  จากตัวอย่าง ไปสู่ ประชากร แต่โดยอาศัย "รูปแบบ" ของเหตุผล

กระบวนการวิจัย  ก็ลงสรุปจาก กลุ่มตัวอย่างแต่ "ในรูปของค่าทางสถิติ"  "ไปสู่" กลุ่ม ประชากร โดยอาศัย"รูปแบบ"ของ "เหตุผล" เช่นกัน

ดังนั้น  การวิจัยเชิงประจักษ์จึงอาศรัยกระบวนการ "แบบ" อุปนัย เหมือนกัน แต่ความรู้ที่ได้เป็นประเภท Probabilistic Law  หรือ  Statistical Law  ส่วน กระบวนการ Induction นั้น  ก็ถือเป็นกระบวนการวิจัยได้ แต่เป็นประเภท Synthetic Research แต่ผลที่ได้จะเป็นประเภท "หลัก" หรือ "Principle"

หมายเลขบันทึก: 236052เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2009 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อุปนัย ประจักษ์ ความน่าจะเป็น วัตถุนิยม.... นี้กลุ่มหนึ่ง
  • นิรนัย เหตุผล ความจำเป็น จิตนิยม............. นี้อีกกลุ่มหนึ่ง

รู้สึกว่านักเรียนปรัชญาที่พอรู้เรื่องอยู่บ้าง จะเข้าใจประเด็นนี้มานานแล้ว และประเด็นขัดแย้งทางตรรกะนั้น เมื่อไต่เพดานสูงขึ้นก็จะมาถึงจุดนี้ จนนักปรัชญาบางท่านถึงกับเชื่อว่า ความขัดแย้งทางปรัชญาทั้งหมดก็คือความขัดแย้งที่จุดนี้นั้นเอง...

เจริญพร

 

ครับ และเมื่อถึงจุดนั้น ก็เข้าสู่โลกของปัญญา สัตว์ตามไม่ทัน ! และเป็นมนุษย์ (ธรรมดา) โดยสมบูรณ์เสียทีกระมัง !!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท