เส้นทางเมี่ยง-ชา "ศรีนาป่าน-ตาแวน" ตอนที่ ๘


เมี่ยงกับกระบวนการอนุรักษ์ป่า

ต้นเมี่ยงจะอาศัย และเจริญเติบโตได้ดี     ในดงป่าไม้ใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์   อย่างเช่น   ป่าที่บ้านศรีนาป่าน- ตาแวน  ซึ่งชาวบ้านป่าเมี่ยงแห่งนี้  ยังคงมีการดูแลรักษาป่าไม้ ควบคู่ไปกับการปลูกต้นเมี่ยงเนื่องจากมีความเชื่อว่า ป่าไม้ใหญ่จะทำให้ดินมีความชุ่มชื้น อุดมสมบูรณ์ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของต้นเมี่ยงโดยที่ชาวบ้านไม่ต้องไปดูแลมากนัก

                ชาวบ้านมีการแบ่งเขตเมี่ยง โดยใช้พืชต่างถิ่นปลูกเป็นแนวเขต เช่น สับปะรด เพื่อให้รู้ว่า    แนวเขตเมี่ยงนี้เป็นของใครบ้าง ซึ่งป่าเมี่ยงนี้จะเป็นมรดกตกทอดไปหาลูกหลานของตนเอง นอกจากนั้นชาวบ้านป่าเมี่ยงยังมีกุศโลบายในการรักษาป่าไม้อย่างแยบยล โดยมีการแบ่งพื้นที่โซนป่าออกเป็น ๕ โซน ดังนี้

๑.     ป่าต้นน้ำ มีพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ ชาวบ้านแบ่งออกเอาไว้สำหรับเป็นเขตอนุรักษ์เพราะเป็นป่าต้นน้ำเป็นต้นกำเนิดลำห้วยสำคัญๆ คือ ลำห้วยหลวง ห้วยตาแวน ห้วยวะ ใช้สำหรับการบริโภค อุปโภค และการเกษตร ส่วนห้วยน้ำดังเป็นแหล่งน้ำสำหรับผลิตประปาภูเขา ในเขตป่าต้นน้ำ มีการห้ามเข้าไปใช้ประโยชน์โดยเด็ดขาด

๒.    ป่าเศรษฐกิจ (ป่าเมี่ยง) มีพื้นที่รวมทั้งตำบล ประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ ส่วนพื้นที่บ้านศรีนาป่าน-ตาแวนมีประมาณ ๓,๐๐๐ ไร่  เป็นลักษณะการปลูกเมี่ยงอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่อยู่ระหว่าง เขตป่าอนุรักษ์กับป่าใช้สอย ส่วนใหญ่ป่าเหล่านี้จะมีผู้ครอบครองสิทธิ์และใช้ประโยชน์ ในขณะเดียวกันก็มีการอนุรักษ์ป่าไปด้วย

๓.    ป่าใช้สอย มีพื้นที่ประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) จะเป็นพื้นที่ไม้เบญจพรรณ และพื้นที่ทำการเกษตร

๔.    ป่าชุมชน รวมพื้นที่ทั้งหมด ๒ หมู่บ้าน ประมาณ ๒๐๐ ไร่  บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ ๑ มีพื้นที่ ๗๔ ไร่ ส่วนบ้านตาแวน หมู่ที่ ๔ มีพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ เป็นป่าที่สงวนไว้สำหรับนำไม้มาใช้ในกิจกรรมของหมู่บ้าน

๕.    ป่าพิธีกรรม หรือป่าประเพณี มีพื้นที่ประมาณ ๕ ไร่ เช่น ป่าสุสาน ป่าวัดร้าง และป่าหอเจ้าหลวงป่าเมี่ยง

               

                กระบวนการอนุรักษ์ป่าไม่ได้ทำโดยชาวบ้านคนใดคนหนึ่ง แต่ทำในรูปแบบของการรวมตัวกันเป็นคณะกรรมการระดับตำบล แต่มีชาวบ้าน ๒ หมู่บ้าน เป็นหลัก ได้แก่ บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่ ๑ มีสมาชิก ๑๔๕ คน  บ้านตาแวน หมู่ที่ ๔ มีสมาชิก ๑๓๗ คน ใช้ชื่อกลุ่ม เรืองรักษ์ป่า ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐โดยยึดถือสโลแกน เพราะเรืองรักษ์ป่า ป่าจึงรักเรือง มีบทบาทหน้าที่ปกป้องฟื้นฟู และดูแลรักษาป่าตำบลเรือง ก้าวแรกที่เรืองรักษ์ป่าได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ คือ การรวมกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในตำบลเรือง ต่อมาในวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๘ ได้มีเวทีประชาคมตำบล เรื่อง รณรงค์แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ขึ้น หลังจากนั้นได้ร่วมกันบวชป่า ทำฝายแม้ว และในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ทางกลุ่มมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการเฝ้าระวังไฟป่า ให้กับแกนนำแต่ละหมู่บ้าน ขณะเดียวกันในกลุ่มได้มีกฎกติกาประชาคมตำบลเรืองรักษ์ป่า เพื่อเป็นกฎระเบียบที่ให้ชาวบ้านในตำบลได้ถือปฏิบัติร่วมกันในการรักษาป่าไม้ มีดังนี้

๑.      การตัดไม้ให้แจ้งคณะกรรมการทราบก่อน

๒.    ไม้ที่ยึดได้ให้นำมาใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านเท่านั้น ห้ามขายเด็ดขาด

๓.     ผู้ใดตัดไม้โดยมิได้แจ้งคณะกรรมการทราบ ถ้าถูกจับได้

        ครั้งที่ ๑ โทษปรับ และทำทัณฑ์บน

        ครั้งที่ ๒ โทษปรับ, ตัดออกจากสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ และเงินกองทุนทุกประเภท

๔.     การแบ่งเขตรักษาป่า แบ่งออกเป็น ๓ เขต

        ๔.๑ หมู่ ๓,๕,๖

        ๔.๒ หมู่ ๑,๒,๔,๗

        ๔.๓ หมู่ ๘

๕. ห้ามตัดไม้ข้าวหลาม และไม้ไผ่ทุกชนิด เพื่อจำหน่ายให้แก่คนต่างพื้นที่โดยเด็ดขาด

การกำหนดอัตราค่าปรับ

เขตป่าไม้

๑. ตัดไม้ท่อน                                                                                               ค่าปรับ  ท่อนละ ๕๐๐ บาท

๒. ไม้แปรรูป                                                                                               ค่าปรับ  เล่มละ ๑๐๐ บาท

๓. ใช้พาหนะรถมอเตอร์ไซด์ หรือจักรยานขนไม้ข้าวหลาม            ค่าปรับ คันละ ๒๐๐ บาท

        และไม้ไผ่ทุกชนิดออกจากป่าตำบลเรือง

๔. ใช้พาหนะรถบรรทุกสี่ล้อ (ปิกอัพ) ขนไม้ข้าวหลาม                    ค่าปรับ คันละ ๑,๐๐๐ บาท

        และไม้ไผ่ทุกชนิดออกจากป่าตำบลเรือง

๕. ใช้รถบรรทุกขนาดกลาง หรืออื่นๆ ขนไม้ข้าวหลาม                    ค่าปรับ คันละ ๒,๐๐๐ บาท

        และไม้ไผ่ทุกชนิดออกจากป่าตำบลเรือง

เขตอนุรักษ์

๑. ตัดไม้ท่อน                                                                                               ค่าปรับ คันละ ๕,๐๐๐ บาท

๒. ไม้แปรรูป                                                                                               ค่าปรับ คันละ ๕๐๐ บาท

๓. ใช้พาหนะรถมอเตอร์ไซด์ หรือจักรยานขนไม้ข้าวหลาม            ค่าปรับ คันละ ๒๐๐ บาท

        และไม้ไผ่ทุกชนิดออกจากป่าตำบลเรือง

๔. ใช้พาหนะรถบรรทุกสี่ล้อ (ปิกอัพ) ขนไม้ข้าวหลาม                    ค่าปรับ คันละ ๑,๐๐๐ บาท

        และไม้ไผ่ทุกชนิดออกจากป่าตำบลเรือง

๕. ใช้รถบรรทุกขนาดกลาง หรืออื่นๆ ขนไม้ข้าวหลาม                    ค่าปรับ คันละ ๒,๐๐๐ บาท

        และไม้ไผ่ทุกชนิดออกจากป่าตำบลเรือง

               

เต่าปูลู...ตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าตำบลเรือง

 

 เต่าปูลูตัวผู้

 

 เต่าปูลูตัวเมีย

                หลังจากกระบวนการรักษ์ป่าของตำบลเรืองได้ดำเนินการผ่านไป ชาวบ้านที่ศรีนาป่าน-ตาแวนได้เริ่มพบรูปธรรมที่ชัดเจนของการอนุรักษ์ป่าอย่างจริงจัง เนื่องจากป่าไม้ในอดีตที่เคยถูกโค่นตัดเหลือแต่ตอไม้ แต่หลังจากได้ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟู เริ่มที่จะมีไม้ใหญ่ขึ้นมา ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น ของป่ามีมากขึ้น สัตว์ที่เคยหายาก และหายไปในอดีตเริ่มกลับคืนมา โดยเฉพาะเต่าปูลู สัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่มีจงอยปากเหมือนนกแก้ว ชอบปีนป่ายบนต้นไม้ ส่วนหัว และหางของเต่าปูลูไม่สามารถหดได้เหมือนเต่าทั่วไป อาศัยอยู่ตามลำห้วย ชอบออกหากินตอนกลางคืน หลังสี่ทุ่มเป็นต้นไป ชาวบ้านบอกว่าการที่เต่าปูลูกลับมาเป็นตัวบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำได้ดีอีกด้วย

 

เส้นทางชมระบบนิเวศน์ป่าห้วยหลวง

 

                หลังจากที่ได้มีคนทั้งในและนอกชุมชนให้ความสนใจกับกระบวนการอนุรักษ์ป่าโดยผ่านวิถีการปลูกเมี่ยงที่บ้านศรีนาป่าน-ตาแวน ทางแกนนำจึงได้มีการทำเส้นทางเดินป่าธรรมชาติขึ้น มีระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางมีจุดเรียนรู้หลายจุด เช่น ศาลเจ้าหลวงป่าเมี่ยง ต้นไฮแหล่งที่มาของตำนานปางบุญปางบาป ท่าลับมีด  แหล่งอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ จุดชมเต่าปูลู  พื้นที่กางเต้นท์ และตลอดเส้นทางสามารถชมสวนเมี่ยง และเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่หลากหลายชนิดได้ <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;">                หากจะพูดไปแล้ว กระบวนการอนุรักษ์ป่าไม้ไว้ของชาวบ้านด้วยการส่งเสริมปลูกเมี่ยง ก็เหมือนกับการส่งเสริมอนุรักษ์ป่า โดยผ่านวิถีชีวิตวัฒนธรรมเมี่ยง ซึ่งหากเราตามรอยเมี่ยงไป จะเห็นวิถีชีวิตของคนศรีนาป่าน-ตาแวน ทั้งความเป็นอยู่ และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากชาวบ้านมีแนวคิดที่ว่า เมี่ยงมี ป่ายัง คนอยู่นั้นหมายถึง เมี่ยงมีความสำคัญกับชีวิต ถ้าไม่รักษาป่า เมี่ยงก็ไม่อยู่ เงินก็ไม่มี โดยที่ไม่ว่าจะผลิตเมี่ยงหรือปรับเปลี่ยนเป็นชา แต่ป่าก็ยังคงอยู่คู่กับลูกหลานบ้านศรีนาป่าน-ตาแวนสืบไป </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: right;">ขอขอบพระคุณ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: right;">แกนนำศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสมาชิกกลุ่มเรืองรักษ์ป่าทุกท่าน</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: right;">ทีมมูลนิธิฮักเมืองน่านทุกคน</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;"></p>

หมายเลขบันทึก: 234245เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2009 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

วาสนากดไห้สมาทมสนานยนาส

ล่ะอ่อนบ้านศรีนาป่านแต่มาเรียนที่ม.เกริก

อยากรู้เส้นทางไปน้ำตกห้วยหลวงอันดับแรกจะต้องเข้าไปที่หมุ๋บ้านศรีนาป่านก่อนนะคะแล้วไปแวะที่นี่ก่อนเลย...ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของตำบลเรืองตั้งอยู่ที่หมู่บ้านศรีนาป่าน หมู่ที่1 ต.เรือง อ.เมือง จ.น่าน 55000

คนบ้านเดียวกัน

คนบ้านเราครับผมเอ็กช์นะ

คนบ้านดังแล้ว

พี่บูดบ้านศรีนาป่าน

เอกซิกบ้านศรีนาป่าน

ใครเป็นคนสร้างหน้าเว็บนี้แต่ก่อดี บ้านเราจะได้ดังๆๆเชิญไปเที่ยวนะคับ ธรรมชาติยังดีอยุ่คับ สวยมากคับ

น้ำตกหมู่บ้านหนูสวยมากมายค่ะ

เชิญแวะไปเที่ยวกันเยาะๆๆน๊าค่ะ

^^สวยมากน๊ค๊...น้ำตกหมู่บ้านนู๋

มาเที่ยวกันเยาะะๆๆน๊คร๊่าา

^^สวยมากน๊ค๊...น้ำตกหมู่บ้านนู๋

มาเที่ยวกันเยาะะๆๆน๊คร๊่าา

วันที่18กุมภาที่ผ่านมาก็มีงานบวชป่าและสืบชะตาป่า ผมก็เข้าร่วมงานเป็นพิธีที่สำคัญของชาวบ้านศรีนาป่าน-ตาแวน ให้ช่วยกันรักษาป่าซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำประปาภูเขาและให้ความชุ่มชื้นแก่ต้นเมี่ยงหรือต้นชา สายพันธุ์อัสสัม  ถ้าใครว่างไปเที่ยว ก็แวะชิมชาที่บ้าน ผู้ใหญ่บุญทวี ทะนันไชย อดีตผู้ใหญ่บ้าน มือชงชาอันดับแนวหน้าเลย รับรองจะติดใจ ครับ มีบริการโฮมสเตย์ ศึกษาวิถีวีวิตของชาวบ้านอาหารพื้นบ้านประเพณีของชาวศรีนาป่าน-ตาแวนได้ด้วยนะ ครับติดต่อหนานเจ 084-356-5107ยินดีต้อนรับครับ

ขอขอบคุณ เพื่อน บัวตองและเก่ง<สามีเธอ>   ที่ช่วยในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับบ้านศรีนาป่าน-ตาแวน  อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม เกี่ยวกับประเพณี ท้องถิ่นเช่น ตีกลองปู่จา  ตีกลองยาว  กลองสะบัดชัย   อนุรักษ์ตั๋วเมือง  และสมุนไพร รักษาโรค มีคนช่วยประสานงานโดย อ.เก๋  จอมขมังเวท ก็ขอขอบคุณมาก ครับ

ชอบๆๆๆดีๆๆๆ

ของดีมีอีกเยอะ

รบกวนหน่อยนะครับ ผมติดตามคนคนหนึ่งเขาเคยเป้นเพื่อนสนิท บ้านอยู่สุมนเทวราช เคยทราบว่าเขาเป็น อบต.ศรีนาป่าน เขาเคยมีคุณกับผมมาก ใครติดต่อเขาด้รบกวนติดต่อกลับเมลืนี้นะครับ [email protected]

เขา ชื่อ นาย ชานนท์ พิมศิริ เขาจะเรียกผมว่าชัยนะครับ

ง่อมหาบ้าน

ลูกเขยลุงยม ป้าภาพ ( เขยตาแวน )

ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ ..........ท่านผู้ใหญ่เปล่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท