มับไม และ ควบ


เรื่องเล่าจากโรงทอผ้า

เมื่อวานนั่งพิจารณาผ้าพื้นของแม่ใหญ่เฒ่า(แม่ของตา)ซึ่งมีอายุมากกว่า 150 ปีที่ผมได้รับมาจากลูกพี่ลูกน้องอีกที ผ้าผืนดังกล่าวเป็น ผ้าสิ่นสีม่วง ซึ่งทอด้วยไหมบ้านเส้นยืนและเส้นพุ่ง หน้าฟืมขนาด 85 เซนติเมตรมีการต่อหัวและตีนสวยงามไปทั้งผืน

ผ้าผืนดังกล่าวมีลักษณะพิเศษที่ควรจะกล่าวถึงอยู่บางประเด็น นั้นคือ ผ้าพื้นดังกล่าวนี้หากมองสีผ้าจะพบว่าผ้ามีสีเสมอกันไปทั้งผืน นี่แสดงถึงความเป็น ซ่างทอ ที่มีฝีมือในการย้อมที่เชี่ยวชาญ เพราะส่วนมากผ้าพื้นแบบพื้นบ้านจะมีรอยด่างของผ้าที่เกิดจากการย้อมไม่สม่ำเสมอทั้งผืน แต่หลายคนก็ชอบแบบนั้นเพราะเห็นว่ามันเป็นเสน่ห์

ในความสม่ำเสมอของผืนผ้ามีเคล็ดลับที่ชวนนำมาใช้ประโยชน์อยู่ในที นั้นคือเมื่อเราสัมผัสหน้าผ้าจะพบว่า ผ้าที่ว่าสีเรียบเสมอทั้งผืนนั้น มีลักษณะเป็นผื้นผิวขรุขระในแนวขวางที่เกิดจากเส้นพุ่ง พื้นผิวนั้นทำให้ผ้ามีความพิเศษและมีเสน่ห์อย่างน่าทึ่ง

เคล็ดลับที่ว่าเกิดจากการควบไหมสีเดียวกันจำนวนสองเส้นเข้าด้วยกัน แล้วนำมาเป็นเส้นพุ่ง สลับกับเส้นพุ่งเส้นเดียว ทำให้พื้นผิวมีเส้นพุ่งเดี่ยวและเส้นพุ่งควบ สลับกันไปทั้งผืน นับเป็นการสร้างลวดลายให้ผ้าได้อีกวิธีหนึ่ง

คำว่า ควบ เป็นการนำเอาเส้นไหมสีเดียวจำนวน 2 เส้นมาตีเกียวเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้เส้นใยที่ใหญ่มากขึ้นนิยมเอาไปทอเป็นเส้นพุ่ง เพื่อทอสลับในผ้าควบหรือผ้าสิ่นหมี่ตา เพื่อให้ผ้ามีพื้นผิวที่งดงามและพิเศศอยู่ในผืนผ้า

นอกจากนั้นยังมีคำว่า มับไม อยู่ด้วย ผมสัณณิฐานว่าคำว่า มับไม น่าจะเป็นศัพท์ด้านการทอผ้าของคนในภูมิภาคนี้เพราะพบว่า คนไทยอีสานในเขตขอนแก่นก็ใช้คำว่ามับไม  และช่างทอที่ผมพบมราบุรีรัมย์ซึ่งเป็นชาติพันธุ์เขมรก็ใช้คำว่า มับไม ซึ่งหมายถึงการควบเส้นไหมสองเส้นที่มีสีต่างกันเพื่อให้เกิดสีสันในเส้นใย เมื่อทอกันมากก็จะพบว่ามันเหลี่ยมวับวาว

 

หมายเลขบันทึก: 231172เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมมีผ้าม่วงผืนหนึ่งไม่รู้อายุที่แน่นอนจะมีข้อสังเกตอย่างไรครับ (ที่สำคัญจากการตกทอดคงมากกว่า 80 ปี) แม่บอกว่าเอาไว้ใช้คลุมศพคนในตระกูลทุกคนแล้วเวลาคนในตระกูลบวชนาคให้ใช้เป็นผ้านุ่งนาค(ตามวิถีจารีตของอัญญา) ว่าง ๆ จะโพสรูปลงให้ อ.ออตช่วยพิจารณนะครับ

ปล.ผมลงความเห็นชื่อเมืองชลบถไว้ให้ อ. อ่านเล่น ๆ แล้วนะครับ

อาจารย์พิมล

  • ขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่แวะมาอ่านบันทึกนี้
  • ความจริงต้องพึ่งอาจารย์ครับเรื่องคำว่า มับไม เป็นภาษาอะไรแน่? ลาว หรือ เขมร
  • ส่วนผ้าม่วงของอาจารย์ต้องได้ดูของจริงครับ อิอิ

พออ่านเจอ ผมก็เร่งถามผู้รู้ดูข้อมูลให้ ท่านผู้รู้กล่าวว่า มับไมเป็นการเข็นไหมใส่กันสองสี น่าจะมาจากภาษาไทลาว เพราะเขตภาคอีสานพบว่ามีคำว่า มับไม ในวงการทอผ้าอยู่ ส่วนคำนี้จะมาจากภาษาอื่นหรือไม่นั้นคงเป็นไปไม่ได้ แต่เป็นไปได้ว่าอาจใช้คำอื่นที่มีความหมายเดียวกันกับคำว่ามับไม (คำไวพจน์) ไม่รู้ข้อมูลนี้จะถูกจะรึเปล่านะครับ วันหลังจะค้นมาเพิ่มเติมครับ

ขอบพระคุณครับอาจารย์พิมล สุดยอดจริง ๆ รวดเร็วด้วยเครือข่าย

สวัสดีครับ

แวะมาอ่านครับ

น่าสนใจ ค้นหาคำศัพท์โบราณ

อาจารยธวัชชัย

  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาประจำ
  • คำศัพท์แบบนี้ ใช้กันหลายชาติพันธุ์
  • หาความเป็ฯเจ้าของยากจริง ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท