โรงเรียนทางเลือก


โรงเรียนทางเลือก

 

 

 

การศึกษาวอลดอร์ฟ (Waldorf Education)
ความเป็นมา

          รู ดอล์ฟ สไตเนอร์ (1861-1925) นักปรัชญาผู้ก่อตั้งการศึกษาวอลดอร์ฟ เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1861 ในฮังการี การศึกษาของเขาในช่วงต้น คือ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ผลงานเขียนในระยะแรกเกี่ยวกับปรัชญาของคานต์ (Kant) ต่อมาเขาได้ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ปรัชญา และวรรณคดี และศึกษางานของเกอเธต์อย่างลึกซึ่งจนสามารถเป็นบรรณาธิการงานเขียนทางวิทยา ศาสตร์ของเกอเธตและซิลเลอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียง รูดอล์ฟ สไตเนอร์ พัฒนาปรัชญาของเขาต่อมาอีก ด้วยการทําวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่องทฤษฎีว่าด้วยความรู้ อันเป็นผลงานชิ้นสําคัญในชีวิต โดยได้รับการตีพิมพ์ในชื่อ The Philosphy of Freedom "ปรัชญา แห่งความเป็นอิสระและหลุดพ้น" งานของเขาตั้งแต่นั้นจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต คือ การศึกษาเรื่องธรรมชาติของมนุษย์และการแสวงหาความจริง มนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ซึ่งเขาพัฒนาขึ้น ถือเป็นศาสตร์แห่งจิตวิญญาณ (Spiritual Science) ที่ก้าวพ้นความจํากัดของการแสวงหาความจริงเฉพาะจากการรับรู้ที่เป็นรูปธรรม ตามปรัชญาของคานต์ไปสู่การแสวงหาความจริงจากการรับรู้ของทั้งกายและจิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มิได้แยกจากอารมณ์ ความรู้สึก แต่อยู่คู่กันอย่างกลมกลืน จะนํามนุษย์ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง นั่นคือ อิสระและการหลุดพ้น มนุษยปรัชญานี้เป็นพื้นฐานของการศึกษาวอลดอร์ฟ

          โรง เรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกตั้งขึ้นในช่วงเวลาแห่งความยากลําบากของชาวเยอรมัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวเยอรมันพยายามแสวงหาวิธีการเปลี่ยนแปลงสังคมที่โหดร้ายทารุณต่อมนุษยชาติ ให้สิ้นไป เอมิล มอลต์ ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ วอล ดอร์ฟแอสโทเรีย ที่สตุทการ์ท เป็นนักอุตสาหกรรมที่ต้องการเปลี่ยนทิศทางของสังคมเสียใหม่ใน ค.ศ.1919 เขาได้เชิญสไตเนอร์ไปบรรยายแนวคิดของเขาให้คนงานในโรงงานฟังและได้รับคำขอ ร้องจากทางโรงงานให้เปิดโรงเรียนตามปรัชญาของเขาให้แก่บุตรหลานของคนงาน รวมทั้งเปิดหลักสูตรสำหรับการศึกษาผู้ใหญ่ด้วย

          การ ศึกษาวอลดอร์ฟ เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวตามมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมให้สามารถพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ การเคลื่อนไหวตามปรัชญานี้ก่อให้เกิดการพัฒนาในศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ เพื่อนำไปใช้ในโรงเรียน ชุมชน และสังคมศาสตร์เหล่านั้นได้แก่ การแพทย์ เภสัชกรรม สถาปัตยกรรม เกษตรกรรม การธนาคารชุมชน วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแบบเกอเธต์ การละคร ดนตรีและศิลปะ ศิลปะการเคลื่อนไหวแบบยูริธมีการศึกษา การศึกษาพิเศษ ศิลปะบําบัดจิตวิทยาการแนะแนวแบบร่วมมือ

          ตลอดเวลา 80 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีการก่อตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกขึ้น การศึกษาวอลดอร์ฟได้แพร่หลายไปทั่วโลก ปัจจุบันมีโรงเรียนอนุบาลตามแนวนี้ 1087 โรงโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา 640 โรง ศูนย์บําบัดกว่า 300 แห่ง และสถาบันฝึกหัดครูกว่า 50 แห่ง ใน 56 ประเทศทั่วโลก

เป้าหมาย

          เป้า หมายของการศึกษาวอลดอร์ฟ คือ ช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกําหนดความมุ่งหมายและแนว ทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกําลังความสามารถของตน แต่มนุษย์จะบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนไม่ได้ ถ้าเขายังไม่มีโอกาสได้สัมผัสหรือค้นพบส่วนต่างๆ หลายส่วนในตนเอง ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวอลดอร์ฟจึงเน้นการศึกษาเรื่องมนุษย์และความเชื่อมโยงของมนุษย์กับ โลกและจักรวาล การเชื่อมโยงทุกเรื่องกับมนุษย์ ไม่ใช่เพื่อให้มนุษย์ยึดตนเอง (อัตตา) แต่เป็นการสอนให้มนุษย์รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในโลกมนุษย์ปรัชญาเน้นความ สําคัญของการสร้างความสมดุลใน 3 วิถีทางที่บุคคลสัมพันธ์กับโลก คือ ผ่านกิจกรรมทางกาย ผ่านอารมณ์ความรู้สึก และผ่านการคิด

          การศึกษาวอลดอร์ฟ มุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืน และให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา ด้านศิลปะ และด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะ

แนวคิดสําคัญ

1 . แนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์
          
มนุษย์มีชีวิตอยู่ใน 3 โลก คือ โลกแห่งวัตถุ (physical world) โลกแห่งความรู้สึก (soul world) และโลกแห่งจิตวิญญาณ (spiritual world) โดยผ่านรูปกาย (physical body) กายแห่งความรู้สึก (etheric body and astral body)และจิตวิญญาณ (spirit)

          มนุษย์ก่อกำเนิดในโลกแห่งวัตถุ เติบโตผ่านโลกแห่งความรู้สึกและผลิบานในโลกแห่งจิตวิญญาณมนุษย์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

          1. รูปกาย (physical body) เป็นส่วนที่พัฒนาอวัยวะรับรู้ความรู้สึก เพื่อเรียนรู้ความจริงในโลกแห่งวัตถุ และพัฒนาอวัยวะสำหรับการหยั่งรู้เพื่อเรียนรู้ความจริงในโลกแห่งจิตวิญญาณ รูปกายมีคุณสมบัติร่วมกับธาตุต่างๆ ในโลก อันมีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นสำคัญ

          2. กายชีวิตหรืออินทรีย์แห่งปราณ (life or etheric body) เป็นส่วนที่หล่อเลี้ยงรูปกายให้เจริญเติบโต มีคุณสมบัติแห่งชีวิตที่มนุษย์มีร่วมกับพืช

          3. กายแห่งผัสสะ (astral body) เป็นส่วนที่ทําให้มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิด มีคุณสมบัติแห่งสัญชาตญาณที่มนุษย์มีร่วมกับสัตว์

          4. จิตแห่งความรู้สึก (sentient soul) เป็นดวงจิตที่รับรู้โลกภายนอก ผ่านกายแห่งผัสสะ (astral body) ทําให้เกิดความต้องการและความรู้สึกต่างๆ เช่น โลภ โกรธ หลง ดวงจิตนี้ยังมีคุณสมบัติที่มนุษย์มีร่วมกับสัตว์

          5. จิตแห่งปัญญา (intellectual soul) เป็นดวงจิตที่สูงกว่าดวงจิตแห่งความรู้สึก เนื่องจากมีความคิดเหตุผลเพิ่มขึ้นแต่ก็ยังพัวพันกับดวงจิตแห่งความรู้สึก ซึ่งยังมีความต้องการและความรู้สึกต่างๆ อยู่

          6. จิตสํานึก (consciousness or spiritual soul) เป็นสํานึกที่ลึกลงไปในดวงจิต ซึ่งทําให้ดวงจิตปราศจากอคติ ไม่ว่าจะเป็นการรังเกียจเดียดฉันท์หรือการเข้าข้างพวกพ้อง

          7. จิตวิญญาณแห่งตัวฉัน (spirit self) เป็นจิตวิญญาณของเอกัตบุคคลที่รับรู้โลกแห่งจิตวิญญาณผ่านการหยั่งรู้ (intuition) ที่เกิดขึ้นในตัวอันเป็นผลจากภาพสะท้อนของความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในตัว จากโลกของวัตถุ และจากภาพสะท้อนของความจริงและความดีนิรันดร์จากโลกแห่งจิตวิญญาณ จิตวิญญาณแห่งตัวฉัน (spirit self) เป็นกายแห่งผัสสะ (astral body) ที่พัฒนาแล้ว

          8. จิตวิญญาณแห่งชีวิต (life spirit) เป็นพลังชีวิตของจิตวิญญาณ เช่นเดียวกับที่กายชีวิตหรืออินทรีย์แห่งปราณ (life or etheric body) เป็นพลังชีวิตที่หล่อเลี้ยงรูปกาย (physical body) ให้เติบโต
รูปกายมีผิวกายจํากัดขอบเขต ทําให้แต่ละคนรู้สึกกับธาตุต่างๆ ในโลกไม่เหมือนกัน จิตวิญญาณก็มีผิวของจิตวิญญาณ (spiritual skin หรือ auras heath) ซึ่งทําหน้าที่จํากัดหรือแยกขอบเขตของจิตวิญญาณของเอกัตบุคคลให้เป็นอิสระ จากโลกของจิตวิญญาณ ในขณะที่ผิวกายจํากัดขอบเขตการเจริญเติบโตของรูปกาย ผิวของจิตวิญญาณ (spiritual skin) สามารถขยายเพื่อรับการหล่อเลี้ยงความรู้จากโลกของจิตวิญญาณได้ไม่สิ้นสุด จิตวิญญาณแห่งชีวิต (life spirit) เป็นกายชีวิต (life body) ที่พัฒนาแล้ว

          9. มนุษย์ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ (spirit man) เป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณที่เป็นอิสระจากโลกของวัตถุและโลกของจิตวิญญาณ มนุษย์ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ได้รับการหล่อเลี้ยงทางจิตวิญญาณ จากจิตวิญญาณแห่งชีวิต (life spirit) ซึ่งอยู่ภายใต้ผิวของจิตวิญญาณ (spiritual skin) เช่นเดียวกับที่รูปกาย (physical body) ได้รับการหล่อเลี้ยงจากกายชีวิต (life or etheric body) มนุษย์ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ (spirit man) คือ รูปกาย (physical body) ที่ผ่านการพัฒนาทางจิตวิญญาณแล้ว

กระบวนการ

1 . การจัดการศึกษา

  • การศึกษาต้องพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยการพัฒนาให้มนุษย์เข้าถึงสัจธรรม
    เด็กวัยแรกเกิดถึง 7 ปี เรียนรู้ด้วยการกระทำ ดังนั้นการสอนต้องเน้นให้เด็กมุ้งมั่นตั้งใจกับการกระทำความดี
    เด็กวัย 7-14 ปี เรียนรู้จากความประทับใจ ดังนั้นการสอนต้องเน้นให้เด็กรู้สึกถึงความงาม
    เด็กหนุ่มสาววัย 14-21 ปี เรียนรู้จากการคิด ดังนั้นการสอนต้องเน้นให้เด็กคิด จนเกิดปัญญาเห็นสัจธรรมและความจริงในโลก
  • แม้ว่าพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน แต่การศึกษาทุกระดับต้องพัฒนาร่างกายและจิตวิญญาณควบคู่กัน โดยให้เกิดความสมดุลในการเรียนรู้ด้วยกาย ( การลงมือกระทำ ) หัวใจ (ความรู้สึก ความประทับใจ ) และสมอง (ความคิด)
  • เนื่องจากเด็กวัยแรกเกิดถึง 7 ปี มีลักษณะที่เรียนรู้พร้อมกันไปทั้งตัวโดยการเลียนแบบที่มิใช่เฉพาะท่าทางภายนอก แต่เลียนแบบลึกลงไปในจิตวิญญาณ โดยที่เด็กเองไม่รู้ตัว ในวัยนี้ความดีงามของผู้ใหญ่รอบข้างจะซึมเข้าไปในตัวเอง ช่วยให้เด็กพัฒนาความมุ่งมั่นในสิ่งดีงาม ดังนั้น การศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยจึงยึดหลักต่อไปนี้
    1 .
    การทำซ้ำ (repetition) เด็กควรได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนการกระทำนั้นซึมลึกลงไปในกายและจิตจนเป็นนิสัย
    2.
    จังหวะเวลาที่สม่ำเสมอ (rhythm) กิจกรรมในโรงเรียนต้องเป็นไปตามจังหวะเวลาที่สม่ำเสมอ เหมือนลมหายใจเข้า -ยาม จิตใจสงบและผ่อนคลาย เด็กจะได้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย
    3.
    ความเคารพและการน้อมรับคุณค่าของทุกสิ่ง กิจกรรมและสื่อธรรมชาติที่จัดให้เด็กเพื่อให้เด็กเคารพและเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ ที่เกื้อหนุนชีวิตมนุษย์ ความเคารพและน้อมรับคุณค่าของสิ่งต่างๆ จะเป็นแก่นของจริยธรรมตลอดชีวิตของเด็ก

2 . บทบาทครู

          ครูอนุบาลตามแนววอลดอร์ฟ นอกจากเป็นแบบอย่างของความมุ่งมั่นตั้งใจให้แก่เด็กแล้ว ยังมีบทบาทสําคัญอื่นๆ ได้แก่ การสังเกตเด็กขณะที่เด็กเรียน ไตร่ตรองความเจริญก้าวหน้าและปัญหาของเด็กหลังสอนและก่อนสอน การทํางานกับพ่อแม่เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันและกันในฐานะผู้ร่วมกรุยทางชีวิตให้แก่เด็ก การปฏิบัติสมาธิ การทํากิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและกิจกรรมอื่นๆ เพื่อพัฒนาตนเอง

          ใน แต่ละวัน ครูอนุบาลเป็นบุคคลที่สําคัญที่สุดในชีวิตของเด็ก ขณะอยู่ที่โรงเรียน ความคิด ความรู้สึกและความมุ่งมั่นตั้งใจของครู ถ่ายทอดสู่เด็กโดยตรงด้วยพลังทั้งหมดในตัวครู ไม่ใช่เพียงผู้อํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก ครูมิใช่เป็นผู้เรียกร้อง หรือสร้างกฎเกณฑ์การกระทําของเด็ก แต่ครูเป็นผู้ส่งพลังความมุ่งมั่นที่มีในตัวทั้งหมดให้แก่เด็ก โดยการเป็นแบบอย่างของบุคคลที่พัฒนาความเป็นมนุษย์ในตนเองตลอดเวลา พลังความมุ่งมั่นตั้งใจของครูจะเป็นรากฐานสําคัญในการพัฒนากายและจิตวิญญาณ ของเด็กทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่

 

http://www.thaikids.org/schools/page5_schools.htm

หมายเลขบันทึก: 233015เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2009 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท