เก็บตกจากการประชุมประจำปีของเครือข่ายคณะทันตแพทยศาสตร์สร้างเสริมสุขภาพ


เมื่อวันที่ 6-7 เมษายนที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมประจำปีของเครือข่าย   คณะทันตแพทยศาสตร์สร้างเสริมสุขภาพซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เรื่องการนำแนวคิดสุขภาพองค์รวมไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยทันตกรรม

ก่อนที่จะมาประชุมครั้งนี้ ต้องบอกว่าตัวผมเองเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับสุขภาพองค์รวมอยู่บ้าง ในความเข้าใจของผม คิดว่าสุขภาพองค์รวมก็คงหมายถึงการดูแลผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ (ก็องค์รวมแล้วมั้ง)

จากการเข้าร่วมประชุม ผมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพองค์รวมเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากวิทยากรหลายๆท่าน วิทยากรท่านแรกคือ นพ.ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ได้กล่าวถึงกระบวนทัศน์ (paradigm) ว่าเป็นฐานของความรู้และความเข้าใจความจริง (ผมเพิ่งรู้จักและเข้าใจ paradigm ก็วันนี้เองครับ) ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายถึงที่มาของระบบวิธีคิดของระบบสุขภาพและการแพทย์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (Disease theory system and Health delivery system) ซึ่งเป็นที่มาของระบบการแพทย์แบบแยกส่วน (Bio-medical system) ที่

·        เน้นส่วนย่อย ไม่มององค์รวม

·        สุขภาพคืออวัยวะที่ทำงานปกติ

·        เน้นเหตุผลและการตรวจที่วัดได้

·        สนใจกายไม่ใส่ใจกับความรู้สึก

·        ขาดมิติทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ

อาจารย์ได้ชี้ให้เห็นความคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่เน้นความจริง (Fact) ที่ตรวจสอบได้ วัดได้ ทำซ้ำได้ เมื่อมาใช้กับมนุษย์ซึ่งไม่เพียงมีแค่ความจริงเท่านั้น แต่ยังมีความดี ความงาม รวมทั้งความรู้สึกและจิตวิญญาณซึ่งไม่อยู่ในแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ จึงทำให้เกิดระบบการแพทย์แบบแยกส่วนขึ้น

จากที่อาจารย์ได้อธิบาย ทำให้ผมรู้เลยครับว่า ที่ผ่านมาผมคนหนึ่งล่ะที่มองคนไข้ด้วยความคิดแบบวิทยาศาสตร์และแบบแยกส่วนตามที่อาจารย์พูดเป๊ะเลย   การได้ฟังอาจารย์บรรยาย ต้องบอกว่าเป็น paradigm shift ของผมเลยครับ (คงไม่ over ไปนะครับ) จากนี้คงจะพยายามศึกษา ทำความเข้าใจในเรื่องสุขภาพองค์รวมให้มากยิ่งขึ้นไปอีก

จริงๆอาจารย์บรรยายเรื่องอื่นๆที่ดีๆอีกมากนะครับ ผมเก็บตกมาเฉพาะเรื่องที่กระแทกใจผมอย่างจังมาลง blog ครับ ขอบคุณอาจารย์โกมาตรเป็นอย่างสูงครับ
นอกจากอาจารย์โกมาตร ก็ยังมีวิทยากรท่านอื่นๆ อีกหลายท่านที่ได้ให้เกียรติมาบรรยาย
ศ.ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพูดถึงเรื่องนี้มาถ่ายทอดให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ฟัง

ผศ.ดร.วิไลรัตน์ วรภมร อาจารย์มา share ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ competency และการสอดแทรกแนวคิดสุขภาพองค์รวมเข้าไปในการจัดการศึกษาให้กับนิสิตทันตแพทย์ ผมเอาใจช่วยอาจารย์และทีมงานให้ทำได้สำเร็จตามจุดมุ่งหมายครับ

ศ.พญ.รัตนวดี  ณ นคร  ผศ.ดร.ทรงวุฒิ  ตวงรัตนพันธุ์  ข้อคิดเห็นที่อาจารย์ได้ให้ไว้ เป็นประโยชน์มากๆเลยครับ

ท้ายสุดต้องขอขอบคุณวิทยากรและผู้จัดงานทุกท่านเป็นอย่างสูง (นำโดย ผศ.ดร.จรินทร์ ปภังกรกิจ ผู้จัดการเครือข่ายทพ.สส.) ที่ได้จัดการประชุมนี้ขึ้น ขอบคุณครับ

โดยส่วนตัวผมหวังว่าจะนำความรู้ที่ได้รับนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด อย่างน้อยๆก็กับคนไข้ของผม แล้วก็จะพยายามเรียนรู้ให้มากยิ่งขึ้นครับ  เพื่อที่จะถ่ายทอดให้กับนิสิตทันตแพทย์มน.ต่อไป ผมเพิ่งจะเขียนเป็น blog แรก ถ้ามีอะไรผิดพลาด โปรดชี้แนะด้วยครับ สวัสดีครับ
หมายเลขบันทึก: 23178เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2006 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณอาจารย์พิชิตมากนะคะที่นำเรื่องราวดีๆแบบนี้มาเล่า และเตือนสติพวกเรา เราสองคนก็เหมือนอาจารย์แหละค่ะ/ครับ ที่มองคนไข้แบบแยกส่วนสนใจแต่ในสิ่งที่เราต้องการ โดยลืมมองอย่างอื่นไป ขอบคุณมากๆสำหรับการประชุมดีๆแบบนี้ ค่ะ/ครับ พวกเราจะนำไปปรับใช้ และจะพยายามถ่ายทอดต่อให้กับนิสิตของเรา

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์พิชิต...
  • บทความของอาจารย์ให้ข้อคิดดีมากครับ
  • อ่านแล้วพลอยได้ technique "การใช้ตัวอักษรต่างขนาด ต่างแบบ" มาเน้นข้อความไปด้วย
  • การเขียน Blog นี่ถ้าตัวอักษร "เหมือนกันไปหมด" ดูจะอ่านยาก เมื่อได้ชมเทคนิคของอาจารย์แล้ว... ทำให้เกิด paradigm shift ขึ้นมาทันที...
  • ขอขอบคุณ และขอเชียร์ครับ

เห็นด้วยครับ

ที่สำคัญเราควรเห็นคุณค่าความเป็นคน มากขึ้น

จะทำให้ทั้งเราและคนไข้ ต่างมีความสุข

เรียนอ.พิชิตคะ จริงๆแล้วมีเรื่องเสนอนิดหนึ่งคะจากสายตาอ.ชุมชน (ที่ไม่ค่อยเก่งนะคะ) คือว่าในความหมายของคำว่าสุขภาพจริงๆแล้วก็เป็นองค์รวมอยู่แล้วคะ เพราะคำว่าสุขภาพ มาจาก สุข+ภาวะ คือ ภาวะที่มีความสุข ความสุขคือการไม่มีทุกข์ ไม่มีการบีบคั้นทั้งทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ คะ และทุกๆอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งหมดคะโดยการจะมีความสุขได้ทุกอย่างที่สัมพันธ์กันนั้นต้องอยู่ในภาวะสมดุลกัน (คุ้นๆไหมคะ คำว่าสมดุลนะคะก็ที่ท่านอ.ทรงวุฒิพูดถึงไงคะ) ยกตย.ให้เข้าใจได้ง่ายๆนะคะคนสองคนคนแรกป่วยเป็นโรคเอดส์แต่กำลังใจเค้าดีมากเค้ามีครอบครัวและคนรอบข้างที่พร้อมจะอยู่เคียงข้างเค้าเค้าสามารถใช้ชีวิตประหนึ่งคนที่มีร่างกายที่แข็งแรงมีความพร้อมที่จะทำความดี กับอีกคนหนึ่งร่างกายก็ดีๆอยู่แต่เกิดภาวะอกหักช้ำใจกินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่สามารถลุกขึ้นมาใช้ชีวิตดั่งปกติได้ อ.คิดว่าสองคนนี้ใครมีสุขภาพที่ดี(จริงๆแล้วโดยความหมายสุขภาพก็มีความหมายในด้านบวกอยู่แล้วคะ น่าจะใช่คำว่ามีสุขภาพหรือเปล่า มากกว่าคะ) ตอบคำถามนะคะ ในความคิดหนูนะคะการที่เราจะบอกว่าคนนั้นๆมีสุขภาพหรือเปล่าต้องดูที่ความสมดุลของคนนั้นๆคะถ้าคนแรกเค้าสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้แม้ร่างกายเค้าจะอ่อนแอเพียงใดแต่ถ้าตัวเค้าคิดว่าเค้าอยู่ได้โดยไม่เป็นทุกข์ (นั่นคือสมดุลของเค้าแล้วแหละคะ สมดุลที่ด้านร่างกายอาจน้อยแต่จิตใจ สังคม จิตวิญญาณเค้าดี แต่อย่ามองทุกอย่างแยกส่วนกันนะคะต้องพยายามนึกเสมอคะว่าทุกอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ เป็นเหตุเป็นผลที่ส่งผลต่อกันไม่มากก็น้อยคะ) อธิบายงงๆหน่อยนะคะ แต่ที่พูดเสียมากมายเพราะหนูมีความรู้สึกว่าพวกเราทั้งที่ทำงานเกี่ยวกับสุขภาพโดยตรงเข้าใจคำว่าสุขภาพมากน้อยเพียงใด สุขภาพโดยตัวของมันแล้วก็คือองค์รวมอยู่แล้วนะคะหนูว่า แบบว่าอยากให้ทุกคนเข้าใจพื้นฐานที่เป็นพื้นจริงๆก่อนที่เราจะก้าวกระโดดไปทำในขั้นต่อไปนะคะแต่ถ้าอ.เข้าใจอยู่แล้วก็ถือว่าหนูมาแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นในฐานะผู้น้อยที่พร้อมจะเดินตามผู้ใหญ่ที่จะเป็นผู้นำทางผู้น้อยอย่างพวกหนูไปสู่สิ่งที่ดีๆและเพื่ออนาคตที่ดีของมน.ของพวกเราทุกคนนะคะ อย่างไงก็เอาใจช่วยอ.คะและคิดว่าอ.มีศํกยภาพที่ล้นเหลือและมากพอที่จะขับเคลื่อนสิ่งต่างๆให้ดำเนินต่อไปได้เพื่อน้องๆนิสิตของมน.คะ เชื่อมั่นอย่างนั้นจริงๆ สู้สู้ สู้ตายค่า

   เข้ามาอ่านแล้วค่ะ ถ้ามีอะไรน่าสนใจก็มาลงอีกนะคะ       แล้วจะติดตามอ่านเรื่องดี ๆ ของอาจารย์อีกค่ะ 
                       Hula




   เข้ามาอ่านแล้วค่ะ ถ้ามีอะไรน่าสนใจก็มาลงอีกนะคะ แล้วจะติดตามอ่านเรื่องดี ๆ ของอาจารย์อีกค่ะ 
                       Hula




พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท