การลงทะเบียนผู้ป่วยสำหรับการทดสอบหน่วยเคมีฯ


หวังก็แต่ว่าจะไม่ต้องมา”วัวหายแล้วล้อมคอก” เอาในวันใดที่มีความผิดพลาดร้ายแรงอันเนื่องมาจากการรายงานผลผิดคนที่เราตรวจไม่พบ

จากการนั่ง verify ผลตามที่เล่าไปเมื่อวันก่อน มีอีกประเด็นที่อยากพูดถึง ก็คือการที่พวกเราสามารถลงทะเบียน ออกผล Lab กันได้ถูกต้อง ไม่มีการร้องเรียนว่าออกผลผิดคนในขณะที่มีปริมาณงานมากถึง 600-800 รายต่อวันนั้นเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าน่าอัศจรรย์ ต้องถือว่าเราสามารถมากที่พยายามปรับระบบการตรวจสอบจนกระทั่งทำให้ความผิดพลาดเกิดได้น้อยที่สุด

แต่ความเป็นจริงก็คือ เรายังพบการ verify ผลผิดคนอยู่บ้าง แต่สามารถแก้ไขทันภายในวันนั้นๆจากระบบการตรวจสอบซ้ำหลังออกผลแล้วในแต่ละวัน (ต้องภาวนาว่าส่วนที่เราไม่ได้ตรวจพบจากการตรวจสอบซ้ำนั้นถูกต้องทุกคน) ถ้ามาวิเคราะห์ระบบแล้วจะเห็นว่า ความผิดอันร้ายแรงนี้แก้ไขได้ยากหากเรายังใช้คนลงทะเบียน แทนที่จะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ส่งผ่านข้อมูลต่างๆ

จะขอนำตัวอย่างใบส่งตรวจที่เราได้จากการ print out เมื่อใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดจากสิ่งส่งตรวจแล้วมาให้ดู เราจะได้ print out หลากหลายลักษณะ แบบที่ HN และชื่อไม่ชัดเจนนักก็มีบ้าง (ตั้งใจตัดชื่อออกค่ะ ให้ดูว่า HN เพี้ยนๆแบบนี้คนลงทะเบียนยังอ่านถูกด้วย เมื่อเช็คกับชื่อผู้ป่วย)

แต่ถ้าจะให้พิมพ์ให้ชัดเจนใหม่ ระบบก็ยังไม่เอื้อในภาคปฎิบัติ เพราะ print out จะออกมาช้ากว่าการ process sample เมื่อจะพิมพ์ซ้ำจะเสียเวลาเพิ่มมากและทำได้ยากในเวลาที่ sample มาอย่างต่อเนื่องจนเครื่องพิมพ์รายใหม่ก็ยังไม่ทัน คนลงทะเบียนจึงต้องใช้ความสามารถส่วนบุคคลในการเดาข้อมูลที่ถูกพิมพ์ออกมา คนลงทะเบียนจะต้องลงรายละเอียดทุกอย่างในคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ดังนี้คือ

เวลา, HN,ward (มีให้เลือกมากกว่า 20 ตัวเลือก), ชนิดของ sample (มีให้เลือกมากกว่า 20 ตัวเลือกอีกเช่นกัน), รายการทดสอบ (มีให้เลือกมากกว่า 20 ตัวเลือกอีกเช่นกัน) และหากมีมากกว่า 10 รายการก็จะมี print out 2 ใบ  วิธีการ key ก็คือเคาะแป้น Enter เพื่อเลือกตัวเลือก คนลงต้องเลือกใส่ให้ครบถ้วน มิฉะนั้นผลที่ออกจากเครื่องก็จะมีไม่ครบ ลองคิดดูแล้วกันค่ะว่าแต่ละรายต้องเคาะแป้นกันกี่หน แล้วก็คูณด้วย 600 -800 รายในแต่ละวัน คนลงทะเบียนต้องใช้เวลาและสติสัมปชัญญะขนาดไหน เพื่อไม่ให้ผิดพลาด

คน Verify ผลจะเป็นคนตรวจเช็คอีกรอบว่ามีผลของทุก test ครบถ้วนไม่ขาดไม่เกิน ซึ่งก็จะมีการผิดพลาดบ้างประมาณสัปดาห์ละ 3-4 รายถ้าดูจากบันทึกการตรวจสอบซ้ำ แต่ในกรณีที่หลงหูหลงตาคนตรวจซ้ำไปก็คงไม่สามารถบอกได้

พวกเรามีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าขั้นตอนการลงทะเบียนนั้น ควรจะเป็นจุดที่ทำโดยอัตโนมัติผ่านคอมพิวเตอร์จะดีที่สุด แต่สิ่งนี้ก็ยังคงต้องรอการเปลี่ยนแปลงระบบจากผู้เกี่ยวข้องฝ่าย IT ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีความคืบหน้าใดๆ ได้ทราบว่าเป็นเพราะฐานข้อมูลใหญ่มาก ถ้าปรับเปลี่ยนแล้วเกิดความผิดพลาดจะเป็นเรื่องใหญ่ ตัวเองก็ได้แต่สงสัยว่าขนาดตอนนี้ยังบอกว่าใหญ่มากแล้ว ถ้ายิ่งรอต่อไปเรื่อยๆก็คงยิ่งแตะต้องไม่ได้ยิ่งเข้าไปใหญ่

ก็เพียงขอบันทึกบอกเล่ารายละเอียดไว้อีกสักที ดีกว่าก้มหน้าก้มตาทำไปโดยไม่รายงานว่าพวกเราพยายามอย่างดีที่สุดแล้ว หวังก็แต่ว่าจะไม่ต้องมา”วัวหายแล้วล้อมคอก” เอาในวันใดที่มีความผิดพลาดร้ายแรงอันเนื่องมาจากการรายงานผลผิดคนที่เราตรวจไม่พบ หลงหูหลงตาสัปปะรดอย่างพวกเราไปได้

หมายเลขบันทึก: 23179เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 00:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
  • ขนาดสายตา สัปปะรด   แบบพี่โอ๋  ยังพลาด   แล้วคนอื่นจะเหลือรึ... อันนี้พูดให้น่ากลัวเอาไว้ก่อน  
  • ที่ห้อง sero เนื่องจากงานไม่ต้องรีบเร่งเหมือนห้องเคมี   จะมีผู้ตรวจสอบการลงทะเบียนว่าตรงตามใบส่งตรวจหรือไม่  ในตอนเย็นหรือเช้าถัดไป  แต่.. ทั้งๆ  ที่ตรวจแล้วก็มียังรอดหูรอดตาส่วนใหญ่จะเป็น   test ไม่ครบ  ถ้าโชคดี serum ยังอยู่ (เก็บ serum ไว้ประมาณ 1-2 เดือน)  ก็จะนำมาทำให้ใหม่
  • คิดว่า..ที่ที่มีความเสี่ยงมากในเรื่องนี้  น่าจะเป็น  ER-Lab เวรดึก  เนื่องจาก  งานมากในเวลาจำกัด   (ต้องสอบถามผู้ที่อยู่เวรบ่อยๆ  แบบคุณปรือ  ดู)

ขอเสริมอีกคนค่ะ โดยเฉพาะช่วงเช้า นั่งจนเก้าอี้ร้อนไปหมด และจุดลงทะเบียนไม่ใช่ว่าจะเฉพาะลงทะเบียนน๊ะค๊ะ แต่ยังต้องรับโทรศัพท์ตามผล Lab. ตามคน ตามหาเลขหมาย และรับเพิ่ม Lab. เป็นต้น หันกลับมาอีกที ก็แทบลมจับ

อ้อ! ถ้าหมอ request เวลา ก็ต้องลงที่ Time request ด้วยค่ะ

ในฐานะ CKO ขอน้อมรับกับความด้วยประสิทธิภาพของตนเองในการที่ไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้สักที  เคยคุยกับทีมสารสนเทศ โดยมีรองคณบดีฝ่ายนี้ร่วมอยู่ด้วย เขาบอกว่าต้องร้องเพลงรออย่างเดียว  แต่เห็นที่คราวนี้ คงต้องหาวิธีการใหม่ จะขออนุญาติ นำข้อมูลหลายบันทึกบน blog ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เสนอต่อผู้บริหารสูงสุดโดยตรงเสียแล้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท