รพ.มวล. : เรียนรู้จากโรงพยาบาลใหญ่ (๖)


ผู้นำต้องรู้ถึงแก่นของการพัฒนาคุณภาพ

ตอนที่

วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๑

ทีมเราตกลงกันตั้งแต่เย็นเมื่อวานว่าวันนี้จะเดินทางไปถึงโรงพยาบาลสงขลานครินทร์แต่เช้า เพื่อชดเชยที่มาสายในวันแรก จึงนัดกันออกจากโรงแรมที่พักตั้งแต่ประมาณ ๐๗.๓๐ น. เผื่อเวลาเอาไว้เพราะไม่แน่ใจว่าจะเจอปัญหารถติดอีกหรือเปล่า

ไปถึงโรงพยาบาลแต่เช้าจึงมีเวลาเดินดูพื้นที่ต่างๆ เราชอบที่ทางเดินในตัวอาคารกว้างขวางและสะอาดมาก บริเวณพื้นที่นอกอาคารก็มีสวนเล็กๆ (แต่ต้นไม้หลายต้นใหญ่มากแล้ว) มองเห็นบริเวณ OPD ที่ผู้คนไม่แออัดมากนัก

ได้เวลาที่นัดหมาย ๐๙.๐๐ น. ก็เข้าห้องประชุม วันนี้ รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและ รศ.นพ.ธวัช ชาญชญานนท์ ที่มีตำแหน่งเป็นทั้งหัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยาและหัวหน้าศูนย์คุณภาพ มาพูดคุยกับพวกเราในเรื่องของการบริหารจัดการด้านคุณภาพ  HA และการบริหารความเสี่ยง

ระบบความเสี่ยงเป็น part ใหญ่ของโรงพยาบาล concept ที่ใช้คือ 3C-PDSA มีเครื่องมือหลายตัวและ integrate เข้าในระบบคุณภาพ LEAN, SIPOC model, 3P (หน่วยงาน) งานด้านคลินิกใช้ clinical tracer

เมื่อเอา LEAN มาจับ คุณภาพคือการเปลี่ยนจาก waste ไปสู่ value ในมุมมองของผู้รับผลงานอย่างไม่รู้จบ เป้าหมายสูงสุดคือ safety เพิ่มขึ้น Quality สูงขึ้น Delivery ได้มากขึ้น Cost ลดลง เพิ่ม morale (SQDCM)

สภาพปัจจุบัน มาตรฐานและความคาดหวัง มี gap อยู่ตรงไหน (ความคาดหวังเปลี่ยนตลอดเวลา) หัวใจของการพัฒนาคุณภาพ พยายามสื่อสารกับบุคลากรด้วย model ง่ายๆ คือซาละเปา ใส้-กระบวนการเรียนรู้ มีการประเมินตนเอง พัฒนาตนเอง การประเมินจากภายนอก-การรับรองคุณภาพ สิ่งสุดท้ายที่คาดหวังคือคุณภาพและความปลอดภัย

ค่านิยมและแนวคิดหลัก เปรียบเหมือนกระดาษรองซาละเปา HA เป็นกระบวนการเรียนรู้ มุ่งเน้นผู้ป่วยและสุขภาพ พัฒนาต่อเนื่อง ใช้วงล้อ PDCA ตลอดเวลา

HA perspective
– Safety perspective - Quality review, Risk management system, Patient safety goal, Trigger tools ( เช่น คนที่ตายโดยไม่คาดคิด คนที่ต้องผ่าตัดซ้ำ)
– Standard perspective: Hospital standard
– Spirituality perspective ( Humanized healthcare, Living organization)

Core value มีอยู่มาก ๑๗ ตัว จัดเป็น ๕ หมวด เป็นสิ่งที่ยึดถือในการปฏิบัติ

มีกิจกรรมปีละครั้งที่เชิญผู้นำชุมชนมาสะท้อนความต้องการ

รพ.มอ. รพ.สงขลา และ รพ.หาดใหญ่ ตั้งศูนย์ความร่วมมือพัฒนาคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพไปด้วยกัน

Fact จัดให้สมดุลโดยเอา Balanced Score Card มาใช้ การพัฒนาใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (CPG) ทำ gap analysis เอาศาสตร์ด้านระบาดวิทยาคลินิกมาใช้ในการตัดสินใจทางการรักษา

Empower ทั้งบุคลากรของเราเองและผู้รับบริการ รวมทั้ง caregiver ยกตัวอย่างผู้ป่วย Neurosurg. มีการทำโครงการบ้านหลังที่ ๒ มี area ที่ simulate เป็นพื้นที่ที่บ้านให้ caregiver ดูแลผู้ป่วยจนมั่นใจว่าจะดูแลที่บ้านได้ empower บุคลากรโดย decentralization

มาตรฐาน รพ.และบริการสุขภาพที่ใช้อยู่เป็นของ พ.ศ.๒๕๔๙ ตอนที่ ๑ มี PMQA อยู่แล้ว กำลังพยายามทำ TQA ด้านการเรียนการสอน ทำเรื่องเดียวให้ได้หลายตัว ใช้มาตรฐานโดยอิงบริบท เช่น ผู้ป่วยสำคัญของเราคือใคร stakeholders เป็นใคร เขามีความต้องการ ความคาดหวังอะไร

ทุกๆ ๖ เดือน มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและถามความคาดหวัง บริบทในเชิงของคน – คนของเราเป็นใครบ้าง ต้องรับภาระงานอะไรบ้าง ฯลฯ ปัจจัยนำเข้ามีอะไร อะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยง

ค่านิยมเป็นเหมือนศีล ทำอย่างไรให้เอามาใช้กับมาตรฐาน ตัวอย่างเช่นการบริหารจัดการโดย fact ต้องเอา fact มาจับว่าผู้รับบริการต้องการอะไร งานที่ทำอยู่ทำได้ดีหรือเปล่า มีตัวอะไรที่บอกว่าเราดี คนของเรามีจุดอ่อนอะไร การทำมาตรฐานด้าน health promotion สอดแทรกไปกับมาตรฐานเดิม

ผู้นำต้องรู้ถึงแก่นของการพัฒนาคุณภาพ ส่งไปอบรม Thailand Quality Award

3C-PDSA originalคือ PDCA แต่เปลี่ยน C เป็น S=Study, 3C: Context, Criteria, Core value เป็นส่วนผลักดัน/ input สำคัญ

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 232377เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2008 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท