ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีดินดีผลผลิตสูง


ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีดินดีผลผลิตสูง

ในพื้นที่ทำการเกษตรของ ต.นาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักในการทำไร่ ทำนา และการเลี้ยงโคเป็นอาชีพรอง  ในฤดูกาลเพาะปลูกพืชแต่ละปีของเกษตรกรมีการลงทุนด้านการซื้อปุ๋ยเคมี เป็นจำนวน ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านการปลูกพืชที่สูงขึ้น  และมีความเสี่ยงต่อการเป็นหนี้สินสูงเพิ่มขึ้นด้วย  เพราะผลิตผลของการปลูกเกษตรกรในพื้นที่ตำบลนาขอมไม่แน่นอนเพราะต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว  ทำให้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติอยู่เนืองๆ  ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมและพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรให้หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพมากขึ้นและเป็นการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร  ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  ด้วยการทำปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นโดยการนำมูลสัตว์ชนิดต่างๆ  มาผสมคลุกเคล้ากับขี้เถ้าแกลบและรำละเอียด  แล้วใช้กากน้ำตาลและหัวเชื้อจุลินทรีย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอนุภาคเล็กลง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  ( โบกาฉิ ) มีส่วนผสม คือ

1.   มูลสัตว์แห้ง                              1          ส่วน (กระสอบ)

2.   แกลบดิบ                                  1          ส่วน

3.   รำละเอียด                                 1          ส่วน

4.   กากน้ำตาล                               2          ช้อนโต๊ะ

5.   หัวเชื้อจุลินทรีย์ (อีเอ็ม)             2          ช้อนโต๊ะ

6.   น้ำสะอาด                                 10        ลิตร

วิธีการทำ คลุกรำละเอียดกับมูลสัตว์แห้งที่บดหรือย่อยจนเล็กลงเข้าด้วยกัน   จากนั้นนำแกลบดิบเทลงในถังน้ำที่ผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ อี เอ็ม  และกากน้ำตาลไว้  นำแกลบมาคลุกกับรำละเอียดและมูลสัตว์ที่ผสมไว้แล้วให้เข้ากัน  ให้มีความชื้นประมาณ  40 50 %   ทดลองได้จากการกำส่วนผสมในมือแล้วแบออกจะเป็นก้อน  เมื่อทิ้งลงพื้นจะแตกกระจายออกจากกัน  หลังจากนั้นนำส่วนผสมไปใส่กระสอบหรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้  ประมาณ  3  ใน  4  ของกระสอบ  ไม่ต้องกดให้แน่น  มัดปากกระสอบไว้  พลิกกระสอบแต่ละด้านทุกวัน  วันที่  2 3  จับกระสอบจะร้อนอุณหภูมิประมาณ  40 45 องศาเซลเซียส   วันที่  4 5  จะค่อยๆ  เย็นลงจนอุณหภูมิปกติ  เปิดกระสอบดูจะได้ปุ๋ยแห้งร่วนนำไปใช้ได้เลย

       

ถ้าไม่มีกระสอบหรือทำปริมาณมากเมื่อผสมเข้ากันดีแล้วให้นำไปกองบนกระสอบป่านหรือฟางแห้งที่ใช้รองพื้นหนาประมาณ  1  ฟุต   แล้วคลุมด้วยกระสอบ  กลับวันละ   1 2  ครั้ง  ให้อากาศถ่ายเททั่วถึงประมาณ  5 9  วัน  รักษาอุณหภูมิให้ปกติ  ดูปุ๋ยแห้งร่วนดีแล้วนำเก็บใส่ถุงไว้ใช้ได้...ประหยัด  พอเพียง อดออม จะมีภูมิคุ้มกันภายในตัว...สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายไกรยุทธ   นันทสมบูรณ์   เจ้าพนักงานการเกษตรประจำ ต.นาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ 6 โทร   081 - 0427786

คำสำคัญ (Tags): #ปุ๋ยชีวภาพ
หมายเลขบันทึก: 228333เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท