เคยแต่เป็นฝ่ายบริหาร ค้านไม่เป็น...(เล่าเรื่องชาวบ้าน)


งานสัมมนาวิชาการ วปอ.เมื่อวานนี้(๒๓ ธ.ค.๒๕๕๑)

เมื่อวานนี้ผมได้เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการ เรื่อง"เผชิญวิกฤตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : รวมพลังทำความดีเทิดพระเกียรติ" จัดโดย คลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม (พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ ประธาน) ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องบรรยายรวม วปอ.ชั้น ๒ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร...

เริ่มด้วยการเปิดงาน และการแสดงปาฐกถาพิเศษ โดย ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา "การเผชิญภาวะวิกฤตสู่ความยั่งยืน : ตามแนวพระราชดำริ พระราชดำรัสที่เกี่ยวข้อง และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ท่านกล่าวอย่างเป็นกันเองมาก เพราะท่านบอกว่าไม่อยากเสียเวลาอีกแล้ว ใครฟังได้ก็ฟัง ใครฟังไม่ได้ก็ต้องฟังเหมือนกัน..ท่านได้เล่าต่อเรื่องวิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่กำเนิดโลกใบนี้ จนถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน แฮมเบอร์เกอร์ไคร์สิต ท่านจึงบอกว่า แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้ประเทศไทยไม่บอบช้ำมากนักจากวิกฤตครั้งนี้...

ต่อด้วยการอภิปรายเป็นคณะ เรื่อง "ยุทธศาสตร์และการปฏิบัติปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตอบสนองพระราชดำริ" มีผู้เข้าร่วมอภิปราย ๕ ท่าน จากภาควิชาการ ๑ ท่าน จากภาครัฐ ๑ ท่าน จากภาคธุรกิจ ๑ ท่าน ตัวแทน วปอ. ๑ ท่าน และชาวบ้านอีก ๑ ท่าน...

การอภิปรายมีเนื้อหาที่เข้มข้น เพราะวิกฤติการเงินของโลก เป็นปัญหาสำคัญ นักวิชาการได้นำเสนอว่า ค่านิยมหลักของไทยต้องได้รับการแก้ไขโดยรัฐ ผ่านนโยบาย  นักธุรกิจก็ปรับตัว เพราะวิกฤตดังกล่าวเล่นงานภาคธุรกิจเป็นหลัก เพราะว่า วิกฤติการเงิน วิกฤติน้ำมัน วิกฤติแรงงาน และวิกฤติการปรับตัวต่อสังคม เพราะธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม ,ทรัพยากร,และสังคม อย่างมาก ต้องคืนทุนให้กับสิ่งแวดล้อม และสังคมด้วย ....

ส่วน ตัวแทนจาก วปอ.ได้ให้ความคิดเห็นหลากหลายประเด็นที่เป็นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสามารถใช้ได้ทุกภาคส่วน ไม่จำกัดที่เกษตรกร แต่ทุกฝ่ายในสังคมดำเนินตามพระราชดำรัสของพระองค์ท่านได้ทุกฝ่าย  ส่วนตัวแทนภาครัฐ (จากกรมพัฒนาชุมชน) ให้ความคิดเห็นเรื่องการจัดการกับสังคมส่วนใหญ่ของประเทศ ตั้งแต่ระดับจังหวัด ถึงอำเภอ ถึงตำบล โดยยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง...

ส่วนภาคประชาชน เป็นรองนายกเทศมนตรีตำบลหนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี คุณศิวโรจน์ จิตนิยม  เล่าเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาจจะกล่าวได้ว่าไม่สวยงามอย่างท่านอื่น ๆ แต่เน้นที่คุณค๋า ของคนเป็นหลัก เช่น เรื่อง ธนาคารความดี (ใครทำดี ไม่ต้องท้อ ให้ทำแล้วมาจดไว้ในธนาคารความดี) ทางกลุ่ม ทางอบต.จะหาทางช่วยเหลือให้ เช่นทำความดีแล้วไม่มีข้าวกิน ให้มาบอกกลุ่ม กลุ่มจะหาข้าวให้กิน เพราะคิดว่า ความดีต้องส่งเสริมให้ทำกันมาก จากผลของการทำข้อมูลของชุมชน(ประชาพิจัย) แล้วจัดทำแผนแม่บทชุมชนขึ้นมา เพื่อจัดการชุมชนตัวเอง (ทางด้านทุนและสวัสดิการชุมชน ด้านพลังงานชุมชน และด้านสุขภาพชุมชน) จัดการอย่างไร?

จัดการโดยฐานข้อมุลของชุมชน ว่าชุมชนหนองสาหร่าย มีประชากร ๓,๖๐๐ คน มีรายได้ ๑๗๐ ล้านบาท  มีรายจ่าย ๑๐๖ ล้านบาท เป็นความภูมิใจว่ามีเงินเหลือในชุมชน แต่พอมาดูหนี้สินอีก ๑๐๗ ล้านบาท ก็ให้นึกว่าถ้าทุกปี เราต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ภายนอก ปีละ ๑๕ ล้านบาท คงไม่ดีแน่นอน เพราะเราจะสูญเสียเงินของเราไปสู่ภายนอก เราต้องนำเงินนี้มาจัดการภายในชุมชน ให้ได้  ๑๐ ปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินชุมชนตำบลหนองสาหร่าย สามารถจัดการหนี้สินเหล่านี้ได้แล้ว และยังสร้างทำนบกั้นเงินของชุมชนไม่ให้ออกสู่ภายนอกชุมชน ได้อีกหลายด้าน ถึงวันนี้หนองสาหร่าย ส่วนใหญ่จะไม่เป็นหนี้ภายนอก แต่เป็นหนี้ของตัวเอง การคิดแบบนี้ได้ ชาวบ้านต้องกล้าหาญมากครับ เพราะไม่อย่างนั้นก็จะตกเป็นเครื่องมือของนายทุนในชุมชนได้อีก ต้องมีการจัดการผู้นำเป็นอย่างดี  กลุ่มองค์กรต้องเข้าใจ และเป็นตัวของตัวเอง (ศักดิ์ศรีชาวบ้านต้องมี)

ถึงวันนี้ วิกฤตเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างไร? ตำบลหนองสาหร่าย ไม่กระทบมากนัก  แรงงานยังคงเดิม ทุกคนอยากอยู่หนองสาหร่าย เพราะสถาบันการเงินให้สวัสดิการชาวบ้าน(ไม่มีเงินเดือน)มากกว่าที่อื่น แผนพลังงานชุมชนที่น่าสนใจ คือเก็บข้อมูลว่า ชาวนาเราต้องใช้น้ำมันหมุนช้าเท่าไหร่ ในหนึ่งเดือน ชาวนาทุกคนต้องเก็บข้อมูลมาที่ อบต. เพราะอบต.มีเครื่องหีบน้ำมัน จากสบู่ดำ ให้ชาวนาทุกคนต้องปลูกต้นสบู่ดำจำนวน เท่านี้ต้น เพื่อให้ได้จำนวนที่ตัวเองใช้ในท้องนา ท้องไร่ เมื่อต้นสบุ่ดำได้ผลผลิตให้นำเอาเมล็ดสบู่ดำที่ตากแห้งแล้ว มาแลกกับน้ำมันไปใส่เครื่องยนต์หมุนช้าในไร่นา โดยไม่พึ่งปั้มน้ำมันก็ได้ ....นับเป็นองค์กรท้องถิ่นทีประสบความสำเร็จองค์กรหนึ่ง จากการทำแผนแม่บทชุมชน และแผนชุมชนที่ตนเองต้องการจะพัฒนาไปในทิศทางใดที่ยั่งยืน....

วันนี้ชาวบ้านไม่ต้องการเรียกร้องอะไร? เพราะบริหารงานของชุมชน จนเคยตัว จะไปค้านใครก็ค้านไม่เป็น เนื่องจากนักธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์ ชาวเมือง เรียกหา งบประมาณจากรัฐบาล การงดจ้างแรงงานจากรัฐบาล หรือการสนับสนุนให้คนไทยเที่ยวไทย หรือกินใช้ของไทย เพื่อเพิ่มกำลังซื้อในส่วนของผู้บริโภคให้มาก ๆ ธุรกิจและอุตสาหกรรมจะได้ดำรงตัวต่อไปได้

แต่ชาวบ้าน ได้รับความรู้ว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" คือการปลูกพืชผักไว้กินเอง, การเก็บหอมออมเงิน , ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี เป็นต้น พอได้ความคิดเรื่อง คุณค่าของเดิมของชาวบ้านเราต้องคงอยู่ต่อไป ชาวบ้านก็ทำตาม ไม่เคยจะปฏิเสธ แล้ววันนี้ชาวบ้านก็อยู่รอด อย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน  ด้วยความรู้และคุณธรรมที่มีอยู่ของเขา.........

หมายเลขบันทึก: 231661เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายและอ่านเรื่องราวดีดี
  • ขอให้มีความสุขในช่วงปีใหม่นะคะ
  • ตัวหนังสือเล็กจัง (อะ..มองไม่ค่อยเห็น...แก่แล้ว)

สวัสดีปีใหม่ (ไว้ก่อน เพราะคงไม่ได้เข้ามาดูอีก)ครับ

ขอบคุณครับ ปรับตัวหนังสือให้แล้วครับ ตอนบันทึกไม่ได้ดูอีกครั้งครับ (ต้องขออภัยครับ)

1. ♥< lovefull >♥

เมื่อ พ. 24 ธ.ค. 2551 @ 15:33

1029066 [ลบ]

ขอให้ความสุขสมหวังทุกประการครับ

  • มาเรียนรู้วิธีการจัดการที่ดีตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของคนในชุมชน ต.หนองสาหร่าย ครับ!
  • เชื่ออย่างสนิทใจว่า เศรษฐกิจพอเพียง คือ แนวทางที่จะทำให้อยู่รอดได้แน่ๆ โดยเฉพาะประเทศซึ่งเป็นผู้ตามทางด้านเทคโนโลยีอย่างเราๆ
  • ขอบคุณความรู้ดีๆครับ

สวัสดีปีใหม่ครับ.....อาจารย์ธนิตย์ครับ

ขอบคุณอาจารย์สำหรับการเข้ามาเรียนรู้แลกเปลี่ยนครับ ขอบคุณสำหรับความเห้นดี ๆครับ เราเป็นผู้ตามด้านเทคโนโลยีจริง ๆ ครับ (ผลิตไว้ขาย ไม่เคยสร้างให้กับประเทศและชุมชนได้เรียนรู้เองครับ)

ขอบคุณครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท