ระบบหลักการวางแผนการเงินงบประมาณ


ระบบหลักการวางแผนการเงินงบประมาณSPBB,ABC, MTEF, EVA, e – Procurement, PART

ระบบหลักการวางแผนการเงินงบประมาณ

SPBB,ABC, MTEF, EVA, e – Procurement, PART

 

                องค์กรทุกแห่งย่อมต้องการต้นทุนต่ำและสินค้าและบริการนั้นต้องมีคุณภาพตามความต้องการของลุกค้าทันต่อการส่งมอบซึ่งในการทำงานหลายแผนกในองค์กรย่อมมีค่าใช้จ่ายสูง ผู้บริหารจำเป็นต้องมีการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมต่อการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นจำเป็นต้องนำระบบหลักการวางแผนการเงิน  งบประมาณมาใช้ในองค์กร เช่น SPBB,ABC, MTEF, EVA, e – Procurement, PART

                1. SPBB  กระบวนการงบประมาณในระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์: ประกอบด้วย 3 ภาค คือ

1. ภาคการจัดทำงบประมาณ

2. ภาคการบริหารงบประมาณ

3. ภาคการติดตามประเมินผล

เพื่อเป็นการประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการที่หน่วยงานภาครัฐจะนำงบประมาณไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีประสิทธิผล ดังนั้น ก่อนที่ส่วนราชการจะดำเนินการจัดทำและบริหารงบประมาณ รวมทั้งการติดตามประเมินผล จะต้องพัฒนาหน่วยงานให้เข้าสู่มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ประการ ( 7 Hurdles) ก่อน ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณการบริหารสินทรัพย์ การรายงานทางการเงินและผลการดำเนินงาน และการตรวจสอบภายใน

2. Activity Base Costing :ABC  เป็นการคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม ซึ่งแต่เดิม ณ. การคิดมูลค่าที่บัญชีแยกประเภทอาจให้ความสนใจน้อยเกี่ยวกับวิธีการเฉลี่ยค่าต้นทุน โดยอาจเป็นการตัดสินมูลค่านั้นๆ จากแผนกบัญชีเป็นหลัก ซึ่งอาจมีผลทำให้ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้น ถูกแบ่งเฉลี่ยไปให้แต่ละฝ่ายหรือผลิตภัณฑ์ ไม่ถูกต้องเพียงพอ และในที่สุด ผลรวม ที่บัญชีแยกประเภทอาจจะไม่ตรง ถ้ามองบนพื้นฐานของ ABC

3.  MTEF  หมายถึง การจัดทำกรอบประมาณการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะ 3 5 ปี ซึ่งจะแสดงภาพรวมของภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้การดำเนินงานตามนโยบาย / ยุทธศาสตร์ที่ดำเนินการในปัจจุบัน

ระยะเวลาของ MTEF จะประกอบด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีและประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า  โดยหลักสากลทั่วไปจะให้ระยะเวลาของแผนระยะปานกลางประมาณ 3 5 ปี

มีลักษณะเป็น  Rolling Plan ซึ่งจะต้องมีการปรับประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าทุกปี เมื่อเริ่มต้นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีถัดไป เนื่องจากอาจมีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่างๆ เช่น นโยบาย / ยุทธศาสตร์ใหม่ที่รัฐบาล กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีนั้นๆ สภาพการทางเศรษฐกิจและสังคม ผลการดำเนินงานของส่วนราชการ เป็นต้น

การอนุมัติงบประมาณ  รัฐสภาจะอนุมัติงบประมาณปีเดียวเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ส่วนตัวเลขประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าจะเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็น ภาพของภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นจากนโยบายปัจจุบันของรัฐบาล

4. EVA   การสร้างมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  การนำทรัพยากรไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าได้สูงสุด  หากไม่มุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มแล้ว การใช้ทรัพยากรขององค์กรจะเป็นไปอย่างสิ้นเปลือง และสังคมโดยรวมสูญเสียมูลค่าทางโอกาสในการสร้างคุณค่าจากการใช้ทรัพยากรเหล่านั้น

5.  e - Procurement  เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เช่น การตกลงราคา การสอบราคา การประกวดราคา และการจัดซื้อรวมแบบออนไลน์ รวมถึงการลงทะเบียนบริษัทผู้ขาย การทำ e - Catalogue  รวมถึงการทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดซื้อที่เป็น Web Base Application  เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือ ใช้ระยะเวลาน้อยลง ได้สิ่งของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม เพิ่มความโปร่งใส และสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงานได้ทำให้เกิดความยุติธรรมต่อภาคธุรกิจ และยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ขาย

               6.  PART   เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างแผนของหน่วยงานกับความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ ผลผลิตกิจกรรมงบประมาณ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งเป็นการประเมินผลเพื่อการปรับแผนการปฏิบัติในอันที่จะสามารถรองรับกับระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance – Based Budgeting:  SPBB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการปฏิรูประบบราชการของไทยในปัจจุบัน

               สรุป ระบบหลักการวางแผนการเงิน งบประมาณ : SPBB,ABC, MTEF, EVA, e – Procurement, PART จะต้องมีการวางแผน กำหนดยุทธ์ศาสตร์ก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์นั้น ๆ จะต้องจัดทำงบประมาณ การบริหารงบประมาณ หลังจากนั้นก็มีการติดตามประเมินผล กำหนดค่าใช่จ่าย มีการกำหนดค่าวัสดุ ค่าตอบแทนรวมทั้งงบประมาณร่ายจ่ายล่วงหน้า โดยทั่วไปจะให้ระยะเวลาของแผนระยะกลางประมาณ 3-5 ปี โดยคำนึงถึงทรัพยากร คน เงิน ใช้อย่างคุ้มค่า จะต้องนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้บริการได้อีกด้วยเมื่อมีการประเมินผลลัพธ์-ผลผลิต-กิจกรรม ก็จะสามารถปรับแผนการปฏิบัติได้อีกด้วย

อ้างอิง

"ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (SPBB).".  

[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://oac.rta.mi.th/bvbook 2008.  

"การคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม (ABC).". 

 [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.expert2you.com/view_article.php 2008.  

"การคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม (ABC).". 

 [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.expert2you.com/view_article.php 2008.  

"การคิดต้นทุนของการผลิตภัณฑ์แบ่งแยกตามกิจกรรม(ABC).".  

[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.ismed.or.th/SME2/src/bin/controller.php 2008.  

"แนวคิดและหลักการ การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF).". 

[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://www.bb.go.th/download/work_plan_2547.doc 2008.  

"การจัดทำประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางของกองทัพบก (MTEF).". 

[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: http://oac.rta.mi.th/bvbook 2008.  

"มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์Economic Value Added: EVA.". 

[ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก http://nec. dip.go.th/LinkClick.aspx 2008.  

"การจัดซื้อ จัดจ้าง ผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ e-procurement.".

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.cisco.com/web/TH/technology/e-procurement.html
              2008.  

"เครื่องมือวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ (PART).".

[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.ratya.th.gs/web-r/atya/6.doc 2008. 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 234161เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2009 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท