ผลประโยชน์


ที่หน้าบ้านของผมมี ม้าหิน  กะถางต้นไม้ที่กิ่งและลำต้นงอโน้มออกไปรับแสงแดด  ใกล้ๆนั้นก็มีแมวนั่งหมอบแบบแมวอยู่ตัวหนึ่ง

ต่อมาผมเปิดประตูบ้านออกไป  แมวกระโดดหนีไปทันที  สิ่งอื่นๆที่บรรยายมา ยังปกติคงเดิม  เหตุการณ์นี้ทำให้ผมสดุดใจมาก  อันที่จริงเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดต่อหน้ามาบ่อย  แต่ไม่สะดุดใจเหมือนกับวันนี้  ที่สะดุดใจมากก็คือ  ทำไมแมวกระโดดแต่หินและต้นไม้ในกะถางอยู่เฉยๆ  และอีกอย่างหนึ่ง ต้นไม้ในกะถางงอโน้มออกไปข้างนอก  แต่ก้อนหิน  ไม่

แมวมีชีวิตและเคลื่อนที่ไปไหนได้  ต้นไม้เคลื่อนที่เช่นนั้นไม่ได้  ส่วนก้อนหิน ไม่มีชีวิต และเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้เลย

แมว "กระโดดหนี" เราแปลพฤติกรรมนี้ว่า "กลัว"  แมวมันกลัว "รู้สึกกลัว" และอาจจะตีความต่อไปว่า แมวมัน "เป็นทุกข์" "มันเอาชีวิตรอด"  ส่วนต้นไม้ "งอลำต้นกิ่งก้านของตัวเอง" เพื่อออกไปรับแสงแดด แต่เราคงไม่ตีความว่า ต้นไม้มัน "หนีความไม่มีแดด" ไปหา "ความมีแดด" หรือ "รู้สึกกลัว"ความไม่มีแดด และ "รู้สึกชอบ" ความมีแดด  แต่ก้อนหินมัน "เฉยๆ" ไม่เหมือนกับทั้งสองอย่างที่กล่าวมา

แต่เราไม่ตีความว่า "ก้อนหิน" นั้น "นิพพาน" !! เพราะนิพพานใช้กับ "สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะ มนุษย์"

และเราก็ไม่เรียกว่า ต้นไม้นั้นมี "สุข" หรือ "มีทุกข์" เพราะมัน "ไม่มีสมอง"

แต่กับแมว  เราคิดว่ามันมี "ทุกข์" ขณะที่มันหนี  และมันคง "สุข" เพราะมันหนีรอด  และที่เราคิดว่าเป็นเช่นนี้เพราะว่า  "เรา" คิดว่ามัน มี   และเราคิดว่ามันมีสมอง

แต่มีอยู่เงื่อนไขหนึ่งที่เรามักจะคิดไม่ถึง  คือเรื่องของ "ผลประโยชน์" (Interest)  ผลประโยชน์ของแมวขณะนั้นคือ "การเอาชีวิตรอด" ได้สำเร็จ  "ผลประโยชน์"ของต้นไม้ก็คือ "แสงแดด"

ดังนั้น "ตัวควบคุม"พฤติกรรมการกระโดดของแมวก็คือ "ความมีชีวิตรอด" ความรู้สึกสุขเป็นผลตามมา !!

และ"ตัวควบคุม"การโน้มกิ่งต้นของไม้นั้นก็คือ "แสงแดด"

"ผลประโยชน์เป็นตัวควบคุม" สิ่งมีชีวิต !!!

รวมทั้งมนุษย์ด้วยแหละครับ

แต่ "นักการเมืองก็ไม่น่าจะนำหลักการนี้มาใช้ควบคุมเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเพื่อประโยชน์ของตัวเอง"

เราไม่ควรใช้ "หญ้า" เป็นตัวจูงลา  แต่เราควร "พัฒนา"ลาให้มัน "รู้"วิธีค้นหาว่าหญ้างามๆนั้นอยู่ ณ ที่ใดจะดีกว่าครับ

คำสำคัญ (Tags): #ผลประโยชน์ interest
หมายเลขบันทึก: 234723เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2009 07:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความจริงแล้ว มนุษย์อาจเป็นเพียงเครื่องมือของลา โดย...

  • เมื่อก่อนช่วยให้ลาพัฒนาเพื่อค้นหาว่าหญ้างามอยู่ที่ไหน
  • แต่เดียวนี้ ลาได้พัฒนาให้มนุษย์ไปหาหญ้ามาแล้วล่อให้มันไปกินถึงที่่
  • ต่อไป ลาอาจพัฒนามนุษย์สูงขึ้น ด้วยการไปหาหญ้ามาป้อนให้มันกินถึงคอกเลย

ทำนองว่า ครูสอนนักเรียน นั่น ! มิใช่ อันที่จริง นักเรียนต่างหากที่สอนครู ! (........)

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

(๑) ฮา ๆ ๆ ๆ ๆ ....เอิ๊กๆ

(๒) ท่านคิดเฉียบแหลม

(๓) แต่ขอเพิ่มเติมว่า "ใครเป็นผู้สอนใคร หรือกระทำกับใคร" ขึ้นอยู่กับว่า อะไรเป็น "สาเหตุ และผล" บัดนี้ดูลาจะกลายเป็นสาเหตุเหมือนที่พระคุณเจ้าว่าแล้วครับ คือ

สาเหตุ : "ลาคิดว่า หากเอ็งไม่ไปหาหญ้างามๆมาให้ข้า แล้วละก้อ ข้าจะนอนเฉยๆให้ผอมโซ ดูทีหรือว่า ท่านจะได้กินเนื้ออร่อยของเราหรือไม่"

ผล : ทำให้คนคิดว่า "หากเราปล่อยเช่นนี้ลาต้องตายผอมโซ เราก็อดกินเนื้อของมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องรีบไปหาหญ้างามๆมาให้มันกินในทันใด" ขอให้มีลาเช่นนี้เถอะ !!!

(๔) พระคุณเจ้าคงมีนัยที่ลึกซึ้ง ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท