พักผ่อนใจ ในเทศกาลปีใหม่ ทำให้ “จิตว่าง”


ความว่างเปล่ากับความสูญเปล่า และ จิตว่างกับจิตวุ่น

เวลาผ่านไปเร็วเหมือนติดปีก วันแห่งปีเก่าหมดไป ก้าวสู่วันแห่งปีใหม่ 2552 แล้ว และอีกไม่กี่วันหลังจากผ่านพ้นช่วงเทศกาลปีใหม่ ก็จะเข้าสู่วิถีชีวิตเดิมๆ อันเป็นกิจวัตรประจำวันที่เราต่างคุ้นเคยกันดี

ในช่วงเทศกาลที่กำลังจะค่อย ๆ ผ่านไปนั้น บางคนหรือหลายคนต่างได้พยายามทำให้เวลานี้มึคุณค่าด้วยการทำสิ่งพิเศษแตกต่างจากชีวิตประจำวัน ได้แก่ การเดินทางไปพักผ่อนที่ไกล ๆ ที่แปลกใหม่  การเที่ยวในสถานบันเทิงเริงรมย์ สถานที่ที่สร้างความตื่นเต้นสนุกสนานเร้าใจ งานเลี้ยงพบปะสังสรรค์ หรือเยี่ยมบุคคลอันเป็นที่เคารพรักหรือระลึกถึง ฯลฯ

กิจกรรมพิเศษอันใดก็ตามในช่วงนี้คงจะเรียกกันว่า “การพักผ่อน”  คำว่า “พัก” ก็อาจจะหมายถึงการพักจากการทำงานมาอย่างเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และคำว่า “ผ่อน” ก็น่าจะหมายถึงการทำให้คลายลงจากความเคร่งเครียด ความตรึง ความหนัก ความว้าวุ่น

การพักผ่อนในช่วงนี้  จึงไม่อยากให้เป็นเพียงการพักผ่อนทางร่างกายเท่านั้น ควรทำให้เกิดการพักผ่อนทางจิตใจด้วย   อย่างไร  จึงจะเรียกว่า “จิต” ซึ่งรวมทั้งสมองและใจเป็นหนึ่งเดียวนั้นได้พักผ่อน    มันหมายถึงการไม่คิดถึงอะไรใช่หรือไม่ หมายถึงใจไร้กังวลล่องลอยไป ณ ที่แห่งใดก็ได้ หรือหมายถึงความสุขสนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจเท่านั้น

ในที่นี้  มุ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดการพักผ่อนของจิตอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นความสงบสุขทางใจในทางพุทธศาสนาที่เรียกว่า “ความว่าง” ทางจิต หรือจิตว่าง (สุญญตา)  ซึ่งตรงข้ามกับคำว่าจิตวุ่นไหน ๆ เราก็เอากายหนีความวุ่นวายไปได้แล้ว  ก็ควรจะทำให้จิตว่างด้วยเช่นกัน

“ความว่าง” หรือ “ความว่างเปล่า” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “emptiness”  

ต่างจากคำว่า “ความสูญเปล่า” อย่างไร   คำว่า ความสูญเปล่า”ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “waste”[1] ซึ่งให้ความหมายถึง เปล่าประโยชน์  ซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์  สิ่งที่ไม่เป็นที่ปรารถนา และหมายรวมถึงสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอย ฯลฯ หากดูเฉพาะภาษาไทยอาจจะแยกความแตกต่างไม่ได้มากนัก

แต่พอเปรียบเทียบสองคำนี้ด้วยภาษาอังกฤษ น่าจะแยกความแตกต่างได้อย่างทะลุปรุโปร่ง  เพียงแค่เส้นแบ่งบาง ๆ ก้าวพลาดไปนิดเดียวก็อาจจะหลุดไปสู่ความหมายที่ไม่พึงปรารถนาได้เหมือนกัน

เพื่อความชัดเจนกับคำว่า “ความว่าง” หรือ “จิตว่าง” ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนาตามที่ท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือ “แผ่วผ่านธารน้ำไหล” บันทึกธรรมจากสวนโมกข์   ในที่นี้ ขอคัดและตัดตอนบางช่วงที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “จิตว่าง” มาบันทึกไว้เผื่อว่ายามใดใคร “ใจวุ่น” อ่านแล้วจะได้ ใจว่าง หรือ "จิตว่าง" บ้าง  แม้เพียงชั่วขณะจิต ก็จะเกิดผลดี ทำให้ความคิดสว่างใส แก้ปัญหาใดที่คั่งค้างไว้ได้เหมือนกัน

ท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ได้เขียนในหนังสือ “แผ่วผ่านธารน้ำไหล”  ตอน “วิวาทะเรื่องจิตว่าง ลองนึกดูเถิดว่า ถ้าต้องทำอะไรสักอย่างด้วยจิตวุ่นกับจิตว่าง เราจะเลือกเอาอย่างไหน ไว้ดังนี้

“พระสูตรในพระไตรปิฎกก็มีว่า เมื่อมีคนเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ธรรมใดเหมาะแก่ฆราวาส พระพุทธองค์ตรัสว่าสุญญตาธรรม คือ ธรรมที่เหมาะแก่ฆราวาส

เรื่องนี้ ท่านพุทธทาสเคยอธิบายว่า เพราะสุญญตาธรรม เป็นธรรมที่ทำให้สงบ ทำให้เย็นและทำให้ว่าง

ผู้ว้าวุ่นย่อมต้องการความสงบความว่าง ผู้รุ่มร้อนก็ต้องการความเย็น ดังนั้น สุญญุตาจึงเป็นเรื่องที่ชาวบ้านควรรู้และควรได้รับเป็นที่สุด

ที่จริงแล้ว ก็แปลตรงตัว คือจิตว่าง ก็เหมือนกับมือว่าง มือว่างไม่ได้แปลว่า ไม่มีมือ หรือว่างจากมือฉันใด จิตว่างก็เป็นฉันนั้น

คือสภาพของจิตที่ว่างจากกิเลสและความทุกข์

กล่าวอย่างถึงที่สุดก็ว่า จิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในทางที่เป็นตัวเป็นตน อันเป็นที่ตั้งของกิเลสเหตุแห่งทุกข์

นี้เป็นความว่างทั้งในส่วนเหตุและส่วนผล กิเลสเป็นเหตุ ความทุกข์ เป็นผล

ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ในทางที่เป็นตัวเป็นตนก็เป็นความว่างที่เป็นเงื่อนต้นสุด

เพราะมีแต่ว่างตรงเงื่อนต้นนี้เท่านั้น จึงจะกำจัดได้ทั้งเหตุและเผด็จได้ทั้งผลแท้จริง

จิตที่ยึดมั่นถือมั่น เป็นจิตที่เคลือบไว้ด้วยความไม่รู้คือ ความไม่รู้เท่าทันถึงสภาพแท้จริง ของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้อง

ความไม่รู้คือ อวิชชา ซึ่งเป็นด้านตรงข้ามของปัญญา เมื่อขจัดอวิชชา คือความไม่รู้ที่เคลือบจิตลงเสียได้ จิตก็จะเปี่ยมอยู่ด้วยปัญญา

จิตว่าง จึงเป็นจิตที่เปี่ยมอยู่ด้วยปัญญา ปัญญาที่รู้เท่าทัน ต่อสรรพสิ่งอย่างถูกต้องตามที่เป็นจริงและปัญญานี้เองที่จะบอกว่า ควรทำหรือไม่ทำอะไร เพราะอะไร เพื่ออะไร และโดยวิธีใดจึงจะไม่เป็นทุกข์

ความว่าง หรือสุญญตา จึงจำเป็นแก่ฆราวาสหรือชาวบ้านที่หนาแน่นอยู่ด้วยธุรกิจการงานนี้เป็นอย่างมากที่สุดเสียซ้ำไป

ว่าที่จริงแล้ว ธรรมทุกข้อหรือทุกระดับนั้น เปรียบเหมือนห่วงสร้อยหรือลูกโซ่ คือจับข้อใดก็สะเทือนถึงกันหมดทุกข้อ  ในพระบาลีนั้น เขาสรรเสริญกันว่า เหมือนพวงดอกไม้ อันร้อยไว้ได้ระเบียบดีนี้เป็นอุปมัยที่ประสงค์จะชมว่างดงาม คือพระธรรมนั้นงามในทุกระดับ งามทั้งต้น ทั้งกลาง และทั้งเบื้องปลายสุด

แต่ที่เปรียบกับห่วงสร้อย หรือลูกโซ่นั้น ประสานเอาความสัมพันธ์การสะเทือนถึงกันหมดทุกข้อ ทุกระดับเป็นสำคัญ …”

ความว่าง หรือความว่างเปล่า ตามนัยนี้ จึงแตกต่างจากคำว่าความสูญเปล่าโดยสิ้นเชิง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังจิตว่างอยู่หรือเปล่า ประเด็นนี้น่าขบคิด หากในเบื้องต้นเราหมั่นปัดกวาดเช็ดถูจิตอยู่เป็นนิจ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นหยาบ ว้าวุ่นหรือจิตละเอียดหรือไม่ เกิดปัญญาที่รู้เท่าทันกิเลสละจากความยึดมั่นถือมั่นตัวตนได้หรือไม่ มากน้อยเพียงไร  เมื่อปฏิบัติปัดกวาดนานวันไป ก็อาจจะถึงขั้นความว่างเปล่าจนไม่มีอะไรต้องเช็ดถูกันอีกเลยก็ได้   

ในชั้นนี้คงได้แต่หวังว่าปุถุชนคนทำงานอย่างเรา ๆ จะปฏิบัติให้เกิดความว่างแม้เพียงชั่วขณะก็ยังดี  เชื่อไหมว่าต่อให้เราขวนขวายเหน็ดเหนื่อยกันสักเพียงไร แสวงหาอะไรมาตั้งมากมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอันใดก็ตามแต่  ที่ต่างคนต่างนิยามความสุข ความสำเร็จแตกต่างกันไป ไม่มีที่สิ้นสุด พอได้สิ่งนี้ ก็นิยามสิ่งใหม่เป็นความสุข ความสำเร็จกันอีกอยู่เรื่อย ๆ  ไป  ข้อเท็จจริงของนิยามความสุข ความสำเร็จในทางโลกนี้ จึง “ไม่จำกัด” “ไม่มีขอบเขต”

ในบรรดาข้อเท็จจริง (facts) มากมายหลากหลายเหล่านั้น  แท้จริงแล้วสัจธรรม(truth) มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือความดับทั้งปวงของความทุกข์



[1]  Waste is an unwanted or undesired material or substance. It is also referred to as rubbish, trash, garbage, or junk depending upon the type of material and the regional terminology. In living organisms, waste relates to unwanted substances or toxins that are expelled from them. อ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Waste

 

คำสำคัญ (Tags): #emptiness#waste#สุญญตา
หมายเลขบันทึก: 233083เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2009 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สวัสดีปีใหม่ครับ
  • เป็นข้อธรรมที่ดีมาก อ่านแล้วสบายใจ
  • สุญญตา เป็นความว่างเปล่าจากตัวกู ของกู หากไม่มีแล้วความยึดมั่นถือมั่นก็จะลดลง สาเหตุที่มีทุกข์ก็เกิดจากการมีตัวกู ของกู ดังที่ท่านพุทธทาส ว่านั่นเอง
  • ในช่วงวันหยุดจึงเหมาะที่จะได้มาพิจารณาจิตเป็นเรื่งที่ดี

- อ่านแล้ว สงบใจดีครับ แต่ไม่รู้ว่าถึงขั้นว่างหรือเปล่า

- ผู้เขียนได้ให้แง่คิดที่ดีเหมาะกับกาละเทศะ

- คุณ "ศรีกมล" ผู้แสดงความคิดเห็นก็เสริมได้เป็นอัน

หนึ่งอันเดียวกันดี "ว่าง" เมื่อไหร่ก็จะแวะไปเยี่ยมบ้านแห่งธรรม

ของท่านทั้งสองอีกนะครับ

แวะมาสวัสดีปีใหม่ด้วยความคิดถึงค่ะ

(^_^)

ครูปูได้ใช้ความว่างให้เป็นประโยชน์ในการ ตก ตะกอนความสุข ของปีที่ผ่านมาไว้แล้วค่ะ

ขอบคุณที่นำมาแลกเปลี่ยนกันนะคะ 

สวัสดีค่ะ

  • ค่ะน้อง..ความสุขไม่มีขอบเขต สามารถเลือกได้ 
  • วัยเด็กคุรพ่อให้อ่านหนังสือประเภทนี้ แต่กว่าจะเข้าใจก็นับเป็น สิบ ๆปี
  • เพราะไม่ผ่านการปฏิบัติค่ะ เมื่อปฏิบัติได้  จึงได้รู้ค่ะ
  • ทำก่อนถึงธรรม..จริง ๆด้วยค่ะ
  • วันนี้พี่คิมนำข่าวพ่อครูบามาฝากค่ะ
  • อ่านแล้วก็ร้องไห้..
  • โทรไปบอกคนนั้นคนนี้
  • เขาพากันตกใจคิดว่าพี่คิมร้อง..ทำไม
  • เพราะไม่เคยเห็นร้อง..สักที
  • http://gotoknow.org/blog/sutthinun/237056
  • ขอบพระคุณท่านศรีกมล P ค่ะ
  • ศิลากำลังทบทวนใหม่แล้ว หลังจากฟังธรรมบรรยายของหลวงพ่อปราโมทย์ สรุปสั้น ๆ ได้ว่าอย่ายึดติดแม้กับ "ความว่าง" ค่ะ
  • แล้วแต่แต่ละท่านจะไปดูจิตของตัวเองเพื่อให้ได้คำตอบของตัวเองแล้วกันค่ะ
  • ผู้ปฏิบัติเท่านั้นที่รู้ได้ด้วยตนเอง  จำมาได้แค่นี้ค่ะ
  • ขอบพระคุณคุณผุู้ผ่านมาค่ะ
  • ความว่างน่าจะผลอันเกิดจากการเจริญสติ รู้ตัว ดูกายใจของเราแล้วค่ะ
  • ลองปฏิบัติไปด้วยกันนะคะ
  • ว่างเมื่อไรก็มาได้เสมอค่ะ ศิลาจะขยันตอบเม้นท์ให้มากกว่านี้ค่ะ
  • ตามไปดูตกตะกอนความสุขของคุณครูปู P มาแล้ว และชื่นชมในความสำเร็จด้วยค่ะ
  • งามนอก งามในจริง ๆ จำได้ว่าชุดเจ้าหญิงที่ใส่สวยสง่าเหมือนนางพญาเลยค่ะ
  • ช่วงนี้ไม่มีโอกาสได้คุยกัน ฝากไว้ตรงนี้ว่าคิดถึงเสมอไม่เสื่อมคลายค่ะ
  • ศิลาเป็นโรคความจำไม่สั้น และรักก็ยาวด้วยค่ะ
  • คุณวิญญาณเสรีPชอบมาแซวเกือบทุกบันทึกเลย
  • ไม่มีอะไรมาก คนกันเอง เดี๋ยวมีเคลียร์ค่ะ
  • คุณครูคิม P มีช่วงวัยเด็๋กที่คล้ายกับศิลามากค่ะ
  • ในช่วงนั้น เราไม่เข้าใจแจ่มแจ้งว่าคุณพ่อ คุณแม่ให้อะไรเรา กลับรู้สึกว่าถูกยัดเยียดในบางครั้ง
  • ถึงวันนี้ เราระลึกได้ว่าสิ่งที่ให้นั้นคืออะไร ไม่มีคำว่าสายสำหรับการเข้าใจธรรม (ชาติ) ค่ะ
  • ในเรื่องของความรู้สึก ความเมตตา ศิลาเข้าใจดีว่าคุณครูคิมมีอย่างเต็มเปี่ยม และมักจะซาบซึ้งกับความดีงามอยู่เสมอ เพราะคุณธรรมที่มีคือความเป็นผู้เสียสละค่ะ
  • ขอบพระคุณสำหรับความเมตตาที่แบ่งปันมาให้ศิลาค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท