การจัดการตำแหน่งวิชาการเชิงรุก


          ผมขอตั้งคำถามว่า มหาวิทยาลัยควรทำงานวิชาการเชิงรุกอย่างไรบ้าง    มหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบราชการ และต้องการเป็นมหาวิยาลัยวิจัยอันดับที่ ๑๐๐ แรกของโลก จะต้องมีการจัดการงานวิชาการเชิงรุกอย่างไร   จะต้องมีการจัดการตำแหน่งวิชาการเชิงรุกอย่างไร   เพื่อบรรลุเป้าหมายของตน 

          คิดแค่นี้ก็เกิดความท้าทายมากมาย   ท้าทายต่อการคิดนอกกรอบ ทำนอกกรอบ แต่เกิดผลดีต่อบ้านเมือง

          ผมคิดว่าเราต้องจัดการตำแหน่งวิชาการแบบแหวกแนว    โดยไม่ใช่แค่รอให้มีคนมาขอตำแหน่ง   และต้องไม่ใช่แค่อนุมัติตำแหน่งวิชาการให้แก่คณาจารย์ประจำ    ต้องสามารถให้ตำแหน่งวิชาการแก่ “นักวิชาการชั้นยอด” ที่ไหนก็ได้    เพื่อดึงดูดเขามาร่วมงานวิชาการที่มหาวิทยาลัยมหิดลฝันจะสร้างสรรค์ให้แก่สังคมไทย หรือแก่โลก

          ผมไม่ใช่ผู้บริหาร ไม่มีหน้าที่ทำ จึงได้แต่ฝัน    นำมาเผยแพร่ รอให้มีคนมาทำให้ฝันเป็นจริง    หรือเอาไปฝันต่อ ให้เกิดฝันที่แหลมคม หรือชัดเจนเหมาะสมกว่าฝันของผม

วิจารณ์ พานิช
๑๗ ธ.ค. ๕๑

                
        

หมายเลขบันทึก: 234150เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2009 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ร่วมฝันด้วยครับ
  • อยากได้ตำแหน่งบ้าง..แต่ไม่อยากขอ..อิอิ

ผมก็อยากเห็น adjunct (assist., assoc.)professor ในเมืองไทยเช่นกันครับ จะช่วยให้คนรู้จริง (จากการปฏิบัติ)จากภายนอกมหาวิทยาลัยได้เข้ามามีส่วนพัฒนาการศึกษาของชาติ และจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงมากขึ้น ผมกำลังคิดหาลู่ทางที่จะนำมาใช้ในระบบบัณฑิตศึกษาที่ มน. ครับ แต่ต้องรอให้มีระบบในการพัฒนา (อาจารย์จากภายนอก) และมาตรฐานในการดำเนินงาน (กำหนดตำแหน่งทางวิชาการ)ที่ดีก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท