คู่กันฉันและเธอลด BMI ภาคชุมชนที่บ้านป่า


“คู่กันฉันและเธอ”ลด BMI  ตำบลบ้านป่า

บรรยากาศสบายๆสไตส์บ้านป่า

บ้านป่าเป็นตำบลชายขอบ อำเภอเมือง จากการสำรวจคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยง พบว่ามีประชาชนที่มีBMI เกิน 25 มากพอควร  บวกกับ แนวคิดที่พี่ติ๋ว พี่สุ น้องจี๊ด พี่วิเศษ  จับคู่เข้าโครงการ “คู่กันฉันและเธอ”ลด BMI  ภาค1  จึงได้นำแนวคิดที่ได้ทดลองทำมาแล้วกับตัว ว่าดี ว่าสนุก   สนุก ได้สาระ  มาทำในชุมชนบ้าง  ข้อมูลเดือนแรกที่ผู้เข้าร่วมโครงการลดน้ำหนัก ได้ เกือบ 100%   จึงเกิดการจัดกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยง   

ทีมงานเราเน้น ความเป็นทีม  ความสนุก  และอิ่มอร่อยเสมอ

 

เพื่อนที่เคยพากันกินอย่างเดียว  ก็จับมือ กันมามุ่งมั่นลดน้ำหนัก

กิจกรรมที่ทำ         มีรางวัลที่น่าสนใจ ถูกใจชุมชน คือ จักรยาน        เสริมทักษะในการให้ความรู้ที่นำสู่การปฏิบัติในการลดน้ำหนัก ประกอบด้วย พี่ติ๋ พี่สุ และทีมบ้านป่า  แมวมอง กวาดสายตาหากลุ่มเป้าหมาย เตรียมงานทั้งหมด ทั้งโครงการ การประเมินผลก่อน หลัง  สถานที่ อาหาร  ฯลฯ นี่แหละนางเอกตัวจริง  อ้อและพี่ติ๋วใช้เวลาในการพูดคุย วางแผนกันแบบด่วนจี๋ mail บ้าง โทรศัพท์บ้าง ปั่นจักรยานมาหากันบ้าง อาจารย์และพี่โต้งรับทราบโครงการทางmail  Ok  ลุยได้............ 7 วัน......ผ่านไปทุกอย่างพร้อม เราเดินทางไปบ้านป่า   

 

 

เริ่มที่ อ.นิพัธ สร้างแรงจูงใจในการไปสู่เป้าหมาย  หมออัญ บอกเล่าเรื่องอาหารเรื่องสำคัญ   พี่อ้อ เรื่อง ออกกำลังกาย   มีผู้ใหญ่สมบัติ  มาเล่าประสบการณ์ลดน้ำหนัก ได้สำเร็จ 10 กก เป็นต้น

ภาพการออกกำลังกาย ความสนุกอยู่ที่ ก้มก็ติดพุง ก้มไม่ลง ลุกก็ไม่ขึ้น  กลิ้งกันเป็ลูกขนุน

ผ้าถุงเปิด กันพรึ่บ พรั่บ  XXXX 

ในฐานะที่เราเป็นผู้นำทางสุขภาพ  การทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ฝันคืออย่างให้เกิดกระแสความตื่นตัวทางชุมชน นำสู่การลุกขึ้นมาร่วมกันแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยชุมชน เพื่อชุมชน  เรื่องการลด BMI เป็นเพียงภาพเล็กๆ ภาพเดียวที่มี ภาพที่ใหญ่กว่าซ่อนอยู่  ...คือ ...ภาพที่ชุมชนเห็นว่า  เรื่องอ้วนเป็นปัญหาของชุมชน ที่นำสู่ปัญหาสุขภาพมากมาย  ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ความดัน  CVA และอื่นๆ สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ชุมชนเห็นปัญหา และนำสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

 

 

หมายเลขบันทึก: 232435เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2008 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีปีใหม่ค่ะทีมงานทุกท่าน ชื่นชมกับความคิดสร้างสรรค์ และจิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาของทุกคนจริงๆค่ะ

ขอให้กุศลที่เกิดจากความเมตตาและการทุ่มเทแรงกาย แรงใจ อำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สุขใจ และประสบความสำเร็จในทุกสิ่งที่ทำนะคะ

ค่ายพิชิตอ้วน พิชิตพุงของรพ.อุดรรุ่นแรกที่จัดครบ 2 ปีพอดี เราติดตามประเมินผลระยะยาวดู ยังคงลดน้ำหนัก ลดเอวได้เหมือนเดิมไม่yoyo กว่าร้อยละ 40

ออกกำลังกายด้วยยางยืดไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลยค่ะ เพราะคนที่ลดน้ำหนักได้แต่ไม่ออกกำลังกายแบบนี้กล้ามเนื้ออาจไม่กระชับสวยงาม พุงยุบแต่เป็นรอยย่นๆไม่ตึงเรียบ ท่าออกกำลังกายที่เป็นจุดขายสำหรับคนอ้วนของเราคือ การลดหน้าท้อง ลดต้นขาค่ะ

วันนั้นสนุกมากเลยนะอ้อนะ....กลั้นหัวเราะแทบไม่ไหว....ทุกคนมีความตั้งใจมากเลยทีเดียว อย่างนี้รับรองว่า ...แต่ละคนพุงยุบกันเป็นแถว... ก็ถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ ขอให้โชคดีๆๆ....มีความสุข

Catsny2

อานิสงส์ในงานนี้คงจะทำให้พวกเราหุ่นดี สวยสดใสกันทุกคนเลยนะ

ผู้ป่วยทำได้...แล้วเราละ..ต้องทำได้นะ ( ลดน้ำหนักนะคะ )

เยี่ยมจริง ๆ เลย...

นักคิด นักทำ นักกิจกรรม...ทำแล้วเห็นภาพและเห็นผล

ส่งให้ชุมชนมีสุขภาพดี

ทีมก็สุดยอด...

แอ็ด...ช้าไปหน่อยก็นับถือจากใจครับ

ดัชนีมวลกาย

การวัดดัชนีมวลร่างกาย Body Mass Index (BMI) คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง ที่ใช้บ่งว่าอ้วนหรือผอม ในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลร่างกาย เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

วิธีคำนวณดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI)

สูตรคำนวณดัชนีมวลกายคือ [ดัชนีมวลกาย= น้ำหนักตัว / ความสูง ยกกำลังสอง]

40 หรือมากกว่านี้ : โรคอ้วนขั้นสูงสุด

35.0 - 39.9: โรคอ้วนระดับ2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติคุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง

28.5 - 34.9: โรคอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย

23.5 - 28.4: น้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูงต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23

18.5 - 23.4: น้ำหนักปกติ และมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้

น้อยกว่า 18.5: น้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ดัชนีมวลกาย bmi หาค่าอย่างไร แล้วลองมาเช็กดูซิว่า ค่าดัชนีมวลกายของเราอยู่ในเกณฑ์ไหน

จะว่าไป บางทีเราก็ไม่รู้ตัวเหมือนกันนะว่าตอนนี้ตัวเอง "อ้วน" หรือ "ผอม" เกินไป เพราะดูเผิน ๆ แค่รูปร่างภายนอกก็สรุปไม่ได้เหมือนกัน ว่า น้ำหนักกับส่วนสูงของเราสมดุลกันหรือเปล่า แต่เรามีวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณรู้ตัวเองได้ว่าตอนนี้รูปร่างของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือผิดปกติไหมนะ นั่นก็คือ การหาค่าดัชนีมวลกายนั่นเอง

แล้วดัชนีมวลกายคืออะไรล่ะ?

ดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัว ต่อความสูงของมนุษย์นั่นเอง ซึ่ง Adolphe Quetelet ชาวเบลเยียม เป็นผู้คิดค้นขึ้น และถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว

หาค่าดัชนีมวลกายได้อย่างไร?

ง่าย ๆ แค่ต้องรู้ตัวเลข 2 อย่าง คือ "น้ำหนักของตัวเอง" (หน่วยเป็นกิโลกรัม) และ "ส่วนสูงของตัวเอง" (หน่วยเป็นเมตร) ตัวอย่างเช่น เราน้ำหนัก 60 กิโลกรัม มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร หรือเท่ากับ 1.6 เมตร ก็จำเลข 60 กิโลกรัม กับส่วนสูง 1.6 เมตรเอาไว้ ถ้าพร้อมแล้วก็มาลองคำนวณดัชนีมวลกายของตัวเองดูกันเลย

สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย

BMI = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง

ถ้าเราหนัก 60 กิโลกรัม สูง 1.6 เมตร ก็จะคำนวณได้เป็น 60 หารด้วย (1.6x1.6) = 23.43

จำตัวเลขที่เราคำนวณไว้ให้ดีนะจ๊ะ เพราะเราจะนำตัวเลขที่ออกมานี้แหละไปเทียบกับเกณฑ์ต่อไปนี้

ดัชนีมวลกาย ค่า bmi

มาดูเกณฑ์ประเมินค่าดัชนีมวลกาย

สำหรับค่านี้กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)

ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 >>>> คุณผอมเกินไป

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 >>> คุณอยู่เกณฑ์เหมาะสม น้ำหนักตัวปกติ

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 25-29.9 >>> คุณน้ำหนักเกิน แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วน

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 30-39.9 >>> คุณอ้วนแล้ว !

ค่าที่ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 40 >>> คุณอ้วนเกินไป อันตรายมาก !!!

เห็นเกณฑ์ข้างต้น หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมตัวเลขเกณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบไม่ตรงกับที่เคยรู้มา อันนี้ต้องบอกก่อนค่ะว่า ค่านี้เป็นค่าที่ใช้ในประเทศเมืองหนาว แต่ถ้านำมาเทียบกับคนเอเชีย ซึ่งเป็นเมืองร้อน จะมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขนิดหน่อย เพื่อให้เหมาะสมกับเมืองร้อนที่ไม่จำเป็นต้องมีไขมันไว้ปกป้องร่างกายจากอากาศหนาว ๆ มากนัก ดังนั้น ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมสำหรับชาวเอเชียจะต้องเป็น

ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 >>>> คุณผอมเกินไป

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 >>> คุณอยู่เกณฑ์เหมาะสม น้ำหนักตัวปกติ

ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 23-24.9 >>> คุณน้ำหนักเกิน แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วน

ค่าที่ได้มากกว่า 25-29.9 >>> คุณอ้วนแล้ว !

ค่าที่ได้มากกว่า 30 >>> คุณอ้วนเกินไป เสี่ยงที่จะเกิดโรคที่มาจากความอ้วน

ดังนั้น จากที่เราคำนวณได้ค่า 23.43 ถ้าเป็นคนเอเชียก็เท่ากับน้ำหนักเกินไปนิดหน่อยจ้า แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วนนะ

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องบอกก็คือ ค่าดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับคนที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก ๆ อย่างนักกีฬา นักเพาะกาย หรือหนุ่ม ๆ ที่ชอบฟิตกล้ามนะจ๊ะ เพราะคนกลุ่มนี้อาจจะมีน้ำหนักมาก แต่ก็ไม่จัดว่าอ้วน

ลองนำสูตรนี้ไปคำนวณกับตัวเองดูได้เลย อย่างน้อยก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เตือนให้เราได้รู้ตัวกันเนอะ เพราะถ้าอ้วนเกินไป รับรองว่าต้องเจอโรคร้ายมารุมเร้าแบบไม่ต้องกวักมือเรียกแน่นอน จะได้รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไว ยิ่งปรับเร็วเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้น

Source: HonestDocs

https://www.honestdocs.co/bmi-body-mass-index-calculator

https://www.honestdocs.co/conditions

https://www.honestdocs.co/ask

https://www.honestdocs.co/hospitals

https://www.honestdocs.co/health-care

https://www.honestdocs.co/family

https://www.honestdocs.co/living-well

https://www.honestdocs.co/drugs


ขายยาออนไลน์ผิดกฎหมายนะโฮเนส

Amoxicillinข้อบ่งใช้อ่านเพิ่มเติมที่ขนาดยา

ขนาดยาผู้ใหญ่: สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดื้อยา 250-500มิลลิกรัม(มก.)ทุก8ชั่วโมง หรือ 500-875 มก. ทุก 12 ชั่วโมง(ชม.)

ยาชนิดรับประทานโรคฝีในช่องปากผู้ใหญ่: 3กรัม, ให้ซ้ำอีก 1 ครั้งหลังจากได้รับยาไป 8 ชม.

ยาชนิดรับประทานติดเชื้อทางเดินปัสสาวะชนิดไม่ซับซ้อนผู้ใหญ่: 3กรัม, ให้ซ้ำอีก 1 ครั้งหลังจากได้รับยาไป 10-12 ชม.

ยาชนิดรับประทานหนองในแท้/หนองในเทียมผู้ใหญ่: 3กรัม ให้กินครั้งเดียวร่วมกับยา probenecid ขนาด 1 กรัม

ยาชนิดรับประทานติดเชื้อ เอช.ไพโรไล(H.pylori)ผู้ใหญ่: 750 มก. หรือ 1,000 มก.วันละ 2 ครั้ง หรือ 500 มก.วันละ 3 ครั้งร่วมกับยา metronidazole หรือ clarithromycin และยาต้านการหลั่งกรดกลุ่ม PPI

ยาชนิดรับประทานติดเชื้อโรคแอคติโนมัยโคสิส , ติดเชื้อที่ทางเดินน้ำดี, หลอดลมอักเสบ, เยื่อบุหัวใจอักเสบ, ภาวะกระเพาะลำไส้อักเสบ, หนองใน, ติดเชื่อที่ปาก, ติดเชื้อที่ตา, โรคปอดบวม, ความผิดปกติของม้าม, ไข้รากสาดและไข้รากสาดเทียม, ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะผู้ใหญ่:250-500 มก.ทุก 8 ชม. หรือ 500-875 มก. ทุก 12 ชม.เด็ก: น้ำหนักน้อยกว่า 40กก. ให้ยาตามน้ำหนัก 40-90 มก./กก. แบ่งให้ 2-3 ครั้งต่อวันสูงสุด 3กรัม/วัน

ยาชนิดรับประทานป้องกันเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ใหญ่: 2 หรือ 3ก. ให้ครั้งเดียว 1 ชม.ก่อนการผ่าตัดเด็ก: 50มก./กก. ให้ครั้งเดียว 1 ชม.ก่อนการผ่าตัด

ยาชนิดรับประทานคออักเสบ, ต่อมทอลซินอักเสบผู้ใหญ่: หากเป็นยาชนิดค่อยๆปลดปล่อยให้ขนาด 775 มก. ต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน

ให้ยาทางหลอดเลือดติดเชื้อไม่ดื้อยาผู้ใหญ่: 500มก. ทุก 8 ชม.ฉีกเข้ากล้ามเนื้อ หรือค่อยๆให้ทางหลอดเลือดดำ, ภาวะติดเชื้อรุนแรงอาจให้ยาสูงถึง 1 กรัม ทุก 6ชม.ทางหลอดเลือดดำ(ค่อยๆฉีดในระยะเวลา 3-4 นาที) หรือให้ร่วมกับน้ำเกลือทางหลอดเลือดดำโดยใช้ระยะเวลา 30-60 นาทีเด็ก: น้ำหนักตัวน้อยกว่า 40กก.: ให้ยาขนาด 40-90 มก./กก.แบ่งให้สองครั้งต่อวัน สูงสุดขนาดยา 3กรัม/วัน

Renal Impairment/ภาวะไตเสื่อมผู้ป่วยฟอกไต: 250-500 มก. ทุก 24 ชม. และควรมีการปรับขนาดยาระหว่างทำการฟอกไตCrCl น้อยกว่า 10 ขนาดยา 250-500 มก. ทุก 12 ชม.CrCl 10-30 ขนาดยา 250-500 มก. ทุก 12 ชม.

การบริหารยาสามารถกินก่อน หรือหลังอาหาร .กินยาหลังอาหารจะช่วยให้การดูดซึมยาดีขึ้น และช่วยลดอาการไม่สบายท้องหลังกินยาได้

Reconstitution/การผสมยาสำหรับยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำละลายยา 500 มก.ในน้ำสำหรับยาฉีด(water for injection) 10 มล.จะทำให้ได้ปริมาตรสารละลาย 10.4 มล. หรือเจือจางเพิ่มเติมกับสารละลายที่สามารถให้ทางหลอดเลือดดำที่เหมาะสมสำหรับยาที่ฉีดให้ทางกล้ามเนื้อเติมน้ำสำหรับยาฉีดปริมาตร 2.5มล. และเขย่าจนยาละลายเข้ากันได้ดีทำให้มีปริมาตรสุดท้ายเท่ากับ 2.9 มล.

Incompatibility/ยาที่ไม่สามารถให้ร่วมกันได้ผลิตผลจากเลือด, สารละลายที่มีส่วนประกอบของโปรตีน(เช่น โปรตีนไฮโดรไลเสต), IV lipid emulsion, aminoglycosides

Contraindications/ข้อห้ามในการใช้ยานี้มีประวัติแพ้ยา amoxicillin และตัวยาอื่นๆในกลุ่ม penicillins

Special Precautions/ควรระวังเป็นพิเศษผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาในกลุ่มเบต้า-แลคแทม, ไตเสื่อม, ตั้งครรภ์และให้นมบุตร, โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

Adverse Drug Reactions/อาการไม่พึงประสงค์จากยาคลื่นไส้, ท้องเสีย, ลิ้นมีขนสีดำ, serum sickness-like reactions, ไข้ผื่น, ผื่นแพ้ยา, ผื่นแพ้ยารุนแรงชนิด Stevens-Johnson syndrome, ผื่นแพ้ยา ED, ฯลฯ

Pregnancy Category(US FDA)/ความปลอดภัยของยาต่อทารกในครรภ์

Pregnancy Category B หมายถึง ยาที่ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อนจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมในมนุษย์ หรือยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลองแต่ยังไม่พบว่ามีผลเสียต่อ ทารก ในมนุษย์จากการศึกษาแบบควบคุม เช่น ยาปฎิชีวนะในกลุ่ม Penicillins

Patient Counselling/คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ และตรวจสอบปริมาณของปัสสาวะ

Monitoring Parameters/ผลแลปที่ต้องดูแลระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับยาดูแลภาวะของไต, ตับ, และระบบเลือด, ภาวะปฎิกริยากับยาในยาขนานที่ 1อ้างอิง

https://www.drugs.com/uk/amoxicillin-500mg-capsules-leaflet.htmlhttps://sites.google.com/site/rxbanglamung//ยาที่ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์/pregnancy-categoryhttps://sites.google.com/site/drugallergiesmsu/drug_allergies/type/exfoliative-dermatitishttps://druggood.com/amoxicillin/https://www.uptodate.com/contents/treatment-of-uncomplicated-neisseria-gonorrhoeae-infections

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท