การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท (๑)


วันที่ ๑๕ ธ.ค. ๕๑ มีมหกรรมการศึกษาทางเลือก ชื่อว่า ระพีเสวนา หัวข้อ การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท    จัดโดยเครือข่ายโรงเรียนไทยไท   (หรือเครือข่ายการศึกษาขั้นพื้นฐานแนวใหม่) กลุ่มประสานงาน ได้แก่ สถาบันอาศรมศิลป์ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ  มูลนิธิระพี-กัลยา สาคริก  และศูนย์จิตตปัญญาศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล

หลังการสีไวโอลินโดย ศ. ระพี สาคริก ประกอบการร้องเพลงประสานเสียง และกล่าวเปิดโดย ศ. ระพี แล้ว   มีการกล่าวปาฐกถาพิเศษ โดย ศ. สุมน อมรวิวัฒน์ ที่งดงามทั้งสาระและวาทศิลป์ ชี้ให้เห็นสภาพการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นการครอบงำ ขาดความเป็นไท, นำเสนอผลการเรียนรู้และสร้างสรรค์ของเครือข่ายของโรงเรียนไทยไท และทางออกของการศึกษาไทย โดยคุณมิรา ชัยมหาวงศ์   แล้ว ศ. นพ. ประเวศ วะสี กับผม ให้ข้อคิดเห็น  

 

ผมเตรียมไปให้ความเห็นว่า

·        หัวใจของระบบการศึกษาไทย คือการเรียนรู้   ระบบการศึกษาไทยยังมีจุดอ่อนตรงที่ไม่เป็นระบบที่เรียนรู้    สถาบันการศึกษาโดยทั่วไปมีจุดอ่อนตรงที่ไม่เป็นองค์กรเรียนรู้ (LO – Learning Organization)   และครูอาจารย์ก็ยังอ่อนในด้านการเป็นบุคคลเรียนรู้ (Learning Person)    ดังนั้น หัวใจของการพัฒนาสถาบันและระบบการศึกษาไทยคือ การมีจิตวิญญาณ เห็นคุณค่า และมีทักษะของการเรียนรู้ 

·        เครือข่ายของโรงเรียนไทยไท มีสภาพปัจจุบันเป็นเครือข่ายของการแสวงหาทางเลือกใหม่ของการจัดการเรียนรู้   สภาพเช่นนี้เป็นธรรมชาติอยู่เองที่จะต้องดิ้นรน และมีการเรียนรู้เข้มข้น   สภาพเช่นนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จ มีประสิทธิผลสูงกว่า    คำถามคือ ทำอย่างไรจะดำรงการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง ต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด ของแต่ละสมาชิกของเครือข่าย   และของเครือข่ายในภาพรวม ไว้ได้    ทำอย่างไรกระบวนการเรียนรู้นี้ จะเป็นกระบวนการที่เปี่ยมสุข ไม่ใช่ก่อทุกข์หรือสร้างความเครียด   ทำอย่างไร จึงจะก่อเกิดวัฒนธรรมเรียนรู้แนวใหม่ขึ้น   กลายเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ของวงการศึกษาไทย 

·        การเรียนรู้เพื่อความเป็นไท ต้องไม่ถูกครอบงำโดยการสอน   ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องการครูที่สอนเก่ง   หรือการสอนเป็นเรื่องไม่สำคัญ   แต่ต้องสอนแบบเน้นกระตุ้นความใฝ่รู้ กระตุ้นจินตนาการ   กระตุ้นให้ไม่เชื่อง่าย   ไม่ใช่สอนแบบเน้นสาระความรู้   แต่เน้นกระตุ้นการเรียนรู้  

·        ใช้พลังของเครือข่าย กระตุ้นการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง    เป็นการเรียนรู้บนฐานของการปฏิบัติ ๗๐%   และใช้ความรู้ทฤษฎี ๓๐%   โดยมีวิธีใช้ความรู้ทฤษฎีแบบที่ไม่เข้ามาครอบงำความรู้ปฏิบัติ   ไม่ครอบงำผู้ปฏิบัติ 

 

แต่เอาเข้าจริง ผมใช้วิธีด้นกลอนสด   นำเสนอการตีความของผม หลังฟัง ศ. ระพี, ศ. สุมน, คุณมิรา, และ ศ. นพ. ประเวศ   เพื่อทำความชัดเจนในวิธีคิด และแนวทางปฏิบัติ   ดังจะเล่าในบันทึกถัดไป

ครูบาสุทธินันท์ได้บันทึกความประทับใจของท่านเกี่ยวกับการประชุมนี้ไว้ที่นี่

 

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ธ.ค. ๕๑

 

          <p class="MsoNormal" style="margin: 0in 0in 0pt;">  <table border="0"><tbody>

1. สถานที่ประชุม หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ 2. ศ.ระพี สาคริก เปิดงานด้วยการสีไวโอลินประกอบเพลงประสานเสียง 3. วงนักร้องประสานเสีย 4. ศ.สุมน อมรวิวัฒน์ กล่าวปาฐกถาพิเศษวิกฤตการศึกษาและทางออก 5. ส่วนหนึ่งของวิกฤตการศึกษา 6. คุณ มิรา ชัยมหาวงศ์ นำเสนอคำถาม 7 ข้อและหน่ออ่อนของการเรียนรู้แบบใหม่ 7. พิธีแถลงการณ์ของเครือข่ายโรงเรียนไทยไท 8 ตัวแทนสมาชิกเครือข่ายเสวนาร่วมกับพระไพศาล วิสาโล และ ศ.ดร. เอกวิทย์ ณ ถลาง

</tbody></table></span></p>

หมายเลขบันทึก: 231959เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2008 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตัวเลข ตัวอักษร

ไม่ใช่ทั้งชีวิต

เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้ ขอขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท