KM สำหรับหน่วยงานราชการไทย


แนวทางการจัดการความรู้
แนวทางในการจัดรูปแบบการจัดการความรู้ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของไทยได้ดังนี้
1.  รูปแบบการจัดการ
            ในการเปลี่ยนแปลงต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง  และมีการติดตามอย่างจริงจัง  รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคลากร  สิ่งที่ต้องคำนึงในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  ได้แก่  โครงสร้างการบริหารจัดการ   การมีใจเปิดกว้างและยอมรับของผู้บริหารในทุกระดับ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง
2.  การจัดการสื่อสาร
            เป็นองค์ประกอบที่สร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรตระหนักถึงประโยชน์ของการจัดการความรู้  ซึ่งควรมีกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลาย  แต่สิ่งสำคัญสำหรับการสื่อสารนั่นก็คือ  การสื่อสารต้องมีความต่อเนื่อง  และมีการประเมินประสิทธิผลของกิจกรรมเพื่อปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
3.  กระบวนการการจัดการความรู้
            กระบวนการหรือเครื่องมืออะไรก็ได้ที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จ  เช่น ผังการไหล  ผังก้างปลา  แผนที่ความรู้  เป็นต้น  สิ่งสำคัญในการเลือกกระบวนหรือเครื่องมือต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
-          ชนิดของความรู้
-          วัฒนธรรมและพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กร
-          ลักษณะการทำงานของบุคลากร
-          สถานที่ทำงาน
-          ขนาดขององค์กร
-          ขั้นตอนของกระบวนการความรู้
            หลักการง่าย ๆ ในการเลือกใช้กระบวนการ  “ยิ่งความรู้สลับซับซ้อนหรือ ฝังลึกในคนมากเท่าไหร่  ก็ยิ่งใช้เทคโนโลยีน้อยลงเท่านั้น”
4.  การเรียนรู้
            การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในทุกระดับที่เข้าร่วมกระบวนการจัดการความรู้  ซึ่งอาจใช้ในรูปแบบการฝึกอบรมในห้องเรียน  การประชุมวิชาการ  การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น  การศึกษาด้วยตนเองผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และการเยี่ยมชมองค์กรอื่น ๆ   สิ่งสำคัญของการเรียนรู้ก็คือสามารถแปลงหลักการที่ยากให้เข้าใจง่าย  และเชื่อมโยงกับงานที่ทำอยู่  โดยจะต้องมีการประเมินผลการฝึกอบรม การเรียนรู้เพื่อนำกลับมาปรับปรุงเนื้อหาและวิธีการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. การวัดผลและประเมินผล
            จากการวัดและประเมินผลสามารถแสดงให้เห็นว่ามีการกำหนดตัวชี้วัดใน 3 ระดับคือ
            ระบบหรือกิจกรรมที่ทำ (System)
            ปัจจัยส่งออก  (Output)
            ผลลัพธ์ (Outcome)
             ซึ่งการวัดผลได้ใช้ตัวชี้วัดที่ปรับเปลี่ยนไปตามระบบการจัดการความรู้  แต่ในการวัดปัจจัยส่งออกจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้ระบบไประยะหนึ่ง  สำหรับผลลัพธ์เป็นการวัดระบบการจัดการความรู้ที่มีการบูรณาการกับกระบวนการทำงาน    ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดตัวชี้วัดดังนี้
1.      สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร
2.      เชื่อมโยงกับผลการดำเนินการของกระบวนการ  ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ  หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.      เชื่อมโยงกับกระบวนการความรู้
            ดังนั้นในการดำเนินการจัดการความรู้    ผู้ที่สนใจจะดำเนินการจัดการความรู้ให้กับหน่วยงานของตนเองควรให้ความสนใจในประเด็นเพิ่มเติมดังนี้
1.      ระบบการตรวจประเมินภายในองค์กร  ที่ครอบคลุมเรื่องการจัดการความรู้
2.      มีการขยายผลการจัดการความรู้ไปยังกระบวนการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ
3.      มีการนำประสบการณ์การจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้ในลักษณะต่าง ๆ อันทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร
4.      มีเวทีที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้
5.      มีการบรรจุเรื่องการจัดการความรู้ไว้ในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน
6.      มีระบบเงินเดือน  ค่าตอบแทน  การให้รางวัล และการยกย่องชมเชย
7.      มีการสื่อสารเกี่ยวกับความสำเร็จของการจัดการความรู้อย่างเข้มขนและต่อเนื่อง
8.      มีการนำแผนการจัดการความรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร
9.      มีการประเมินผลลัพธ์สุดท้ายจากการจัดการความรู้ที่มองเห็นเป็นรูปธรรมทั้งนี้เพื่อแสดงให้ถึงคุณประโยชน์ของการจัดการความรู้ที่มีต่อองค์กรได้
           
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23140เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2006 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท