งานวิจัย..ส่งเสริมนักเรียนเก่งไม่ทอดทิ้งนักเรียนช้า


สืบเนื่องจากการที่ได้อ่านบันทึกของท่านอาจารย์ ดร.สุพักตร์ Pการพัฒนาคุณภาพการศึกษา/สถานศึกษา » Academy : โรงเรียนในประเทศอังกฤษ (จากบทความ เลขา สพฐ.) พบว่า.....เราชาวครู  จะต้องคิดกิจกรรมที่ส่งเสริม นักเรียนที่เรียนดี และ ไม่ทอดทิ้งนักเรียนที่เรียนช้าด้วย 

จากปัญหาบางประการที่โรงเรียน ไม่สามารถจัดนักเรียนแยกกลุ่มเรียนได้ ยังคงต้องจัดชั้นเรียนที่คละกัน  หมายถึง  ทั้งนักเรียนที่เรียนดี ปานกลาง และช้า จะต้องเรียนไปด้วยกันในชั้นเรียน   เรื่องนั้นไม่พูดถึง 

แต่วันนี้  บันทึกนี้  จะพูดถึง  กิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนที่เรียนไปได้เร็ว  ได้พัฒนาถึงขีดสูงสุดของเขา และนักเรียนที่เรียนช้า  ก็ได้พัฒนาไปตามศักยภาพของตนที่มีอยู่...นั่นเป็นความปรารถนาของนักเรียน  ครู ผู้ปกครอง....แน่นอน

*****

กิจกรรมที่ส่งเสริมนักเรียน ที่เรียนเร็ว และเรียนช้านั้น..สำหรับครูอ้อยมีหลายกิจกรรม  และจะกล่าวถึง กิจกรรมที่เป็น..วิจัยในชั้นเรียน มาหลายปี เคยได้รับรางวัลมาแล้วด้วย  ทั้งยังเป็นสื่อที่ทำให้ครูอ้อยได้เป็น...ครูนักวิจัย ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามาแล้ว ปี พ.ศ.2546 ที่ผ่านมา...

นั่นคือ  โครงการหนังสือเล่มเล็ก.....ชมภาพก่อน..นี่คือนักเรียนที่ทำงานช้า...ไม่ใช่เรียนช้า...ต้องจัดอยู่ในระดับหนึ่ง  หากพัฒนา  จะได้ไปอยู่ในห้องปฏิบัติการทางภาษา  ที่ครูปล่อยให้อยู่อิสระได้

Ppsstd155

*****

ภาพนี้ เป็นนักเรียนที่ทำงานไปได้เร็ว หมายถึงเรียนเร็ว  เธอจะมีอิสระที่จะทำงานด้วยเวลาและศักยภาพที่ตนมี หากงานนั้นไปพัฒนา ต้องถูกเลื่อนระดับ  ไปนั่งทำงานหน้าห้อง แบบภาพข้างบน

*****

Tues11011

*****

ครูอ้อยจะแบ่งนักเรียน  ออกเป็น 2 พวกใหญ่  คือ เรียนเร็ว และเรียนช้า (ทำงานช้า)  ..นักเรียนก็ เข้าใจ และยอมรับ  ที่สำคัญคือ....เกิดการพัฒนา อย่างเห็นชัดเจน...นี่เป็นกิจกรรม หนึ่งที่ ต่อไปจะเป็นวิจัยในชั้นเรียน เรื่องของ ค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร

*****

Ppsstd156

*****

งานที่เห็นนี้  จะต้อง ปรับปรุง แก้ไข ต่อไป เพราะ นักเรียนจะยังไม่ชัดเจนในการ เขียนเท่าไรนัก  ขั้นตอนนี้ จะเห็นศักยภาพ และความสามารถทางการเรียนรู้ของนักเรียน ได้ทันที...ครูผู้สอน ต้องแก้ไขทันที แบบ...ตัวต่อตัว

*****

B1

*****

นักเรียน ชาย ที่มักจะมองวิชาภาษาอังกฤษ..ยากเสียเหลือเกิน  หาก ครูผู้สอน เอาใจใส่อย่างจริงจัง...เธอเริ่มจะชอบ เข้าใจ และเขียนได้แล้วค่ะ...

อูยยยย แต่เหนื่อย สะบักสะบอม

*****

Boy11

*****

ส่วนนักเรียนที่เรียนเร็ว ก้าวหน้า  สติปัญญาดี  ก็ได้รับการส่งเสริม อย่างเห็นชัดเจน ตามศักยภาพของนักเรียน  เกดความพึงพอใจมากๆ ที่ผลงานของตนเอง เสร็จเรียบร้อย และ มีครูเป็นที่ปรึกษาตลอดเวลา ไม่ได้ ปล่อยให้นักเรียน ได้นำกลับไปทำที่บ้าน

*****

Zx6

*****

ขณะนี้ ผลงานชิ้นนี้ กำลังดำเนินการอยู่ อีกไม่นาน แบบสอบถาม ก็ถึงมือนักเรียน...ชอบ หรือ ไม่ชอบ  ก็จะชัดเจนกัน ในวิจัยในชั้นเรียน...แบบง่ายๆค่ะ

*****

Sml1

*****

ผลงานชิ้นนี้ ผู้ปกครองชอบมากๆๆ และขอให้นักเรียน  นำไปใช้เป็น portfolio ประจำตัวนักเรียน เมื่อต้องการไปสอบเรียนต่อโรงเรียนมัธยมต่อไปด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะที่ติดตาม...

ตอนต่อไป จะเป็น แบบสอบถามนะคะ

หมายเลขบันทึก: 229617เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2008 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะ เป็นการจัดการเรียนรู้ด้วยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญค่ะ ขอชื่นชมครูอ้อยค่ะ และภูมิใจกับนักเรียนรด้วยค่ะ 

อยากบอกสั้นๆว่า

..ปรบมือให้ค่ะ..พี่อ้อยคนเก่ง..ให้ดังจากเชียงใหม่ถึง กทม.เลยค่ะ..

..อย่าลืมนะคะ..ดูแลสุขภาพด้วย  ทำงานหนัก จากนี้จนกว่าจะถึงเดือนมีนาคม  พี่อ้อยต้องเหนื่อยทั้งงานหลวงและงานราษฏร์

..เป็นหนึ่งกำลังใจสำหรับพี่อ้อยค่ะ

สวัสดีค่ะน้อง ....  สุนันทา

  • ขอบคุณมากค่ะ  การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น ยังเป็นความรู้ที่คงทน นอกจากจะได้รับความรู้ ยังมีระบบ  วินัย กระบวนการ แถมยังมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยค่ะ
  • ทั้งหมดที่ครูอ้อยกล่าวใน้ จะค่อยๆฝังอยู่ในตัวนักเรียน หากครูทุกคน คิด และปฏิบัติ  โดยคำนึงถึง นักเรียนเป็นสำคัญ ทั่วถึงกันแล้ว
  • คาดว่า...น่าจะ  พัฒนา ไปได้มากกว่า อดีตค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ..รักษาสุขภาพนะคะ

สวัสดีค่ะน้อง ... ศน.อ้วน

  • เรื่องของเหนื่อย ก็ต้องเหนื่อยมากหน่อยค่ะ  แต่ขอเพียงสุขใจ ก้พอแล้วค่ะ
  • กำลังใจ มีมากมาย แล้ว แต่ว่าจะเก็บมาคิดมาก คิดน้อย คิดตลอดเวลาค่ะ ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ

คิดถึงเสมอค่ะ น้องสาวคนเก่งของพี่

รักษาสุขภาพนะคะ

ดีใจแทนนักเรียน "ช้า" ที่ได้รับโอกาสจาก ครู ผู้มีความมุ่งมั่นและอดทนต่อ ศิษย์ อย่างแท้จริง ครับ

สวัสดีค่ะคุณ ... หนุ่ม กร~natadee

  • ชอบค่ะ ชอบคิดว่า เขาเหล่านั้น คือ ลูกหลานและ เจ้านาย  ที่หากครูอ้อย ไม่มีเขาเหล่านั้น..จะไปทำอะไรกินดีคะ
  • งานที่คิดขึ้นมานี้  เป็นส่วนหนึ่งของการได้ศึกษา พรบ.การศึกษาแห่งชาติ หลักสูตรภาษาอังกฤษ ตลอดจนธรรมชาติของนักเรียนด้วยค่ะ
  • กำลังจะเป็นการวิจัยเชิงสำรวจความพึงพอใจ ในระยะต่อไปค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

  • ขอชื่นชม เป็นตัวอย่างที่ดีในการออกแบบการสอนสำหรับเด็กคละความสามารถ ครับ
  • ถ้าครูทุกคน เพียงแค่แยกได้ว่าคนนี้เรียนช้า  คนนี้เรียนเร็ว และจัดกิจกรรมตามศักยภาพ แค่นี้ก็น่าจะเกิดผลดีแล้ว(ดังตัวอย่างข้างบนนี้)
  • คิดเกณฑ์เวลา แบบจูงใจ หรือเร้าใจให้พยายามทำงานนเร็วขึ้นอย่างมีขั้นตอนนะครับ น่าจะกระตุ้นได้ดี
  • สำหรับครูภาษาอังกฤษ ผมอยากให้อ่านบทความเลขา สพฐ.วันอังคารที่ 7 ต.ค. 2551 ที่

    http://www.obec.go.th/new/

อ.สุพักตร์

สวัสดีค่ะ  อาจารย์ อ.สุพักตร์

  • ดีใจมากเลยค่ะ ที่ได้รับคำชื่นชมในงานชิ้นนี้..ไม่ได้นำมาเป็นผลงานทางวิชาการในการเลื่อนวิทยฐานะค่ะ
  • ค่ะ..อาจารย์ลิงค์ให้ผิดค่ะ ลิงค์ที่ปรากฏนี้ เป็นผลงานบล็อกของครูอ้อยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ รักษาสุขภาพนะคะ

ดีค่ะ มีสาระและประโยชน์ดีค่ะ ครูอ้อย

ขอบคุณค่ะคุณครู ภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม

ที่แวะมาทักทาย และชื่นชมค่ะ  มาเยี่มบ่อยๆๆนะคะ

สวัสดีอีกครั้งค่ะครูอ้อย

ได้เปิดมาอ่านวิธีการสอนของครู ดิฉันขออนุญาตนำไปใช้ในปีการศึกษา2552นะคะ สำหรับดิฉันปีที่ผ่านๆมาได้ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยการวิเคราะห์นักเรียนก่อน เพื่อหาคนที่เรียนเก่ง เรียนอ่อน เรียนปานกลาง แล้วจัดเข้ากลุ่ม บอกนักเรียนที่เรียนเก่งให้คอยช่วยเหลือเพื่อนๆเวลาเราทำกิจกรรมต่าง โดยเฉพาะเวลาสนทนาเขาจะช่วยเหลือกันดี แอบมองบางกลุ่มก็ดีใจค่ะ ที่นักเรียนเขาช่วยเหลือเพื่อน ๆ ดี นักเรียนบางกลุ่มที่สนทนาเสร็จก่อน ก็จะอาสาไปช่วยเหลือเพือนกลุ่มอื่น ดิฉันยังแอบชื่นชมพวกเขา  และจะแนะนำนักเรียนเสมอว่าให้ช่วยเหลือกันเวลาที่เราเรียนหรือทำกิจกรรมใดใด เพราะเราต้องอยู่ร่วมกันในสังคม แหมน่าเสียดายที่พบคุณครูช้าไป ถ้าพบเร็วกว่านี้คงจะขอให้เป็นผู้เชี่ยวชาญให้หน่อย

                                                        นับถือจริงใจ

                                                        ครูอ๋อย ร.ร.ป.ช.ป.รังสิต

สวัสดีค่ะ น้อง ครูอ๋อย

  • จะกี่ครั้งก็ได้ ไม่มีปัญหาค่ะ 
  • การศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล  มีประโยชน์จริงๆนะคะ
  • บางคน มองผ่านไป  ไม่ได้ทำอะไร ในตอนเปิดเรียนใหม่ๆ  พอปลายปี  ต้องทำวิจัย จึงต้องมาทำ แบบหลอกๆๆ ก็เลย ไม่เนียน
  • ครูอ้อยยินดี ดีใจ  ที่มีครูในแนวเดียวกันค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับน้ำใจที่มีต่อครูอ้อย

 

ลูกสาวคนโตของดิฉันเรียนอยู่ประถม 2 ของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ในโปรแกรมภาษาอังกฤษ ซึ่งมีครูชาวต่างชาติสอนและครูคนไทยเป็นผู้ช่วย เรียนประมาณ 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คุณครูแจ้งว่าลูกสาวเรียนวิชาภาษาอังกฤษช้ากว่าคนอื่น และไปคิดต่อยอดไม่เป็น ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทย  ครูประจำชั้นแจ้งว่าไม่มีปัญหา  ดิฉันพบปัญหาบ่อยๆ คือ เรื่องการบ้านต้องคอยสอดส่อง พูดซำ ให้รู้จักหน้าที่  คอยย้ำให้ส่งการบ้าน ชนิดที่ว่าวันจันทร์ถึงพฤหัสต้องกลับไปสอนการบ้านเอง  รู้สึกเคลียดจัด  ดิฉันควรทำอย่างไรดีค่ะครูอ้อย 

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับการเสนอแนะค่ะ

สุมล

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท