พวก R&D ในระบบมหาวิทยาลัยไทย


โดยทั่วไป  วิทยาการจะมีอยู่สองสาขาใหญ่  คือ  สาขาบริสุทธิ์(Pure)  กับ   สาขาประยุกต์(Applied)  ถ้าจัดประเภทเป็น วิทยาศาสตร์กับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์(Sciences vs Nonsciences)  เราก็จะได้ Pure Sciences กับ Pure Nonsciences

ในสาขา วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์  ก็จะมี วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ(Natural Sciences) เช่น เคมี  ฟิสิกส์ ชีววิทยา กับ วิทยาศาสตร์สังคม(Social Sciences) เช่น จิตวิทยา  เศรษฐศาสตร์  เป็นต้น

ในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์จากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  ก็เช่น  แพทย์ศาสตร์ ประยุกต์หนักจากชีววิทยา  วิศวกรรมศาสตร์ ก็ประยุกต์หนักจาก ฟิสิกส์  เภสัช ก็ประยุกต์หนักจากเคมี เป็นต้น  ถ้าเป็นประยุกต์จากสายสังคมศาสตร์ก็เช่น  การศึกษา ประยุกต์หนักมาจาก จิตวิทยา  พานิชศาสตร์ ก็ประยุกต์หนักมาจาก เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น

ส่วนสาขาวิชาทางไม่ใช่วิทยาศาสตร์  ก็ได้แก่ ปรัชญา  คณิตศาสตร์ เป็นต้น  ในกลุ่มเหล่านี้ก็มี บริสุทธิ์ - ประยุกต์ เหมือนกัน  แต่ผมจะไม่กล่าวมาก  เพราะแค่นี้ก็เวียนหัวแล้ว

ในแต่ละสาขาก็จะต้องมี "เครื่องมือ" ในการ "ค้นหาองค์ความรู้" และการ "นำความรู้ไปประยุกต์"

เครื่องมือดังกล่าวนี้ก็คือ "การวิจัย" หรือ Research(R)

ในสาขาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ ก็เป็น "การวิจัยบริสุทธิ์" หรือ Pure Research  เครื่องมือนี้ "ค้นหา" ความรู้บริสุทธิ์ ซึ่งได้แก่  ขอ้เท็จริง(Facts) และ  กฎธรรมชาติ(Natural Laws / Descriptive Laws) ถ้าเราจะ "สร้งคนเก่ง" เราต้องให้พวกเขาเรียนหลักสูตรที่เน้นทำวิจัย  เช่นทำวิจัยตลอดหลักสูตร  อาจจะเป็นร้อยเรื่อง   ไม่มีรายวิชาบรรยาย  เรียกกันว่าหลักสูตร "แผน 1 " ผลที่ได้  บุคคลพวกนี้จะ "ค้นหา"ความรู้ใส่ "โกดัง"(ตำรา) เป็นสำคัญ  ในสาขา Nonsciences ก็เช่นกัน  แต่วิธีวิจัยต่างออกไป

ส่วนในสาขา วิทยาศาสตร์ประยุกต์นั้น ก็เป็น "การวิจัยประยุกต์," หรือ Applied Research  คือ ใช้เครื่องมือนี้ "นำความรู้บริสุทธิ์จากโกดังไปใช้เพื่อชีวิตประจำวัน" ถ้าเหลือใช้ก็เป็นสินค้าต่อไป  คนพวกนี้ "จะต้องทำวิจัยตลอดหลักสูตร" เช่นเดียวกัน !!! จึงจะออกมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้ดังใจ  ต้องเรียนหลักสูตรแผน 1 เหมือนกัน

พวกนี้แหละคือพวก R&D แท้จริงครับ

แต่มัน ยาก !!! เพราะต้องเรียนวิชาสถิติค่อนข้างหนัก

คนทั่วไปจึง "เลือกรียนแผน 2 " คือ "ทำวิจัยน้อยๆ แต่เรียนรายวิชา - ให้อาจารย์เล่าให้ฟัง - มากๆ  ทั้งปริญญาโทและเอก  เพราะง่ายกว่าตั้งเยอะ  จบง่ายกว่าด้วย  แถมสังคมก็ยกย่องเหมือนกัน  คนเรียก ดร. เหมือนกัน  ได้เงินเดือนเท่ากัน !!!

แต่เราไม่ได้ "นักวิจัย"

ไม่ได้นัก R&D!!!! ไงละครับ

ยิ่งกว่านั้น  บางรายจบออกมาแล้ว  ยังต้องมานั่ง "ตอบคำถาม" ต่อไปอีกว่า "คุณทำวิจัยเองหรือเปล่า" กันก็มี

วิธีแก้เรื่องนี้ก็คือ (๑) ผู้ใช้บัณฑิต ต้อง "เลือก" ให้ดีๆ  มิฉะนั้นก็จะได้ของดังว่า  (๒) กระทรวงศึกษาต้องกวดขันให้หนัก

แต่ เอ   ถ้าทั้งโลกเขาทำกันอย่างนั้น  เราจะมานั่งกวดขันอยู่คนเดียว  เขาก็แห่กันไปเรียนเมืองนอก(ที่เขาทำกันอย่างว่า)กันหมดนะซี

คำสำคัญ (Tags): #applied research#pure research,
หมายเลขบันทึก: 234813เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2009 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มายิ้มๆๆ
  • ดีใจอาจารย์มา
  • ข้างล่างเว้นยาวจังเลยครับ
  • ชอบ R&D ครับอาจารย์
  • อาจารย์สบายดีหรือเปล่าครับ

ตามท่านข้างบนมาห่าง ๆ ครับ

ชอบมุมมองของอาจารย์ ครับ

ว่าแต่ ... มันเว้นบรรทัดย้าว ยาว นะครับ :)

สวัสดีทั้งสองท่านครับ

ขอบคุณที่ตามมาสนทนาด้วย ผมไม่ได้แกล้งเว้นห่างแบบนั้น มันเป็นของมันเอง สงสัยว่าผมจะไปกดปุ่มอะไร้เข้าสักปุ่มโดยบังเอิญ จึงเกิดผลเช่นนั้น ผมเองก็ตกใจตอนแรก ว่าตอนล่างมันหายไปไหน แต่พอรูดตามไปดูก็เจอ แต่คุณทั้งสองก็เหลือเกิน ไกลขนาดนั้นยังอุตส่าห์ตามมาพบ

เอ อาจารย์ครับ ... ลองเอาเคอร์เซอร์ไปไว้หลังตัวอักษรสุดท้าย แล้วกดปุ่ม Delete นาน ๆ เลยครับ แล้วค่อยกดบันทึก น่าจะดีขึ้นนะครับ

ไม่งั้นอาจารย์จะคุยกับท่านอาจารย์ขจิต ย้าว ยาว ตรงข้ามกับความเป็นจริงของอาจารย์ขจิตนะครับ :)

ขอบคุณ คุณ Wasawat Deemarn เป็นอย่างมากครับ ผมทำตามคำแนะนำ "สอง"บรรทัดของคุณ ก็สำเร็จ บางครั้งผมก็ชอบคิด ครั้งนี้ก็คิดอีกนั่นแหละ คือ

(๑) "ข่าวสาร"สองบรรทัดของคุณ "มีอำนาจ" ให้ผม "ทำตาม" !

(๒) แสดงว่า "สอง"บรรทัดนั้น มี "ความเป็นปรนัย" สูง เพราะทำให้ผมทำตามขั้นตอนได้โดยไม่ต้องโทรมาถามเพิ่มเติม หากใครๆก็อ่านแล้วเข้าใจตรงกันโดยไม่ต้องโทรมาถามเพิ่มเติมแล้ว ก็ถือว่าเป็น "Objective" !!

(๓) หากครูท่านใดสอนเสร็จ เด็กไม่ยกมือถามให้อธิบายซ้ำ ก็แสดงว่า คำสอนนั้นเป็นที่เข้าใจตรงกันทั้งชั้น เป็นปรนัย (มั้ง)

(๔) ผม "รู้สึกดีใจ" "เป็นสุข" เกิดขึ้นภายหลังการทำสำเร็จ

(๕) สงสัยว่าคุณคงจะเป็นคนหนึ่งในทีม gotoknow.org มิฉะนั้นแล้วไหนเลยจะเก่งกาจอย่างนี้ !!!

ข้อ (๕) หวานเกินไปครับอาจารย์ มิอาจรับได้ 555 ...

อาจารย์ช่างคิดวิเคราะห์ครับ จนผมชักเกรงว่า คำพูดคำเดียวของผมอาจจะทำให้อาจารย์คิดได้ยาวไกลได้ครับ

ขอบคุณที่อาจารย์วิเคราะห์ครับ ผมเลยต้องคิดตามเลยเนี่ย :)

อ่านข้อความที่อาจารย์อรรถาธิบายในความเห็นที่ 5 รู้สึกขำทำให้อารมณ์ดีขึ้นทันที (5 5 5...)

เห็นด้วยกับอาจารย์นะ แต่รู้สึกว่า ธุรกิจการศึกษา (โดยเฉพาะในเมืองไทย) จะพิจารณาว่าหลักสูตรทำนองใดที่จะมีผู้สมัครเรียนเยอะ...

และบรรดาผู้ที่จะสมัครเรียนก็เช่นเดียวกัน มักจะให้ความสำคัญว่า ที่นั้นมีผู้เข้าเรียนแล้วจบโดยมากหรือไม่ มากกว่าการให้ความสำคัญเรื่องค่าเล่าเรียน...

เจริญพร

ครับ ที่เป็นเช่นนั้นก็มี พระคุณเจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท